KKPชี้โควิดระลอก3 ฉุดธุรกิจอสังหาแนะผู้ประกอบการปรับตัว

KKPชี้โควิดระลอก3 ฉุดธุรกิจอสังหาแนะผู้ประกอบการปรับตัว

  • 0 ตอบ
  • 87 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ธนาคารเกียรตินาคินภัทร โดยสายงานสินเชื่อธุรกิจ วิเคราะห์การระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 เริ่มส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจน  โดยเฉพาะในกลุ่มกำลังซื้อที่เป็นกลุ่มตลาดโรงงาน อีกทั้งภาพรวมการเปิดโครงการใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีปริมาณลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ การปรับตัวและมองหาช่องว่างของตลาดยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่เห็นบทสรุป

การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 3 เริ่มมีผลกระทบชัดเจน ในพื้นที่ที่กำลังซื้อหลักเป็นพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมหรือกลุ่มโรงงานซึ่งมีโอกาสที่จะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลกระทบโดยตรงจากรายได้ที่ไม่แน่นอนและการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่ในกลุ่มโรงงาน สะท้อนให้เห็นจากยอดการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านใหม่ (นิติบุคคล) ในไตรมาสแรกปีนี้ของกลุ่มสินค้าทาวน์เฮ้าส์ ที่ปรับตัวลดลงมากในจังหวัดนครปฐม (-88%)  สมุทรสาคร (-45%) และ สมุทรปราการ (-28%)  
ส่วนภาพรวมการเปิดโครงการใหม่พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลในไตรมาสแรกปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2563 โดยมีจำนวนยูนิตเปิดใหม่รวม 12,985 ยูนิต ลดลง 7,212 ยูนิต (-35%) จากการที่ผู้ประกอบการเริ่มปรับตัวโดยจับกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีกำลังซื้อและได้รับผลกระทบจากโควิด-19  ไม่มาก พบว่ากลุ่มสินค้าที่มียูนิตเปิดขายสูงสุดคือคอนโดมิเนียม โดยมียูนิตขายใหม่เข้ามาในตลาด 5,857 ยูนิต ลดลง (-15%) จากไตรมาสแรก 2563 ซึ่งกลุ่มนี้เริ่มเห็นภาพการชะลอเปิดตัวตั้งแต่ต้นปี 2563  รองลงมาคือ กลุ่มทาวน์เฮ้าส์มียูนิตเปิดขายใหม่ 4,159 ยูนิต ลดลง (-56%) จากไตรมาสแรก 2563 ส่วนบ้านเดี่ยวมียูนิตเปิดขายใหม่ 1,274 ยูนิตลดลง (-44%) จากช่วงเดียวกัน  

กลุ่มโครงการที่เปิดใหม่และขายดี เป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยในระดับราคา 3-5 ล้านบาท และกลุ่ม 5-10 ล้านบาท ซึ่งถ้าเจาะลึกลงไปในรายสินค้าจะเห็นว่ากลุ่มทาวน์เฮ้าส์เป็นสินค้าเปิดใหม่ที่ขายดีที่สุด โดยกลุ่มระดับราคาที่ขายดีเป็นช่วงระดับราคา 3-4 ล้านบาท (ทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น) และระดับราคา 5-7 ล้านบาท (ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น) และที่น่าสนใจคือ บ้านแฝดในระดับราคา 5-7 ล้านบาทในพื้นที่เมืองรอบนอก ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนบ้านเดี่ยวที่ขยับราคาสูงขึ้นเป็น 8-10 ล้านบาท โดยพื้นที่ที่ทาวน์เฮ้าส์และบ้านแฝดมีการเปิดขายใหม่มากที่สุด คือโซนฝั่งบางนา-ศรีนครินทร์ รามอินทรา รังสิต-ลำลูกกา (ไม่เกินแนววงแหวนตะวันออก) ส่วนกลุ่มคอนโดมิเนียมที่เปิดใหม่และขายดีมีแนวโน้มที่จะปรับราคาลดลงเป็นกลุ่มระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท
ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังไม่แน่ชัดว่ายาวนานเพียงใด ปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าการฉีดวัคซีนที่ล่าช้าและอาจจะไม่ได้ตามเป้าหมายในปี 2564  การติดเชื้อโควิด-19 ที่กระจายเพิ่มในกลุ่มแรงงานก่อสร้างและภาคอุตสาหกรรม สัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น กลุ่มกำลังซื้อใหม่ยังมีอัตราการว่างงานสูง กลุ่มกำลังซื้อต่างชาติที่ยังไม่กลับมาในปีนี้  หรือการอนุมัติสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่เข้มงวดขึ้น จะเป็นอุปสรรคที่ชะลอความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ทำให้ตลาดมีแนวโน้มหดตัวลงเป็นกลุ่มกำลังซื้อที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และเกิดการแข่งขันแย่งตลาดที่ยังมีกำลังซื้อดังกล่าว  


ด้วยเหตุนี้ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร โดยสายงานสินเชื่อธุรกิจ เห็นว่าการปรับตัวและมองหาโอกาสจากช่องว่างของตลาดเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่อุปสงค์ชะลอตัว อาทิ การเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบน้อย การกำหนดเซ็กเมนต์โดยนำเสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น

 การสร้างรูปแบบบริการที่รองรับสถานการณ์การใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มัล การบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสด การบริหารจัดการต้นทุนและความสมดุลของสต็อคบ้านที่ก่อสร้างกับอัตราการขายที่เหมาะสม การกำหนดแผนสำรองกรณีกลุ่มเซ็กเมนต์เดิมไม่สร้างยอดขาย การปรับรูปแบบสินค้าได้เร็ว การมองหาโอกาสในทำเลใหม่ๆ และกลุ่มเซ็กเมนต์ที่อุปทานในพื้นที่มีเหลือไม่มากหรือมีคู่แข่งขันน้อย

รวมทั้งการพัฒนาสินค้าใหม่ในทำเลซึ่งได้ประโยชน์จากการปรับปรุงผังเมืองกรุงเทพมหานคร จะเป็นช่องสำหรับเติมเต็มความต้องการสินค้าในบางระดับราคาที่ไม่สามารถเป็นไปได้ตามผังเมืองเดิม และเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังไม่เห็นบทสรุป