เปิดแผนจัดสรรวัคซีน 13ล้านโดสเดือนสิงหาคมใครได้ฉีดบ้าง

เปิดแผนจัดสรรวัคซีน 13ล้านโดสเดือนสิงหาคมใครได้ฉีดบ้าง

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




‘วัคซีนโควิด 19’ กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ไทยกำลังประสบอยู่ และเกิดคำถาม ข้อเรียกร้องจากประชาชนมากมาย ให้รัฐบาล จัดหาจัดสรรวัคซีนที่มีคุณภาพฉีดให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน

 จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 10/2564 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบถึงแนวทางการจัดสรรวัคซีน แผนการกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ระหว่างวันที่ 19 ก.ค.- 31ส.ค. 2564

13 ล้านโดสเร่งกระจายวัคซีนใน 3 กลุ่มจังหวัด 
โดยการพิจารณาจัดสรรวัคซีนให้กับผู้ที่ได้จองฉีดวัคซีนล่วงหน้า คือ กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย

1.กลุ่มจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และจังหวัดควบคุมสูงสุดบางจังหวัด จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และชลบุรี

2.จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือมีความเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภายหลังการระบาด และแผนเปิดการท่องเทียวระยะถัดไป จำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก หนองคาย สระแก้ว บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาเต่า) ตรัง พังงา และกระบี่

3.จังหวัดอื่น ๆ จำนวน 48 จังหวัด

เกณฑ์การจัดสรรวัคซีน 15 ก.ค.-31 ส.ค.2564
มีการพิจารณา ดังนี้

1.จำนวนประชากรที่นำมาคำนวณมาจากฐานข้อมูลประชากรจากทะเบียนบ้านและประชากรแฝง

2.เป้าหมายฉีดให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรจากทะเบียนบ้านและประชากรแฝงทุกกลุ่มอายุในแต่ละจังหวัด ทั้งผู้มีสัญชาติไทยและ ไม่มีสัญชาติไทย

3.เป้าหมายให้บริการวัคซีน 13,000,000 โดส (จำนวนวัคซีนที่จัดสรรจริงอาจปรับเปลี่ยนตามปริมาณวัคซีนที่ประเทศไทยจัดหาได้)

4.ประเภทการจัดสรรเป็นไปตามมติศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19  เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2564 แบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัดตามที่เสนอ โดยเกณฑ์การจัดสรรจะพิจารณาจากปัจจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้ลงทะเบียนจองวัคซีนล่วงหน้าในเดือนก.ค. – ส.ค.2564 การให้วัคซีนเพื่อป้องกันเชิงรุกในพื้นที่ระบาดใหม่  โควตาประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน (กทม. + 12 จังหวัด) และจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด

5.กรณีจัดหาวัคซีนได้ไม่ถึง 13,000,000 โดส จะลดลงตามสัดส่วนวัคซีนที่ได้

ทั้งนี้  ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรลดระยะเวลาการฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 โดส เป็น 8 สัปดาห์ ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สูง และให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 เพิ่มเติม

แนวทางการฉีดวัคซีนในประเทศไทย
แนวทางการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตร ตามแนวทางมาตรฐาน ได้แก่

1.กรณีรับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 และวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์

2.กรณีรับวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 เข็ม ให้ฉีดห่างกัน 10 - 12 สัปดาห์ โดยทั่วไปผู้รับวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอหลังจากฉีด ครบ 2 เข็ม แล้ว 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ กรณีการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุให้พิจารณารับวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 เข็ม และการฉีดวัคซีน Sinovac จำนวน 2 เข็ม จะฉีดเฉพาะกรณี


แนวทางการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม โดยสามารถได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer เป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็ม หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ (สูตร Sv-Sv-Az หรือ Sv-Sv-Pf) ทั้งนี้ เมื่อมีวัคซีนเพียงพอและกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนแล้ว จะมีการพิจารณาการฉีดเข็มกระตุ้นให้กับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในระยะถัดไป

แนวทางการจัดหาวัคซีน ในปี 2565  การจัดหาวัคซีนในกรอบ 120,000,000 โดส ต้องเร่งรัดการจัดหาวัคซีน โดยพิจารณาดำเนินการกับผู้ผลิตวัคซีนที่มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สองที่สามารถจะครอบคลุมไวรัสที่มีการกลายพันธุ์

โดยให้มีเป้าหมายการส่งมอบได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 รวมทั้งการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส การกำหนดแนวทางการขึ้นทะเบียนวัคซีนที่และพัฒนาในประเทศ และสนับสนุนการศึกษาภูมิคุ้มกันระยะยาวของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ตลอดจนการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ไวรัสกลายพันธุ์ในปี 2565 และความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด  19 เพิ่มเติม
 

ไทมไลน์แผนจัดสรรวัคซีนถึงสิ้นเดือนส.ค. 2564
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ส.ว. ฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสผ่าน Blockdit ‘ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย’ โดยข้อมูลจากศูนย์ปฎิบัติการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ขณะนี้ได้มีการประกาศไทม์ไลน์การฉีดวัคซีนโควิด ในช่วงตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.ถึงวันที่ 31 ส.ค.แล้ว โดยจะระดมฉีดวัคซีนจำนวน 13 ล้านโดส ภายใน 44 วัน คิดเป็นเฉลี่ยวันละ 2.95 แสนโดส แบ่งเป็นวัคซีน AstraZeneca 8 ล้านโดส  Sinovac 5 ล้านโดส ตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จำนวน 33%

2.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) + ท่องเที่ยว จำนวน 10%

3.พื้นที่ 48 จังหวัดที่เหลือ จำนวน 15%

4.ระบบประกันสังคม จำนวน 15%

5.หน่วยงานของรัฐและสำรองตอบโต้กรณีฉุกเฉิน จำนวน 12%

6.ฉีดเข็มสอง ให้ผู้ที่ได้เข็มหนึ่งของ AstraZeneca แล้วจำนวน 12%

7.ฉีดกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 3%

โดยจะให้เน้นไปที่ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรังเป็นหลัก

แผนจัดหาวัคซีน ไม่พอกับเป้าหมาย 100 ล้านโดส
นพ.เฉลิมชัย ระบุต่อว่าเมื่อดูจากตัวเลขดังกล่าว จะพบว่า ได้มีการฉีดวัคซีนมาแล้วจนถึงวันที่ 18 ก.ค.2564 จำนวน 14.22 ล้านโดส เมื่อรวมกับที่จะฉีดภายในสิ้นเดือนส.ค.นี้ อีก 13 ล้านโดส จึงรวมเป็น 27.22 ล้านโดส  

เป้าหมายที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมูในการฉีดถึงสิ้นปีนี้ ธ.ค.2564 คือ 100 ล้านโดส จึงจะต้องฉีดเพิ่มอีก 72.78 ล้านโดส ในช่วงเวลาที่เหลือ ตั้งแต่  1 ก.ย.-31 ธ.ค.2564 รวมเป็นเวลา 122 วัน คงต้องฉีดให้ได้เฉลี่ย 5.96 แสนโดสต่อวัน  ซึ่งโดยศักยภาพของโรงพยาบาลรัฐ สามารถฉีดได้วันละ 5-7 แสนโดส จึงไม่ใช่ปัญหาเรื่องความสามารถในการฉีด แต่น่าจะเป็นประเด็นเรื่องปริมาณของวัคซีนที่จะจัดหามาให้ได้ครบ 100 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้

โดยพบว่า วัคซีนที่จะต้องจัดหามาเพิ่มอีก 72.78 ล้านโดสนั้น ประกอบไปด้วย

1.AstraZeneca 20 ล้านโดส คือเดือนละ 5 ล้านโดส จำนวน 4 เดือน

2.Sinovac  12 ล้านโดส คือ เดือนละ 3 ล้านโดส

3.Pfizer 20 ล้านโดส บวกที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐฯอีก 1.5 ล้านโดส รวมเป็น 21.5 ล้านโดส

4.Moderna 5 ล้านโดส

5.Sinopharm 2 ล้านโดส

รวมเป็น 61.5 ล้านโดส ยังคงขาดวัคซีนที่ต้องเร่งจัดหามาภายในสิ้นปีอีก 11.28 ล้านโดส เฉลี่ยเดือนละ2.82 ล้านโดส  ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายวิธี อาทิเช่น เจรจากับ AstraZeneca ให้จัดสรรวัคซีนเพิ่มให้กับไทย หรือนำเข้าวัคซีน Sinopharm เพิ่มขึ้น หรือนำเข้าวัคซีน johnson & Johnson  หรือวัคซีน Sputnik V จากรัสเซีย  ตลอดจนวัคซีน Novavax เข้ามาเสริม คงจะต้องรอดูแผนและวิธีการดำเนินการต่อไป