'ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์' จ่อขายไอพีโอพร้อมเข้าเทรดปลายปี 64

'ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์' จ่อขายไอพีโอพร้อมเข้าเทรดปลายปี 64

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจอาหารแช่แข็งและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU  เปิดเผยว่า บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFM  ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม TU คาดว่าจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) และเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ (SET) ในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. 2564 โดยมี บล.บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

ทั้งนี้ "ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์"   จะเสนอขาย IPO จำนวน 109.3 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน 90.0 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย TU จำนวน 19.3 ล้านหุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 21.9% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้ โดยจะนำเงินระดมทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียและปากีสถาน ชำระคืนเงินกู้ยืม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในอนาคต

สำหรับเป้าหมายนำ "ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์" เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดการเติบโต 3-5  ปีข้างหน้าอย่างโดดเด่นและตลาดจะเริ่มพลิกฟื้นจากสถานการณ์โควิด  โดยจะเน้นการขยายในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่และมีศักยภาพการเติบโตได้อีกมาก ประกอบกับการมองหาการลงทุนรูปแบบ M&A ในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอาหารสัตว์ ที่สร้างโอกาสการเติบโตในอนาคต 

โดยจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียและปากีสถาน ชำระคืนเงินกู้ยืม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในอนาคต 

สำหรับผลการดำเนินธุรกิจในปีนี้ นายฤทธิรงค์ มั่นใจว่า "ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์"ยังมีกำไรเติบโตได้สองหลัก แม้ในปีนี้มีแรงกดดันจากปัจจัยโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารสัตว์ ทำให้ยอดขายอาหารสัตว์น้ำยังมีการชะลอตัวอยู่ ซึ่งกลุ่มอาหารสัตว์น้ำเป็นกลุ่มสินค้าที่มีสัดส่วนรายได้มากที่สุดของ TFM ที่ 90% ประกอบกับ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งกระทบต้นทุนการผลิตของอาหารสัตว์ แต่บริษัทยังไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้าอาหารสัตว์บางรายการ เพื่อช่วยลดผลกระทบของลูกค้า


โดยปัจจัยดังกล่าวกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในปี 2564 บ้าง แต่ภาพรวมของผลการดำเนินงานในปีนี้ ถือเป็นจุดต่ำที่สุดก่อนจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวในช่วงปี 2565 เป็นต้นไป  ดังนั้นการเข้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงนี้ยังเป็นโอกาส รับการเติบโตอย่างมีศักยภาพใน 3 ปีข้างหน้า หลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลายลง และทำให้การบริโภคสัตว์น้ำกลับมาฟื้นตัว และราคาสัตว์น้ำจะเริ่มกลับมาดีขึ้น โดยคาดว่าจะเห็นยอดขายฟื้นตัวขึ้นสูงกว่าจากปี 2564 ที่มียอดขายทรงตัวที่ 4-5 พันล้านบาท

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมประมงที่สำคัญของโลก จากปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำที่มีเพียงพอสำหรับส่งออกไปยังตลาดสำคัญทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เป็นต้น โดยผลผลิตสัตว์น้ำที่มีการส่งออกสูง ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็น กุ้งสดแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์กุ้ง ส่งผลให้ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตกุ้งเป็นอันดับ 6 ของโลกในปี 2563

ขณะที่แหล่งที่มาของผลผลิตสัตว์น้ำในประเทศมาจาก 2 แหล่งที่สำคัญ คือ การจับสัตว์น้ำจากแหล่งธรรมชาติ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการนำเข้าสัตว์น้ำบางประเภทเพื่อนำมาแปรรูปและส่งออก โดยข้อมูลประมาณการของกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมงฯ ประเมินผลผลิตสัตว์น้ำของประเทศไทยในปี 63 ทั้งสิ้นกว่า 3,498,137 ตัน แบ่งเป็นผลผลิตที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 2,553,101 ตัน และมาจากการเพาะเลี้ยงประมาณ 945,036 ตัน

สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมักจะประกอบไปด้วยหลากหลายภาคธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ ได้แก่ ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบให้กับธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ธุรกิจกลางน้ำ ได้แก่ ธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและธุรกิจประมง ซึ่งเป็นผู้จัดหาผลผลิตสัตว์น้ำนำส่งให้แก่ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล และธุรกิจปลายน้ำ เพื่อแปรรูปและเพิ่มมูลค่าอาหารทะเลสดให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมจำหน่ายและส่งออกไปยังตลาดหลักต่างๆ ของโลก

“ทุกธุรกิจที่กล่าวมานั้นล้วนเกี่ยวโยงกันในรูปแบบของ ซัพพายเชน ซึ่งกลุ่ม TU ให้ความสำคัญมากที่สุด เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับ ฟู้ดซับพายเชน  แก่อุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคเอเชีย”

นายบรรลือศักร โสรัจจกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ เปิดเผยว่า บริษัทมีกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ 3 แนวทางเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต ประกอบด้วย การรักษาและพัฒนาความเป็นผู้นำการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศ ผ่านความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายเดิมและลูกรายใหม่ โดยเข้าไปศึกษาข้อมูลช่วยแก้ไขปัญหา หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผ่านการลงทุนและจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นผู้นำธุรกิจอาหารสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน และขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต เริ่มจากประเทศอินเดีย ไปยังปากีสถาน และอินโดนีเซีย เพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารสัตว์เศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคเอเชีย

บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจและผู้นำในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ โดยมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมานานกว่า 20 ปี สั่งสมองค์ความรู้รวมถึงมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตสินค้า ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของบริษัทฯ ได้แก่ โปรฟีด (PROFEED) นานามิ (NANAMI) อีโก้ฟีด (EGOFEED) แอคควาฟีด (AQUAFEED) และดี-โกรว์ (D-GROW) เป็นต้น แบ่งเป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่

– อาหารกุ้ง มีส่วนแบ่งการตลาด 17% ของปริมาณอาหารกุ้งในไทยปี 63 และมีสัดส่วนรายได้จากการขายอาหารกุ้งในไตรมาส 1/64 ที่ 43.3%

– อาหารปลา (รวมอาหารกบและอาหารปู) แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ อาหารปลาทะเล เช่น อาหารปลากะพง ปลาเก๋า, อาหารปลาน้ำจืด เช่น อาหารปลานิล ปลาดุก, อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน สำหรับการอนุบาลลูกปลา และอาหารกบ โดย TFM เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำในกลุ่มตลาดอาหารปลากระพง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาและอัตรากำไรค่อนข้างสูงกว่าอาหารปลาประเภทอื่นๆ ส่วนแบ่งการตลาดอาหารปลากะพง 24% ของปริมาณอาหารปลากระพงไทย ในปี 63 และมีสัดส่วนรายได้จากการขายอาหารปลา ณ ไตรมาส 1/64 ที่ 41.4%

– อาหารสัตว์บก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารสุกร และอาหารสัตว์ปีก ได้แก่ อาหารไก่ อาหารเป็ด และอาหารนกกระทา โดยบริษัทเริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจอาหารสัตว์บกปลายปี 61 และปริมาณการขายอาหารสัตว์บกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นที่น่าพอใจ โดยมีสัดส่วนรายได้ ณ ไตรมาส 1/64 ที่ 10.5%

บริษัทมีกำลังการผลิตอาหารสัตว์รวมทั้งหมด 288,000 ตัน/ปี แบ่งเป็นกำลังการผลิตอาหารกุ้ง 168,000 ตัน/ปี กำลังการผลิตอาหารปลา 90,000 ตัน/ปี และกำลังการผลิตอาหารสัตว์บก 30,000 ตัน/ปี ภายใต้ระบบการผลิตที่ทันสมัยทั้งแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติที่ควบคุมและสั่งงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงคุณสมบัติและคุณภาพของสินค้าแต่ละขั้นตอนการผลิตที่สำคัญทั้งหมดในโรงงานจังหวัดสมุทรสาครและสงขลา จึงทำให้สามารถติดตามข้อมูลในระหว่างกระบวนการผลิตได้ทันที

“เรามีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงมีศักยภาพเติบโตจากตลาดในประเทศ ผ่านการขยายธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ อาหารสัตว์ประเภทอื่นๆ และตลาดต่างประเทศผ่านแนวทางต่างๆ เช่น การเข้าทำสัญญาความร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่น การเข้าจัดตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศกับพันธมิตรท้องถิ่น ซึ่งเน้นขยายโอกาสไปสู่ประเทศที่มีการเติบโตสูง ทั้งอินเดียและอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต”