น้ำมันขึ้น ทองลง-หุ้นสหรัฐฯ บวก ได้ปัจจัยหนุนจากข้อมูลภาคแรงงาน

น้ำมันขึ้น ทองลง-หุ้นสหรัฐฯ บวก ได้ปัจจัยหนุนจากข้อมูลภาคแรงงาน

  • 0 ตอบ
  • 79 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ราคาน้ำมันขยับขึ้นมากกว่า 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพฤหัสบดี (2 ก.ย.) ได้แรงหนุนจากข้อมูลคลังปิโตรเลียมสำรองของสหรัฐฯ ปัจจัยทางพลังงานและมุมมองแง่บวกต่อเศรษฐกิจดันวอลล์สตรีทปิดบวกเช่นกัน ขณะที่ทองคำปรับลด 2 วันติด

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 1.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 69.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 1.44 ดอลลาร์ ปิดที่ 73.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานแห่งสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันพุธ (1 ก.ย.) ว่า คลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศลดลงถึง 7.2 ล้านบาร์เรล บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งเกินคาด

ในข้อมูลเดียวกัน คลังน้ำมันกลั่น ซึ่งประกอบด้วยดีเซลและน้ำมันทำความร้อนลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดหมายไว้ ส่วนสต๊อกเบนซิน เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดหมายว่าจะลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดี (2 ก.ย.) ปิดบวก เอสแอนด์พี 500 และแนสแดค แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานและข้อมูลภาคแรงงานของอเมริกา

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 131.29 จุด (0.37 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 35,443.82 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 12.86 จุด (0.28 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,536.95 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 21.80 จุด (0.14 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,331.18 จุด

กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า จำนวนผู้เข้ารับสวิสดิการคนว่างงานรายใหม่ลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากการเลิกจ้างในเดือนสิงหาคม ลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 24 ปี บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังฟื้นตัว แม้ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดรอบใหม่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

ความเคลื่อนไหวของตลาดทุน ส่งผลให้ราคาทองคำ ในฐานะสินทรัพย์เสี่ยงต่ำปิดลบเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันในวันพฤหัสบดี (2 ก.ย.) โดยราคาทองคำโคเม็กซ์งวดส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 4.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,811.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์

(ที่มา : รอยเตอร์)