'คอลลิเออร์สฯ' ชี้โควิด-19 ซัดนักท่องเที่ยววูบ 'โรงแรมหรู' เลื่อนเปิด จี้สร้างภูมิคุ้มกันท่องเที่ยว

'คอลลิเออร์สฯ' ชี้โควิด-19 ซัดนักท่องเที่ยววูบ 'โรงแรมหรู' เลื่อนเปิด จี้สร้างภูมิคุ้มกันท่องเที่ยว

  • 0 ตอบ
  • 66 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อตลาดโรงแรมระดับลักชัวรีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ภาพรวมอุปทาน ณ สิ้นครึ่งแรกปี 2564 ยังคงอยู่ที่ประมาณ 12,943 ห้องพัก ไม่พบว่ามีโรงแรมระดับลักชัวรีเปิดบริการใหม่ในช่วงที่ผ่านมา มีเพียงแค่โรงแรมระดับอัปสเกลและมิดสเกลเปิดบริการใหม่จำนวน 2 โรงแรม รวมทั้งสิ้น 371 ห้องพัก คือ โรงแรมมายเทรียณ์ พระราม 9 กรุงเทพฯ-เอ ชาเทรียม คอลเลคชั่น เปิดบริการในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประกอบไปด้วยห้องพักจำนวน 230 ห้องพัก และโรงแรม เดอะ ควอเตอร์ สีลม บาย ยูเอชจี พัฒนาโดย เออร์เบิน ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป ประกอบไปด้วยห้องพักจำนวน 141 ห้องพัก และมีอีกหนึ่งโรงแรมคือ โอ๊ควู๊ด โฮเทล แอนด์ เรสซิเด้นท์ แบงค็อก เป็นการรีโนเวตมาจากโรงแรมแอสเทรา สาทร และเปิดบริการใหม่ จำนวนห้องพัก 142 ห้องพัก

'เราพบว่ามีโรงแรมระดับลักชัวรีในกรุงเทพฯ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดบริการในช่วงครึ่งหลังปี 64 อีกประมาณ 4 แห่ง ประมาณ 726 ห้องพัก และในปีถัดไปอีกประมาณ 600 ห้องพัก และพบว่ามีโรงแรมระดับลักชัวรีในพื้นที่กรุงเทพฯ ประมาณ 2 โครงการ 423 ห้องพัก ยังคงเลื่อนการเปิดตัวออกไปจากในช่วงครึ่งแรกของปีที่ผ่านมา และอาจมีการปรับแผนและทบทวนการเปิดตัวใหม่อีกครั้งหากสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกและในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง' นายภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร บริษัท คอลลิเออร์ส ประเทศไทย จำกัด กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลดำเนินการจัดหาวัคซีน และขับเคลื่อนแผนการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากขึ้น และสามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 4 ในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว สามารถผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ให้ธุรกิจต่างๆ กลับมาดำเนินกิจการได้ตามปกติในระยะเวลาที่รวดเร็ว อาจส่งผลให้ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการบางรายที่ปิดกิจการชั่วคราวในช่วงก่อนหน้าอาจสามารถกลับมาเปิดบริการได้อีกครั้งตามแผนของผู้ประกอบการที่วางไว้

นอกจากนี้ รัฐบาลควรให้การสนับสนุนค่าจ้างแรงงานคนละครึ่งร่วมกับผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรม (โค-เปย์) ฝั่งละ 7,500 บาทต่อเดือน (หรือประมาณ 3,375 ล้านบาท) สำหรับค่าจ้างแรงงานไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน จากพนักงานโรงแรมที่จดทะเบียนถูกต้องที่มีทั้งหมดราว 4.5 แสนคน พิจารณาลดจำนวนวันที่นักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนแล้วสามารถเดินทางออกจากการกักตัวได้จาก 14 วันเหลือ 7 วัน และที่สำคัญที่สุด ควรเร่งการฉีดวัคซีนในพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศซึ่งถือว่าเป็นรายได้หลักของประเทศให้กลับมาฟื้นตัวในระยะเวลที่รวดเร็ว

สำหรับสถานการณ์การท่องเที่ยวในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวลดลงอย่างมาก ซึ่งจากเดิมคาดการณ์ในปี 64 ไว้ประมาณ 10 ล้านคน แต่ฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์สฯ มองว่า คาดการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อาจเหลือเพียงแค่ประมาณ 100,000 คนเท่านั้น ซึ่งจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทาเข้ามาในประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา เหลือเพียงแค่ 40,447 คน ปรับตัวลดลงร้อยละ 99.40 เทียบประมาณ 6,691,574 คน ในช่วงเดียวกันปี 63 ซึ่งในแต่ละเดือนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 5,741-8,529 คนต่อเดือน ส่วนใหญ่มาจากยุโรป ร้อยละ 42.30 ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก ร้อยละ 29.88 ประเทศในกลุ่มอเมริการ้อยละ 16.3 และจากประเทศจีนมีเพียงร้อยละ7.39

โรงแรมแบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว ปิดกิจการถาวร-ขายทิ้ง

สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมระดับลักชัวรีในกรุงเทพฯ ในครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 18.00 ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.00 โดยพบว่าอัตราเข้าพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยในเดือนมกราคม อยู่ที่ร้อยละ 10.64 และปรับตัวดีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ตามแนวโน้มของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ18.74 และเดือนมีนาคมที่ร้อยละ 23.21 และเริ่มปรับตัวลดลงอีกครั้งเมื่อเกิดการระบาดระลอกใหม่ในเดือนเมษายน ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 16.22 ในเดือนเมษายน และยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคมที่ร้อยละ 6.97 และเดือนมิถุนายนที่ร้อยละ 7.89

'คาดการณ์ว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมระดับลักชัวรีในกรุงเทพฯ และโรงงแรมทุกระดับในประเทศไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะยังคงใกล้เคียงกับในช่วงครึ่งแรกของปีหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหญ่ประจำวันมากกว่า 10,000 คน และตัวเลขผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คนต่อวัน เป็นผลให้รัฐบาลขยายระยะเวลาการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีก 2 เดือน ทุกเขตพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2564 ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมเป็นอย่างมาก'

ขณะที่ราคาเฉลี่ยห้องพักรายวัน (ADR) ของโรงแรมระดับลักชัวรีในกรุงเทพฯ ในครึ่งปีแรก ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมมาอยู่ที่ประมาณ 3,264 บาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.00 จากในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลกระทบจากการมอบส่วนลดให้แก่ลูกค้าภายในประเทศ เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมบางรายปรับลดราคาห้องพัก-อาหารลงกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม จากมาตรการควบคุมโรคของรัฐบาลที่ยังมีความยืดหยุ่น ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมหลายรายจึงหันมาปรับตัวด้วยการบริการด้านอาหารให้ลูกค้าแบบเดลิเวอรี เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้อีกช่องทางในภาวะที่อัตราการเข้าพักตกต่ำ

กว่า 234 โรงแรมเข้าร่วมฮอสพิเทล เพิ่มยอดอัตราเข้าพัก

แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้อัตราการจองโรงแรมลดลงและอีกกว่าร้อยละ 50 มีการยกเลิกห้องพัก เนื่องจากมองว่าการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาอาจไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ขณะที่การกระจายวัคซีนยังคงล่าช้า ซึ่งกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขผู้ฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียงร้อยละ 16.16 ต่อสัดส่วนประชากรทั้งประเทศเท่านั้น

'อัตราการเข้าพักและราคาเฉลี่ยรายวันคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปี 2564 มีเพียงโรงแรมที่เข้าร่วมเป็นฮอสพิเทลเท่านั้นที่มีอัตราการเข้าพักที่ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 30.00 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเข้าพักที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับโรงแรมอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมที่เข้าร่วมเป็นฮอสพิเทลรวมกว่า 234 แห่ง ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมจำนวนมากเลือกที่จะปิดกิจการชั่วคราวเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่มีความหวังว่าจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งได้ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้'