ธปท.จ่อดัน ‘สหกรณ์ออมทรัพย์’ 150 แห่ง เข้าเครดิตบูโร

ธปท.จ่อดัน ‘สหกรณ์ออมทรัพย์’ 150 แห่ง เข้าเครดิตบูโร

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ธปท.จ่อคุมหนี้สหกรณ์ ดันเข้าฐานเครดิตบูโร เดินสายหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง "สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ-ครู" วงในการเงินเผยเบื้องต้น 150 แห่ง ที่มีสินทรัพย์เกิน 2 หมื่นล้าน

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ข้อมูลหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1 ปี 2564 จำนวน 14.1 ล้านล้านบาท กว่า 1 ใน 4 เป็นเจ้าหนี้ ที่อยู่นอกการกำกับ ธปท. สะท้อนว่า การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย ธปท.จึงหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา เช่น ปรับปรุงฐานข้อมูลเครดิต (เครดิตบูโร) และนำแนวทางกำกับปัจจุบัน ธปท.ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาหนี้

โดยเฉพาะหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลเครดิตบูโร อีกทั้งมีความเสี่ยงจากการกำหนดดอกเบี้ยเงินฝากที่สูง เพื่อจูงใจให้สมาชิกนำเงินมาฝาก จึงต้องกำหนดดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงตามไปด้วย การหารือเพื่อแก้ปัญหาหนี้จะเริ่มจากสหกรณ์ที่มีมูลหนี้สูงก่อน ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ผ่านการหารือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมถึงพูดคุยกับเจ้าหนี้อย่างตำรวจ กระทรวงศึกษาธิการโดยตรง ซึ่งธปท.จะทยอยขยายการแก้ปัญหาไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นๆ ในระยะถัดไป


นอกจากนี้ ธปท.อยู่ระหว่างหารือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อนำแนวทางกำกับดูแลปัจจุบันไปช่วยกลุ่มลูกหนี้ที่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาจบใหม่ ที่ถูกผลกระทบโควิด-19 ไม่สามารถหางานได้ และส่งผลให้บางรายถูกฟ้องร้องจากผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งมีผลต่อการสมัครงานในอนาคต แนวทางช่วยเหลือ เช่น กำหนดชำระค่างวดเป็นงวดย่อย จากเดิม กยศ.ให้ชำระค่างวดปีละ 1 ครั้ง รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เนื่องจากเป็นหนี้ที่ยืมไปใช้เพื่อการศึกษา คาดว่า จะเห็นความชัดเจนในปีนี้

ส่วนปี 2565 ธปท.จะเริ่มแก้ไขปัญหาหนี้เกษตร ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะเป็นหนี้ที่ซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จึงไม่สามารถใช้วิธีเดียวกับสถาบันการเงินเอกชน เช่น ตัดหนี้ (แฮร์คัท) เพราะจะส่งผลกระทบต่อรายได้รัฐ

'เพิ่มงบช่วยปชช.-พยุงศก.'-แผนฝ่าวิกฤตโควิดอินโดฯ
แหล่งข่าวจากวงการการเงิน กล่าวว่า ล่าสุดได้แต่งตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้น ประกอบด้วยตัวแทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และ ธปท.เพื่อดันให้ออกประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์บังคับให้สหกรณ์ออมทรัพย์ใหญ่ราว 150 แห่ง สินทรัพย์เกิน 20,000 ล้านบาท เข้าสู่ระบบเครดิตบูโร และกรณีที่ออกกฎกระทรวงบังคับให้สหกรณ์นำส่งข้อมูล อาจกำหนดขั้นตอนให้สหกรณ์ใหญ่ 170 แห่ง เป็นสมาชิกเครดิตบูโรใน 1 ปี


ปัจจุบัน การกู้ยืมสหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ อยู่ระดับสูง ทั้งยังเสี่ยงจากปล่อยกู้ระหว่างกัน การเข้าสู่ระบบเครดิตบูโรทำให้ ธปท.กำกับและดูแลได้มากขึ้น และจะส่งผลให้สหกรณ์เห็นความเสี่ยงกว้างมากขึ้นเพื่อใช้พิจารณาปล่อยกู้ในอนาคตให้ดีขึ้นลดความเสี่ยงเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และดูแลการปล่อยสินเชื่อให้อยู่ในระดับเหมาะสม ไม่ปล่อยกู้เกินความสามารถการชำระหนี้ของผู้กู้ได้ในอนาคต