ลุ้นคลายล็อก‘อินเดีย’เที่ยวไทย ททท.หวังทัวริสต์ตีตื้นไฮซีซัน

ลุ้นคลายล็อก‘อินเดีย’เที่ยวไทย ททท.หวังทัวริสต์ตีตื้นไฮซีซัน

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




แม้ว่าปัจจุบัน “อินเดีย” จะสามารถควบคุมโรคโควิด-19 ได้ดีขึ้นมาก จากเคยมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ระลอก 2 เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ทำนิวไฮสูงถึงระดับ 4 แสนคนต่อวัน ลดลงเหลือระดับ 2-4 หมื่นคนต่อวันแล้วก็ตาม

แต่ด้วย “การรับรู้” (Perception) ของคนไทยที่มีต่อการระบาดของโควิด-19 ในอินเดียยังค่อนข้างเป็นลบอยู่ ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์ “เดลตา” ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วไทย นับเป็นความท้าทายของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในการกู้ความเชื่อมั่นของเจ้าบ้านกลับคืน!

ชลดา สิทธิวรรณ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานมุมไบ กล่าวว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวอินเดียมีความต้องการมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดหนักในอินเดียเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ของไทยหยุดการออกใบอนุญาตการเดินทางเข้าประเทศไทย (Certificate of Entry : COE) แก่นักท่องเที่ยวอินเดียมานานกว่า 4 เดือนแล้ว ตอนนี้อนุญาตให้เฉพาะชาวอินเดียที่เป็นนักธุรกิจที่มีถิ่นพำนัก มีใบอนุญาตทำงาน และมีครอบครัวในไทยเดินทางเข้ามาได้เท่านั้น

ขณะที่ข้อมูลล่าสุดระบุว่าชาวอินเดียได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วจำนวนมาก ประกอบกับที่ผ่านมามีการติดเชื้อกันมากจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ทำให้นักท่องเที่ยวอินเดียเริ่มมีดีมานด์ออกท่องเที่ยวต่างประเทศอีกครั้ง โดยปัจจุบันอินเดียมีการทำข้อตกลง “Air Bubble Agreement” กับอีก 28 ประเทศ เช่น สหรัฐ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย มัลดีฟส์ ศรีลังกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้มีเที่ยวบินเข้าออกอินเดียได้ และพบว่าจุดหมายที่นักท่องเที่ยวอินเดียนิยมไปมากที่สุดขณะนี้คือมัลดีฟส์ รองลงมาคือดูไบ

ระหว่างนี้ ททท.ต้องจับตาดูผลการเดินทางเข้าไทยของชาวอินเดียที่มีธุระจำเป็นในช่วง 2-3 สัปดาห์นับจากนี้ว่าเป็นอย่างไร พร้อมประเมิน “ความรู้สึก” (Sentiment) ของคนไทยไปด้วย เพราะจากการรับรู้ของคนไทยที่มีต่อการระบาดของโควิด-19 ในอินเดียช่วงที่ผ่านมา พบว่ายังไม่ค่อยมั่นใจนัก ทั้งยังเป็นที่มาของสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดหนักในไทย จึงต้องรอศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พิจารณาอีกทีว่าจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวอินเดียมาเที่ยวไทยได้เมื่อไร

“ถ้ามีสัญญาณดีจาก ศบค.อนุญาตให้นักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางเข้าไทย ทางเอเย่นต์ท่องเที่ยวก็พร้อมขายแพ็คเกจท่องเที่ยว โดยจากการสำรวจความเห็นของเอเย่นต์ท่องเที่ยว 300 กว่าราย ส่วนใหญ่ 94% ระบุว่ามีดีมานด์จากนักท่องเที่ยวอินเดียไปไทยแน่นอน ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการทำตลาดอีก 1 เดือนครึ่งหาก ศบค.ไฟเขียว เช่น จัดเตรียมเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลต์) เริ่มจากเมืองหลัก เช่น นิวเดลี และมุมไบ เข้าประเทศไทย”

แต่ประเด็นคือนักท่องเที่ยวอินเดียยังต้องการมาเที่ยวไทยระยะสั้นแค่ 7 วันแบบไม่กักตัว และคาดหวังว่าจะสามารถขอ “วีซ่า ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง” (Visa on Arrival : VoA) ได้แบบเดิมเหมือนก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ซึ่งทาง ททท.ต้องสื่อสารให้นักท่องเที่ยวอินเดียเข้าใจว่าการเดินทางมาเที่ยวไทยมีขั้นตอนมากขึ้นตามมาตรการใหม่ด้านสาธารณสุข และการเดินทางเข้าแต่ละพื้นที่นำร่องก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันไป

วชิรชัย สิริสัมพันธ์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานนิวเดลี กล่าวเสริมว่า แม้ว่าประเทศไทยจะพบยอดผู้ติดเชื้อใหม่ระดับ 2 หมื่นคนต่อวัน แต่ในมุมมองหรือความรู้สึกของคนอินเดียแล้ว ไม่ได้มีผลหรือ “หวั่นไหว” นัก อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่งชาวอินเดียผ่าน “จุดพีค” ของการระบาดมาแล้ว!

“ที่ประเทศอินเดียเริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนเมื่อกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา และเร่งสปีดฉีดเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา หลังเผชิญการระบาดระลอก 2 เดือน เม.ย. ทำให้ตอนนี้มีคนอินเดียได้รับการฉีดวัคซีนรวมกว่า 600 ล้านโดสแล้ว โดยเข็มแรกอยู่ที่ 35% ของประชากรทั้งหมด 1.4 พันล้านคน ส่วนเข็มที่ 2 อยู่ที่ 10.3% และคาดว่าในเดือน ต.ค.นี้ประชากรที่เป็นผู้ใหญ่จะได้รับวัคซีนครบโดสอีกจำนวนมาก สร้างความพร้อมให้กับตลาดอินเดียในการเดินทางท่องเที่ยวนอกประเทศอีกครั้ง หลังจากเมื่อปี 2562 มีคนอินเดียเดินทางต่างประเทศจำนวน 26.92 ล้านคน เติบโต 2.3% เมื่อเทียบกับปี 2561”

ทั้งนี้ ททท.ได้ประมาณการนักท่องเที่ยวอินเดียมาไทยช่วงไตรมาส 4 ตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค.นี้ แบบไม่กักตัว ไว้ 2 กรณีด้วยกัน ได้แก่ ซีนาริโอที่ 1 เที่ยวบินพาณิชย์กลับมาบินใน 6 เมืองหลัก ได้แก่ นิวเดลี มุมไบ กัลกัตตา เชนไน ไฮเดอราบัด และบังกะลอร์ สัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน เที่ยวบินละ 250 ที่นั่ง รวม 14 สัปดาห์ เท่ากับ 21,000 ที่นั่ง
ประมาณการเดินทางเข้าไทยสัปดาห์ละไม่เกิน 1,500 คน รวม 14 สัปดาห์ ประมาณ 21,000 คน สร้างรายได้ 938,448,000 บาท

ส่วนซีนาริโอที่ 2 ไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ จัดชาร์เตอร์ไฟลต์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใน 2 เมืองหลัก ได้แก่ นิวเดลีและมุมไบ เที่ยวบินละ 150 ที่นั่ง รวม 14 สัปดาห์ เท่ากับ 2,100 ที่นั่ง ประมาณการณ์นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยสัปดาห์ละ 300 คน รวม 14 สัปดาห์ ประมาณ 4,200 คน สร้างรายได้ 187,689,600 บาท

ทั้งนี้เมื่อปี 2562 ตลาดอินเดียเที่ยวไทยสร้างรายได้ 80,039 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.96% เมื่อเทียบกับปี 2561 จากฐานนักท่องเที่ยวอินเดีย 1,961,069 คน เพิ่มขึ้น 25.48% กระโดดจากอันดับ 6 ของประเทศที่ส่งออกนักท่องเที่ยวมาเยือนไทยสูงสุดเมื่อปี 2561 ขึ้นมาครองอันดับ 3 เมื่อปี 2562 ก่อนยอดจะร่วงลงในปี 2563 เหมือนกับทุกๆ ตลาดเมื่อโรคโควิด-19 ระบาดหนักทั่วโลก ปิดยอดปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวอินเดียมาไทยเพียง 261,777 คนเท่านั้น ติดลบกว่า 80%