'เงินบาท' วันนี้เปิด 'อ่อนค่า' ที่33.15บาทต่อดอลลาร์

'เงินบาท' วันนี้เปิด 'อ่อนค่า' ที่33.15บาทต่อดอลลาร์

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




กรุงไทย มอง “เงินบาท” ยังอยู่ในโหมดอ่อนค่าจากปัญหาโควิดระบาดรุนแรงในไทยและจับตาเงินดอลลาร์ยังพร้อมกลับมาแข็งค่าขึ้นได้หลังนักลงทุนเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย มองกรอบเงินบาทวันนี้33.10- 33.20บาทต่อดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.15 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.14 บาทต่อดอลลาร์แลพ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าอยู่จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 รวมถึงแรงซื้อดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าที่อาจเข้ามาเร่งปิดความเสี่ยงเนื่องจากกังวลว่า เงินบาทอาจจะอ่อนค่าเร็วและแรง

ดังนั้นเราจึงยังมองไม่เห็นโอกาสที่เงินบาทจะพลิกกลับเทรนด์มาแข็งค่าได้ในเร็วนี้ เนื่องจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ในไทยยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ ค่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์การระบาดจะเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ซึ่งก็อาจจะต้องรอในช่วงต้นเดือนกันยายน

ทั้งนี้ ในระยะสั้น อาจต้องจับตาทิศทางเงินดอลลาร์ เพราะ เงินดอลลาร์ยังพร้อมกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ ตามแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่แข็งค่าขึ้น รวมถึง ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวล ปัญหาการระบาดโควิด-19 ทั่วโลก อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ก็พร้อมอ่อนค่าลง หากบรรยากาศการลงทุนกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หนุนโดยรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด

เรามองว่า แนวต้านสำคัญของค่าเงินยังอยู่ในโซน 33.20-33.25 บาทต่อดอลลาร์ และเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้ามาช่วยลดความผันผวนของเงินบาทลงในระยะสั้น ทำให้ เงินบาทอาจยังประคองตัวในช่วง 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์  ในขณะที่แนวรับของเงินบาทก็ปรับขึ้นมาสู่ระดับ 32.90-33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นช่วงราคาที่ผู้นำเข้าบางส่วนต่างรอจังหวะย่อตัว เพื่อทยอยปิดความเสี่ยงค่าเงิน

ในส่วนความเคลื่อนไหวของ"ตลาดการเงิน" ยังคงมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19, รายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน รวมถึง ทิศทางของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง

โดยในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดการเงินกลับมาอยู่ในโหมดระมัดระวังตัวมากขึ้น และเริ่มทยอยขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยง ท่ามกลางความกังวลว่าปัญหาการระบาด Delta ในสหรัฐฯ อาจกดดันให้โมเมนตัมการฟื้นตัวเศรษฐกิจลดลงหลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด เริ่มออกมาแย่กว่าคาด อาทิ ยอดการจ้างงานภาคเอกชนที่สำรวจโดย ADP ก็เพิ่มขึ้นเพียง 3.3 แสนตำแหน่ง น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่เกือบ 7 แสนตำแหน่ง ขณะเดียวกัน ยอดสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ (Crude Oil Inventories) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด สะท้อนถึงความต้องการใช้พลังงานที่ลดลง นอกจากนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้รับแรงกดดันจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด อย่าง Richard Clarida ที่ออกมาสนับสนุนการทยอยลดคิวอีภายในปีนี้ รวมถึงการทยอยขึ้นดอกเบี้ยในปี 2023 ซึ่งทั้งภาพความกังวลปัญหาการระบาด Delta และแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ได้กดดันให้ ดัชนี Dowjones ปิดลบ -0.92% เช่นเดียวกันกับ ดัชนีS&P500 ที่ปรับตัวลดลงราว -0.46% ส่วน หุ้นเทคฯ ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ หลังบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังทรงตัวในระดับต่ำต่อไป หนุนให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปิดบวก +0.13%

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้น +0.65% นำโดยหุ้นในกลุ่มเทคฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังรายงานผลปะกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ ยังคงออกมาดีต่อเนื่อง Infineon +4.07%, ASML +2.93% ขณะเดียวกันแนวโน้มธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ รวมถึงความหวังแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ได้หนุนการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ หุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมและกลุ่มธนาคาร Adidas +4.04%, BNP Paribas +1.19%, Santander +1.05%

ทางด้านตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดบอนด์ยังมีมุมมองที่ระมัดระวังตัวอยู่ จากความกังวลปัญหาการระบาดของเดลต้าทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยยังเป็นที่ต้องการของตลาด ดังจะเห็นได้จากการที่ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังคงทรงตัวใกล้ระดับ 1.18%

ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าเฟดที่ออกมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวด อย่าง การทยอยลดคิวอีภายในปีนี้ ได้หนุนให้ เงินดอลลาร์โดยรวมพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อหลบความผันผวนในช่วงที่ปัญหาการระบาดของโควิด-19 อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 92.30 จุด กดดันให้ ค่าเงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลง สู่ระดับ 1.184 ดอลลาร์ต่อยูโร ส่วนค่าเงินเยน (JPY) ก็พลิกกลับมาอ่อนค่าลงแตะระดับ109.5 จุด

สำหรับวันนี้ ตลาดจะติดตามแนวโน้มสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ส่วนในด้านข้อมูลเศรษฐกิจและผลการประชุมธนาคารกลางนั้น ตลาดมองว่า เศรษฐกิจอังกฤษมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แม้ว่าล่าสุด อังกฤษจะพบการระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากยอดผู้ป่วยหนักและยอดผู้เสียชีวิตไม่ได้เพิ่มในอัตราเร่งตามยอดผู้ติดเชื้อใหม่ อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดอาจทำให้ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป ทั้ง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ที่ระดับ 0.10% และเดินหน้าอัดฉีดสภาพคล่องต่อ ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาจทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินบางส่วนเริ่มสนับสนุนการทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่องในปลายปีนี้ หรือ ช่วงต้นปีหน้า

ส่วนในฝั่งไทย ภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ซบเซาลงหนักจากปัญหาการระบาด Delta ที่รุนแรงมากขึ้น จะกดดันให้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนกรกฎาคม ชะลอลงสู่ระดับ 0.10% ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ก็จะชะลอลงสู่ระดับ 1.0% เช่นกัน โดยอัตราเงินเฟ้อยังได้แรงหนุนจากราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่แรงกดดันจะมาจากภาวะการบริโภคที่ซบเซาและมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของภาครัฐ อาทิ ลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า