'กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์’ รุกดิจิทัล ดัน 'สินเชื่อส่วนบุคคล' โต

'กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์’ รุกดิจิทัล ดัน 'สินเชื่อส่วนบุคคล' โต

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




“วิกฤติโควิด-19” ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดสร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้สภาพคล่องทางการเงินค่อนข้างตึงตัว โจทย์สำคัญสำหรับบริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ภายใต้แบรนด์ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” จึงเป็นการวางยุทธศาสตร์องค์กรแห่งนี้ให้ฝ่าวิกฤติโควิด-19 พร้อมช่วยเหลือดูแลลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจในช่วงเศรษฐกิจยากลำบากเช่นนี้ไปด้วยกัน และเมื่อ 1 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา “พัทธ์หทัย กุลจันทร์” ถูกวางตัวให้เป็นแม่ทัพหญิงคนใหม่ในตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการใหญ่” นี่คือ ความท้าทายแรกของเธอ!!

"พัทธ์หทัย” เล่าแนวคิดในการรับมือวิกฤติโควิด-19 ว่า ในทุกวิกฤติคือโอกาสในการเรียนรู้และทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ แต่สิ่งสำคัญในวิกฤติแต่ละครั้งคือการช่วยเหลือดูแลทั้งลูกค้า, พันธมิตรทางธุรกิจ และพนักงาน เพื่อสร้างการเติบโตแบบยั่งยืนต่อไปในระยะยาว

“เราเคยผ่านวิกฤติมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติในรูปแบบไหนองค์กรแห่งนี้ก็จะยึดถือแนวทาง การมีธรรมาภิบาล โปร่งใส ชัดเจน และมีความสม่ำเสมอในการเติบโต รวมทั้งไม่ยอมแพ้แม้เกิดวิกฤติ นี่คือหลักกลยุทธ์ทำให้ฝ่าฟันไปได้ และยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง”

สะท้อนจากผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกนี้ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” ยังมี “ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและยอดผ่อนชำระ” เติบโตดีกว่าตลาด

โดยครึ่งปีแรกนี้ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ 13,100 ล้านบาท เติบโต 5% ขณะที่ตลาดหดตัว 5% หมวดที่มียอดใช้จ่ายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ประกันภัย 2. ออนไลน์ชอปปิง 3. ตกแต่งบ้าน และเครื่องใช้ในครัวเรือน 4.น้ำมัน 5. ซูเปอร์มาร์เก็ต โดยหมวดการใช้จ่ายที่ยังเติบโตสูงสุดและดีกว่าคู่แข่ง คือ หมวดออนไลน์ชอปปิง เติบโต 23% รองลงมาได้แก่ น้ำมัน ทานอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และประกัน


ส่วนสินเชื่อผ่อนชำระ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” มียอดสินเชื่อผ่อนชำระในช่วงครึ่งปีแรก 8,000 ล้านบาท เติบโต 12% โดยหมวดสินค้าที่ลูกค้านิยมผ่อนชำระซึ่งเติบโตสูงสุด ได้แก่ หมวดผ่อนสินค้าผ่านออนไลน์ชอปปิงแพลตฟอร์ม เติบโต 80% รองลงมาได้แก่ ผ่อนทองคำรูปพรรณ, ผ่อนมือถือ อุปกรณ์ไอที, ผ่อนประกัน และ ผ่อนสินค้าตกแต่งบ้าน

สำหรับภาพรวมตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน มียอดสินเชื่อคงค้างลดลงราว 3% จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย สาเหตุมาจากผู้บริโภครับรู้ว่าเศรษฐกิจไม่ดี ตั้งแต่เกิดโควิดระลอก 3 จึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการใช้จ่ายที่ในอนาคตจะไม่สามารถชำระหนี้

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

ขณะที่ทิศทางการดำเนินธุรกิจของ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” ในช่วงครึ่งปีหลัง “พัทธ์หทัย” กล่าวว่า บริษัทปรับกลยุทธ์มุ่งตอบโจทย์ยุคนิว  นอร์มอลหลังโควิด-19 เน้นสร้างการเติบโตบน “ดิจิทัลแพลตฟอร์ม” โดยเฉพาะบนแอปพลิเคชัน UChoose ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ช่องทางกดเงินสดผ่าน U Cash และช่องทางสมัครบัตรผ่าน “U Card” พร้อมนำเสนอโปรโมชันที่สอดคล้องกับดิจิทัลไลฟ์สไตล์ สอดรับกับฐานลูกค้าที่เกือบ 70% เป็นกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปี เป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบใช้ดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย ขณะที่ อีก 30% เป็นกลุ่มอายุเกิน 40 ปี

พร้อมกับใช้จุดแข็งของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ที่มีแผนผ่อนชำระหลากหลายทั้ง “ผ่อน 0%” และ “ผ่อนด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ” และสิทธิพิเศษที่คุ้มค่า เช่น เครดิตเงินคืนสูงสุดถึง 3% เป็นปัจจัยดึงดูดลูกค้า ทั้งยังมุ่งสร้างความเติบโตผ่านการผนึกกำลังกับพันธมิตร ทั้งพันธมิตรที่ร่วมออกบัตรโคแบรนด์ เช่น กลุ่มเซ็นทรัล,โฮมโปร และเครือข่ายร้านค้าพันธมิตรที่ร่วมมือกับกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ออกโปรโมชั่นผ่อนชำระและดีลพิเศษต่าง ๆ พร้อมเดินหน้าผลักดันการเติบโตต่อเนื่องในหมวดการใช้จ่าย “ออนไลน์ชอปปิงและประกัน” ที่คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด และยังสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคนิว นอร์มัลด้วย

“ในช่วงโควิดที่ผ่านมา การทำธุรกรรมบนดิจิทัลของเราเพิ่มขึ้นมาก พบว่าเกือบ 90% ของบัญชีลูกค้ากรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ที่ Active มีการโหลดและใช้แอป UChoose และหลังจากออกฟีเจอร์ U Cash เพียงเดือนเดียว มียอดถอนเงินสดผ่าน U Cash เติบโตถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า และฟีเจอร์ U Card มีการสมัครบัตรผ่านช่องทางนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ล็อกดาวน์ในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา สะท้อนว่าเป็นเทรนด์การเติบโตในอนาคตยุคนิว นอร์มอล”

นอกจากนี้ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” ยังวางเป้าหมายขยายธุรกิจไปในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น ปัจจุบันเข้าไปทำธุรกิจใน 3 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา และล่าสุด ฟิลิปปินส์ ซึ่งในจังหวะนี้ ถือว่าตอบโจทย์ เพราะตลาดต่างประเทศยังโตได้ในหลายส่วน

ทางด้านการดูแลคุณภาพหนี้ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” ได้เข้าไปช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการพักหนี้ และมาตรการช่วยเหลือเพิ่่มเติม โดยเฉพาะการเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก โดยขยายระยะเวลาผ่อนชำระให้ยาวขึ้น ตามยอดคงค้างของลูกค้า พร้อมดอกเบี้ยอัตราพิเศษ โดยนับตั้งแต่การระบาดระลอกแรก จนปัจจุบัน กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ให้ความช่วยเหลือลูกค้าไปแล้วกว่า 900,000 บัญชี คิดเป็นยอดหนี้คงค้างประมาณ 35,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” ยังผ่อนเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำในการพิจารณาอนุมัติบัตรใหม่ ลงมาเท่าเดิมที่รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 10,000 บาท จากช่วงต้นปีที่ค่อนข้างเข้มงวดอยู่ที่ 20,000 บาท เพื่อต้องการช่วยเหลือกลุ่มที่รายได้ไม่ถึง 15,000บาท ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันฐานลูกค้า “กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” เป็นมนุษย์เงินเดือนเฉลี่ย 80% และอีก 20% เป็นเจ้าของธุรกิจ

โดยมั่นใจว่าสิ้นปีนี้จะคุมหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทรงตัวที่ระดับปัจจุบัน มี NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้รวมอยู่ที่ 2.6% หรือลดลงจากปีก่อนที่ 3.5% และต่ำกว่าตลาด ซึ่ง NPL ธุรกิจบัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% ขณะที่ตลาดอยู่ที่ 2.3% ส่วน NPL ธุรกิจสินเชื่อบุคคล อยู่ที่ 2.7% ขณะที่ตลาดอยู่ที่ 3.1%

ทั้งนี้ "พัทธ์หทัย” มั่นใจว่าจะผลักดันธุรกิจปีนี้ให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย โดยมียอดการใช้จ่ายโดยรวมแตะ 75,000 ล้านบาท เติบโตกว่าปีที่ผ่านมา 4% แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 45,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ 30,000 ล้านบาท ปัจจุบันยังมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อบัตรต่อคนที่ 20,000-30,000 บาท และยอดอนุมัติบัตรเครดิตใหม่ที่ระดับ 30% ยังอยู่ระดับทรงตัวต่อเนื่อง

ปีนี้ตั้งเป้ายอดบัตรใหม่ ลดลงมาอยู่ที่ 170,000-180,000 บัตร จากเดิมตั้งไว้ที่ 200,000 บัตร แต่คาดว่า เมื่อบริการสมัครบัตรผ่านช่องทางดิจิทัลบนฟีเจอร์ U Card ได้รับความนิยมมากขึ้น น่าจะทำให้จำนวนบัตรใหม่เพิ่มขึ้นได้

“เราหวังว่าในช่วงไตรมาส 4 นี้ สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายและผลักดันตลาดธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในภาพรวมให้มียอดการใช้จ่ายและยอดผ่อนชำระกลับมาทรงตัว แน่นอนว่าโค้งท้ายปีจะเห็นผู้เล่นทุกรายจัดแคมเปญมาตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละฐานบัตรที่มีอยู่ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มลูกค้าไม่ได้เหมือนกัน ส่วนภาพตลาดธุรกิจสินเชื่อบุคคล ยอดสินเชื่อคงค้างในปีนี้ไม่น่าโตมาก หรือในกรอบ -1 ถึง +1% แน่นอนว่าครึ่งปีหลังนี้ทุกรายพยายามปรับกลยุทธ์คล้าย ๆ กัน เแต่จะเน้นเซ็กเมนต์ที่ยังตอบโจทย์การเติบโตของแต่ละคน”

“กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” เชื่อมั่นว่า ด้วยกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม และร่วมมือกับพันธมิตรสร้างความเติบโต จะสามารถต่อสู้สถานการณ์โควิด ขณะเดียวกันสามารถช่วยเหลือลูกค้าไปพร้อมกันได้