รู้ไว้ก่อน!อาการข้างเคียงหลังฉีด'วัคซีนไฟเซอร์'

รู้ไว้ก่อน!อาการข้างเคียงหลังฉีด'วัคซีนไฟเซอร์'

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




       จากการที่ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ล็อตที่ประเทศอเมริกาบริจาค เป็นเข็ม3กระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าไปแล้วราว 5.7 หมื่นโดส( ณ 7 ส.ค.2564) และคาดว่าจะมีการฉีดให้กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปและหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปในกลางสัปดาห์นี้

          เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 8 สิงหาคม 2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็น “การกระจายวัคซีนไฟเซอร์”นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ล็อตที่บริจาคให้ประเทศไทยผลิตในโรงงานประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมิ.ย.2564 จะต้องแช่เย็นในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส จะหมดอายุในเดือนพ.ย.2564 โดย 1 โดส ต้องใช้  0.3 มิลลิลิตร ใน 1 ขวด จะฉีดได้ 6 โดส  ซึ่งเป็นวัคซีนแบบเข้มข้นต้องผสมน้ำเกลือ 1.8 มิลลิลิตรก่อนนำมาฉีดเป็นวิธีการฉีดวัคซีนชนิดนี้ที่เหมือนกันทั่วโลก และหากเก็บไว้ในอุณหภูมิ 2-8 องศา ต้องฉีดให้หมดภายใน 31 วัน

      นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า ภายหลังการฉีดวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งขณะนี้มี 2 ตัว คือ ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา  ในต่างประเทศพบอาการกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ  โดยข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ส่วนใหญ่เป็นการฉีดวัคซีนไฟเซอร์และฉีดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะไม่พึงประสงค์ภายหลังรับวัคซีน mRNA กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ประเทศสหรัฐอเมริกา ของศูนย์ป้องกันควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา(US CDC) ข้อมูล ณ วันที่ 11 มิ.ย. 2564 มีรายงานเกิดขึ้น 1,226 รายจากที่มีการฉีดวัคซีน 300 ล้านโดส คิดเป็นประมาณ 4 รายต่อ 1 ล้านการฉีด  แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต ซึ่งภาวะนี้ตอนทำวิจัยไม่เจอ แต่เจอเมื่อมีการฉีดในจำนวนมากๆ  แต่เป็นการเจอที่น้อยมาก

นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า โดยปกติภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบก็เกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการฉีดวัคซีน  แต่รายงานดังกล่าว พบว่า เพศหญิง อายุ 12-17 ปี พบ 19 รายมากกว่าภาวะปกติ 10 เท่า  อายุ 18-24 ปี พบ 23 ราย มากกว่าภาวะปกติ 4 เท่า อายุ 25-29 ปี พบ 7 ราย มากกว่าภาวะปกติ 1  เท่า  ส่วนเพศชาย  อายุ 12-17 ปี พบ 128ราย มากกว่าภาวะปกติ 30 เท่า  อายุ 18-24 ปี พบ 219 ราย มากกว่าภาวะปกติกว่า 27  เท่า อายุ 25-29 ปี พบ 59 ราย มากกว่าภาวะปกติ 8 เท่า  อายุ 30-39 ปี พบ 61 ราย มากกว่าภาวะปกติราว 4เท่า และอายุ 40-49 ปีพบ 34 ราย มากกว่าภาวะปกติ 2 เท่า

       “2 อาการนี้แม้ไม่มีการฉีดวัคซีนก็เกิดขึ้นได้ แต่หลังฉีดวัคซีน ในคนอายุน้อยเจอมากกว่าภาวะปกติ  โดยเจอในเพศชายมากกว่าเมื่อมีการติดตามหลังการฉีดเฉพาะเข็มที่ 2 ใน 7 วัน ซึ่งประเทศไทยยังไม่เคยฉีดวัคซีนชนิดนี้มาก่อน  จึงต้องเรียนรู้จากประสบการร์ประเทศอื่นที่ฉีดมากกว่าและนำมาเฝ้าระวังในประเทศไทย เช่น การที่เจอในเพศชายมากกว่าอาจเพราะหลังฉีดวัคซีนไปออกกำลังกาย บางประเทศ เช่น สิงคโปร์จึงแนะนำว่าหลังฉีดวัคซีนอย่าเพิ่งไปออกกำลังกายหนัก ถ้ามีภาวะอักเสบอยู่อาจจะทำให้เกิดหัวใจอักเสบขึ้น ส่วนใหญ่มีอาการหลังจากรับวัคซีนภายใน 5 วัน  เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก ใจสั่น แต่ยังไม่มีการเสียชีวิต  อาจเพราะเฝ้าระวังอยู่แล้วถ้ามีอาการรีบมารักษาได้เร็ว”นพ.โสภณกล่าว

นพ.โสภณ กล่าวอีกด้วยว่า สำหรับประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนนี้ได้ราว 4 วัน จำนวนประมาณ 5.7 หมื่นโดส ยังไม่พบผู้ที่มีอาการนี้ หากมีการฉีดในล็อตนี้ราว 1.5 ล้านโดส ก็อาจจะเจอราว 6 ราย  โดยในจำนวนผู้ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพศหญิง และเพศชายใกล้เคียงกัน โดยในจำนวนนี้อยู่ในวัยที่ต้องระวังเข้มข้น คือมีอายุน้อยกว่า 30 ปีประมาณ 60 %  อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่บุคลากรที่เป็นแพทย์และพยาบาลจะรู้จักภาวะ 2 อย่างนี้อยู่แล้ว ก็จะมีการเฝ้าระวังอาการตนเองและรายงานอาการเข้าระบบหมอพร้อมตามการเฝ้า

         “ ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 12 ขึ้นไปนั้น จะฉีดเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหัวใจ ไต โรคอ้วน เบาหวานและมะเร็ง เป็นต้น โดยจะต้องมีการประเมินก่อนว่าอยู่ในภาวะพร้อมรับวัคซีนและติดตามอาการหลัง 30 นาที , 1 วัน ,7 วันและ 30 วันและที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีการฉีดวัคซีนโควิด19ให้กับเด็ก ก็ใช้ข้อมูลลต่างประเทศเป็นตัวช่วย โดยให้รายงานอาการข้างเคียงด้วยตนเองหรือโดยผู้ปกครองผ่านระบบหมอพร้อม  ถ้ามีอาการตามที่มีคำแนะนำให้รีบกลับมารพ.เพราะมีภาวะที่ดูแลได้ โดยในอเมริกาไม่มีผู้เสียชีวิต จะมีการดูแลอย่างดีในแผนกหัวใจหรือซีซียู เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ความเสี่ยงน้อยกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ เพราะมีเด็กที่มีโรคเรื้อรังเสียชีวิตจากการติดโควิดด้วย”นพ.โสภณกล่าว