'ธุรกิจการบินโลก'ฟื้นตัวแบบเหลื่อมล้ำ

'ธุรกิจการบินโลก'ฟื้นตัวแบบเหลื่อมล้ำ

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





ความหวังที่ว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะเริ่มฟื้นตัว เพราะหลายประเทศเริ่มเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนในประเทศ แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะดูเหมือนสายการบินอเมริกันหลายแห่งเริ่มมีรายได้เข้ามาแต่สายการบินในเอเชีย โดยเฉพาะสายการบินชั้นนำของญี่ปุ่นกลับขาดทุน

เว็บไซต์นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า สายการบินเจแปน แอร์ไลน์ (เจเอแอล)เผยตัวเลขขาดทุนสุทธิ 5.792 หมื่นล้านเยน (531 ล้านดอลลาร์) ในไตรมาสที่ 2/2564 สวนทางกับบรรดาสายการบินอเมริกันหลายแห่ง ทั้งเดลตา แอร์ไลน์ และอเมริกัน แอร์ไลน์ที่รายได้เพิ่มขึ้น

ถึงแม้เจเอแอลขาดทุนแต่ก็เป็นตัวเลขขาดทุนสุทธิที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความพยายามลดต้นทุนของบริษัทโดยบริษัทเคยขาดทุนสูงถึง 9.371 หมื่นล้านเยนในไตรมาสที่ 2/2563 ซึ่งถือเป็นการขาดทุนมากที่สุดเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส นับตั้งแต่บริษัทจดทะเบียนใหม่เมื่อปี 2555 ส่วนยอดขายขยายตัว 74.1% จากปีที่แล้ว อยู่ที่ 1.3303 แสนล้านเยน

อย่างไรก็ตาม เจเอแอลไม่ได้เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการสำหรับปีงบการเงิน 2564 โดยระบุถึงความไม่แน่นอนของธุรกิจ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การจราจรทางอากาศยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาด แต่จำนวนผู้โดยสารเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้ของสายการบินขยับขึ้น

ถึงอย่างนั้น เจเอแอลก็มองว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากผลกระทบที่ยืดเยื้อของวิกฤตสุขภาพทั่วโลก แต่มีความหวังมากขึ้นว่าธุรกิจการบินจะฟื้นตัวจากอุปสงค์ด้านการเดินทางภายในประเทศ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน

จำนวนผู้โดยสารสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าอยู่ที่ 2.71 ล้านคนเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่อุปสงค์ด้านการเดินทางลดลง เนื่องจากญี่ปุ่นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ

แต่ไม่ได้มีแค่เจเอแอลเท่านั้นที่ประสบปัญหาในการสร้างรายได้และผลกำไร สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า สายการบินแควนตัส ของออสเตรเลียก็เจอปัญหาเช่นกันจากผลพวงของโรคโควิด-19 ทำให้สายการบินต้องปรับลดเที่ยวบินจากเดือนพ.ค. ซึ่งอยู่ที่เกือบ 100% ของระดับก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด ลงเหลือน้อยกว่า 40% ในเดือนก.ค. เพราะมาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐบาลออสเตรเลียประกาศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตา

ซิดนีย์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของออสเตรเลียได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และคาดว่าทางการซิดนีย์จะยังคงใช้มาตรการล็อกดาวน์ต่อไปนานกว่า 3 สัปดาห์ ขณะที่หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลียก็เร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างรวดเร็วที่สุด

“ดูจากยอดผู้ติดเชื้อในขณะนี้ ผมคาดว่าซิดนีย์จะยังคงปิดพรมแดนต่อไปอย่างน้อย 2 เดือน” “อลัน จอยซ์” ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)สายการบินแควนตัส กล่าว

นอกจากลดเที่ยวบินแล้ว แควนตัสยังตัดสินใจให้พนักงานประมาณ 2,500 คนพักงานเป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือนโดยงดจ่ายค่าตอบแทน

สายการบินระบุว่า การตัดสินใจครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อนักบินประจำเที่ยวบินภายในประเทศ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และพนักงานประจำท่าอากาศยานในรัฐนิวเซาท์เวลส์

ส่วนสายการบินยุโรปก็เจอชะตากรรมคล้ายกัน โดยอินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ส กรุ๊ป (ไอเอจี)บริษัทแม่ของบริติช แอร์เวย์ส รายงานตัวเลขขาดทุนหลังหักภาษีในไตรมาส2 อยู่ที่ 981 ล้านยูโร (1,160 ล้านดอลลาร์)โดยอ้างถึงผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

สวนทางกับบรรดาสายการบินรายใหญ่ๆของสหรัฐที่มีอัตราการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนไปแล้ว 70% เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวให้เห็น โดยสายการบินรายใหญ่ 3 รายอันได้แก่ สายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เดลตา แอร์ไลน์ และอเมริกัน แอร์ไลน์มีกำไรสุทธิรวมกัน 237 ล้านดอลลาร์สำหรับไตรมาสล่าสุด โดยสายการบินสองรายสุดท้ายมีกำไรเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 ​

ผลกำไรของสายการบินชั้นนำทั้งสามแห่งเป็นผลมาจากการเดินทางภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยผู้โดยสารในสหรัฐใช้บริการเที่ยวบินในประเทศเดือนมิ.ย.ปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 85% เทียบกับในญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนเพียง 32%

ขณะที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ(ไออาต้า)ระบุว่า การจราจรทางอากาศระหว่างประเทศในยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินข้ามพรมแดนระยะสั้นๆมีสัดส่วนแค่ 31% ของจำนวนเที่ยวบินข้ามพรมแดนเมื่อสองปีก่อน