'เงินบาท' วันนี้เปิด 'อ่อนค่า' สุดรอบ 3 ปีที่ 33.46 บาทต่อดอลลาร์

'เงินบาท' วันนี้เปิด 'อ่อนค่า' สุดรอบ 3 ปีที่ 33.46 บาทต่อดอลลาร์

  • 0 ตอบ
  • 64 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันี้(10ส.ค.) ที่ระดับ  33.46 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบ3ปีครั้งใหม่และอ่อนค่าลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.41 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.40-33.55 บาทต่อดอลลาร

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าอยู่จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 รวมถึงโมเมนตัมขาขึ้นของเงินดอลลาร์ที่ยังมีอยู่จากท่าทีสนับสนุนการทยอยลดคิวอีในปีนี้ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด

ขณะเดียวกัน เงินบาทก็อาจเผชิญแรงกดดันจากแรงซื้อดอลลาร์ของฝั่งผู้นำเข้าที่อาจเข้ามาเร่งปิดความเสี่ยงเนื่องจากกังวลว่า เงินบาทอาจจะอ่อนค่าเร็วและแรง

เรามองว่า ในระยะสั้น อาจเห็นเงินบาทอ่อนค่าไปได้ถึง 34 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก หากสถานการณ์การระบาดยังคงเลวร้ายต่อเนื่อง และ เงินดอลลาร์ยังคงมีโมเมนตัมขาขึ้นอยู่ ซึ่งอาจจะหนุนด้วยถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่ต่างออกมาสนับสนุนการทยอยลดคิวอีในปีนี้ หรือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ พลิกกลับมาดีกว่าคาด ในขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะ ยุโรป อาจชะลอตัวลง จากปัญหาการระบาดของ โควิด-19

นอกจากนี้ เรายังมองไม่เห็นโอกาสที่เงินบาทจะพลิกกลับเทรนด์มาแข็งค่าได้ในเร็วนี้ ทำให้ ค่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์การระบาดจะเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ซึ่งก็อาจจะต้องรอในช่วงต้นเดือนกันยายน


อนึ่งความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาด โควิด-19 อาจทำให้ทิศทางของเงินบาทยังคงผันผวนอยู่ในระยะสั้น ผู้ประกอบการจึงควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงให้หลากหลายมากขึ้น อาทิ ใช้ Options เพื่อช่วยปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ขณะที่ผู้เล่นในตลาดการเงินกลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น ท่ามกลางความกังวลปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ที่เริ่มกดดันความคาดหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยได้สะท้อนผ่านการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งล่าสุดราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้ดิ่งลงกว่า 2.5% สู่ระดับ 69.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังถูกกดดันโดยความกังวลว่าเฟดอาจลดการทำคิวอีได้เร็วกว่าคาด หลังบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างทยอยออกมาส่งสัญญาณสนับสนุนการลดคิวอีภายในปีนี้

อย่างไรก็ดี ในฝั่งตลาดการเงินสหรัฐฯ รายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ต่างออกมาดีกว่าคาด ได้ช่วยพยุงตลาดหุ้นไม่ให้ปรับตัวลดลงหนัก โดย ดัชนี Dowjones ปิดลบ -0.30% เช่นเดียวกันกับ ดัชนี S&P500 ที่ปรับตัวลงราว -0.09%

โดยทั้งสองดัชนีต่างเผชิญแรงกดดันของหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวลดลงหนัก ขณะที่หุ้นกลุ่มการเงินได้ปรับตัวสูงขึ้นช่วยพยุงตลาดไว้ ทั้งนี้ หุ้นเทคฯ ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ หลังบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังทรงตัวใกล้ระดับ 1.30% อีกทั้งผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯก็ยังคงสดใส หนุนให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปิดบวก +0.16%

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย +0.06% โดยความกังวลปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ก็เริ่มกลับมากดดันหุ้นในกลุ่ม Cyclical มากขึ้น อาทิ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง อย่าง Safran -2.22%, Airbus -1.83% ขณะเดียวกัน หุ้นในกลุ่มเทคฯ ยังช่วยพยุงตลาดไว้ได้บ้าง หลังรายงานผลปะกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ ออกมาดีต่อเนื่อง Infineon +0.89%, ASML +0.75%

ทางด้านตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดบอนด์เริ่มทยอยขายทำกำไรการถือบอนด์ระยะยาวมากขึ้น หลังบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างส่งสัญญาณพร้อมทยอยลดคิวอีได้ในปีนี้ หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นตามคาด ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10ปีสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น 4bps สู่ระดับ 1.32% ซึ่งก็ยังคงเป็นระดับที่ต่ำนับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าเฟดที่ออกมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวด อย่าง การทยอยลดคิวอีภายในปีนี้ รวมถึงการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ได้หนุนให้ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 93 จุด อีกครั้ง กดดันให้ ค่าเงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลง สู่ระดับ 1.174 ดอลลาร์ต่อยูโร ส่วนค่าเงินเยน (JPY) ก็อ่อนค่าลงแตะระดับ 110.3 จุด

สำหรับวันนี้ ตลาดจะติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป โดยตลาดประเมินว่า การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 อาจส่งผลให้ บรรดานักลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์มีมุมมองที่เป็นลบมากขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจากปัญหาการระบาดรอบล่าสุดในยุโรปและทั่วโลก ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเยอรมนี (ZEW Sentiment) เดือนสิงหาคม อาจลดลงสู่ระดับ 55 จุด จาก 63.3 จุด ในเดือนก่อน

ส่วนในฝั่งไทย ตลาดจะติดตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 หลังยอดผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับสูง แต่อาจสถานการณ์การระบาดอาจเริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ได้ หลังยอดการแจกจ่ายวัคซีนสามารถเร่งตัวขึ้นมาก ซึ่งหากรัฐบาลสามารถเร่งการแจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงได้ดีขึ้นต่อเนื่อง จนใกล้ระดับ 5 แสนโดสต่อวัน ก็อาจทำให้สถานการณ์การระบาดเริ่มคลี่คลายลงได้