'สินิตย์' สั่งช่วยผู้ประกอบการใต้ ใช้ FTA ขยายตลาดส่งออกอาเซียน

'สินิตย์' สั่งช่วยผู้ประกอบการใต้ ใช้ FTA ขยายตลาดส่งออกอาเซียน

  • 0 ตอบ
  • 67 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




“สินิตย์”สั่งเดินหน้าช่วยผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ประโยชน์จาก FTA ทำการส่งออกไปตลาดอาเซียน เผยมีหลายสินค้าที่มีศักยภาพ ทั้งผลไม้ อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพารา และผ้าบาติก

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “รู้ลึกก่อนใคร โอกาสการค้าชายแดนใต้สู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียน” และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ชี้ช่องเพิ่มโอกาสการค้าของจังหวัดชายแดนใต้กับตลาดอาเซียน” ว่า ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศสร้างความตระหนักรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ขยายตลาดไปต่างประเทศ โดยให้ทำงานร่วมกับทูตพาณิชย์และพาณิชย์จังหวัดใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เร่งช่วยหาช่องทางให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ในการหาตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต”

สำหรับการจัดสัมมนาครั้งนี้ ได้ระดมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มาร่วมแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วม โดยวิทยากรมีทั้งผู้ส่งออกรายใหญ่ นักการตลาด ทูตพาณิชย์ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. และพาณิชย์จังหวัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ามาชี้โอกาสการทำธุรกิจและการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพในพื้นที่ เช่น ผลไม้ (ทุเรียน ส้มโอ เงาะ ลองกอง มังคุด) อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพารา และผ้าบาติก เป็นต้น เน้นตลาดมาเลเซีย อาเซียน และตลาดสินค้าฮาลาล และแนะนำแนวทางการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA สร้างแต้มต่อขยายส่งออกสินค้าในตลาดการค้าเสรี ที่ประเทศคู่ค้าได้ลดและยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรให้กับสินค้าจากไทยแล้วเกือบทุกรายการ

“กระทรวงพาณิชย์มีความตั้งใจและมุ่งมั่นส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ของตลาด โดยเน้นเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงวิธีการผลิตและแหล่งผลิตได้ โดยเฉพาะสินค้าอาหารที่ต้องมีใบรับรองด้านมาตรฐาน เพื่อให้ตลาดยอมรับ ผู้บริโภคเชื่อมั่น ซึ่งจะช่วยให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาสูง และจะช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จาก FTA เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันทางการค้าขยายส่งออกไปตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดสินค้าฮาลาลที่มีประชากรสูงกว่า 2,000 ล้านคน และมั่นใจว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้และต่อยอดสำหรับวางแผนหาโอกาสจากตลาดใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสินค้าของไทยได้มากขึ้น”นายสินิตย์กล่าว

ในปี 2563 การค้าไทยกับอาเซียนมีมูลค่าสูงถึง 1.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกมูลค่า 6.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเปรียบเทียบการส่งออกปี 2563 กับปีก่อนที่ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้ พบว่า การค้าของไทยกับอาเซียนขยายตัวถึง 843% และการส่งออกขยายตัวสูงถึง 1,135% สำหรับในช่วง 5 เดือของปี 2564 (ม.ค.-พ.ค.) การค้าไทยกับอาเซียนมีมูลค่า 45,267.41 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 26,224.69 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 24.14%

ทั้งนี้ หากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) มีผลบังคับใช้ในต้นปี 2565 จะเป็นอีกหนึ่ง FTA สำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการและเกษตรกร สามารถใช้ประโยชน์ขยายการส่งออกไปตลาดสำคัญของไทย ทั้งอาเซียน จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพิ่มเติมจาก FTA ที่มีอยู่เดิม