แสดงกระทู้ - jetsaridlawyer

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - jetsaridlawyer

หน้า: [1]
1
          !!! หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ สำนักงานกฎหมายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

          สำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว ฟ้องหย่า ฟ้องชู้ ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับจดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

ติดต่อ สำนักงานทนายเจตน์สฤษฎิ์ (ทนายความ)
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

2

ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่อะไรบ้าง ?

หน้าที่ของผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้าง ?
      เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีทรัพย์มรดก และทำรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก จะทำนิติกรรมใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้
      หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท หรือเบียดบังเป็นของตน หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาท ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ และอาจมีความผิดอาญามีโทษจำคุกได้

ผู้จัดการมรดก หมายถึงใคร
         ผู้จัดการมรดก ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทของเจ้ามรดกจะเป็นใครก็ได้ แต่ผู้ที่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องเป็นทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดก เช่น ผู้สืบสันดาน, บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน , คู่สมรส (ที่ทำการจดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น) หรือ จะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ แต่ต้องมีส่วนได้เสียร่วมกัน เช่น เจ้าของร่วมทรัพย์สิน

           หรือ หากมีพินัยกรรมก็ให้เป็นไปตามที่พินัยกรรมได้ระบุไว้ แต่ทั้งนี้ศาลก็ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้ได้ด้วยเช่นกัน อาจตั้งทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นที่เหมาะสมกว่าก็ได้ และการจัดตั้งผู้จัดการมรดกไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งขึ้นมาแค่เพียงคนเดียวด้วย สามารถตั้งหลายคนได้ เว้นแต่ จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ที่สามารถให้ผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่งสามารถเป็นผู้ดำเนินการเพียงลำพังได้ ในขณะที่ผู้จัดการคนอื่นไม่สะดวก

ขั้นตอนการยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้าง ?
คลิกอ่านบทความที่นี่ ::>> การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

ติดต่อ สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานกฎหมาย

3

ฟ้องหย่า
มีรายละเอียดอย่างไร และเรียกร้องอะไรได้บ้าง ?


        กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งต้องการหย่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่า สามารถไปฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่ต้องมีเหตุฟ้องหย่าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1516 เท่านั้น จะอาศัยเหตุอื่นมาเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ และจะทำสัญญาก่อนสมรสกำหนดเหตุฟ้องหย่ากันไว้เองก็ไม่ได้ด้วยเช่นกัน
        แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะต่อสู้คดีว่าไม่มีเหตุฟ้องหย่าและการสมรสเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากัน ศาลพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะก็ได้

        เหตุฟ้องหย่า ตามมาตรา 1516 มีทั้งหมด 10 เหตุ (คลิกอ่านบทความ เหตุฟ้องหย่า 10 ประการที่นี่)

        โดยทั้งหมดนี้ใช้ในการฟ้องหย่าในประเทศไทยทุกกรณี กล่าวคือ หากเป็นสามีภริยาชาวต่างชาติ แต่ถ้ามาฟ้องหย่ากันในประเทศไทยต้องใช้เหตุหย่า ตามมาตรา 1516 และต้องนำสืบด้วยว่ากฎหมายแห่งสัญชาติตนและจำเลยให้สิทธิฟ้องหย่าได้ หากไม่นำสืบ ศาลพิพากษายกฟ้องได้แม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ก็ตาม

        สำหรับการสมรสโดยบุคคลเพศเดียวกันที่กระทำในต่างประเทศโดยชอบด้วยกฎหมายของต่างประเทศ ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการสมรสตามกฎหมายไทย โดยต้องถือว่าไม่ใช่การสมรสจะมาฟ้องหย่าในศาลไทยไม่ได้ และการจดทะเบียนหุ้นส่วนชีวิต ก็มาฟ้องหย่าในศาลไทยไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนเพศ เช่น ชายเปลี่ยนเพศเป็นหญิง แล้วไปจดทะเบียนสมรสกับชาย แบบนี้ถือว่าเป็นการสมรสกันตามกฎหมายมาฟ้องหย่าในศาลไทยได้

        การฟ้องหย่า ให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ โดย “มูลคดี” คือ ที่ที่เกิดต้นเหตุแห่งการฟ้องหย่า ไม่ใช่ที่ที่จดทะเบียนสมรส เช่น สามีภริยาไปเที่ยวภูเก็ตแล้วสามีทำร้ายภริยาจนภริยาต้องการหย่า แบบนี้มูลคดี คือ ภูเก็ต ฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น

        ฟ้องหย่า (นอกจากฟ้องหย่าแล้วจะเรียกร้องอะไรได้อีกบ้าง)
        1. ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพ ตามมาตรา 1526 , 1527 , 1528 , 1461
        2. ฟ้องเรียกค่าอุปการะลี้ยงดูบุตร (กรณีมีบุตร) / การใช้อำนาจปกครองบุตร มาตรา 1520 , 1522
        3. ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้นตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง หรือ เรียกค่าทดแทนจากชู้ ตามมาตรา 1523 วรรคสองได้
        4. ฟ้องแบ่งสินสมรส มาตรา 1533 , มาตรา 1535 และการชำระหนี้ (สินสมรส มาตรา 1474 , สินส่วนตัว มาตรา 1471) ได้

        ฟ้องหย่า จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?
        1. ใบสำคัญการสมรส
        2. ทะเบียนบ้านที่สามี-ภรรยา และบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกัน
        3. บัตรประจำตัวประชาชน สามี-ภรรยา
        4. สูติบัตรบุตรหรือทะเบียนบ้านของบุตรทุกคน (ถ้ามีบุตรด้วยกัน)
        5. หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ทั้งของสามีภรรยาและบุตร ถ้ามี)
        6. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่จะฟ้องหย่า ตามมาตรา 1516
        7. หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินสมรส เช่น โฉนดที่ดิน รายการจดทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น (เฉพาะกรณีที่มีประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสด้วย)
        8. หลักฐานเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ เช่น หลักฐานการศึกษา การส่งเสียเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ (เฉพาะคดีที่มีประเด็นเรื่องอำนาจปกครองบุตร)
        9. บันทึกข้อตกลงการหย่า (ถ้ามี)

        ก่อนฟ้องหย่า แนะนำให้ปรึกษาทนายความก่อนนะครับ
        1. เรียบเรียงและนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาปรึกษาทนายความก่อน
        2. รวบรวมพยานหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้องนำมาให้ทนายตรวจสอบก่อน
        3. หากทนายความพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเหตุที่สามารถฟ้องหย่าได้ ก็ตกลงเซ็นต์ใบแต่งทนายความและทำสัญญาจ้างว่าความ
        4. เพื่อให้ทนายทำหน้าที่จัดทำคำฟ้อง ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ

ปรึกษาเรื่องการ ฟ้องหย่า , ฟ้องชู้ , ฟ้องเรียกค่าทดแทน , ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร

 ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

4
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ให้บริการยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ทั้งแบบมีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมทั่วราชอาณาจักร

     ภายหลังจากผู้ตาย (เจ้ามรดก) ได้ถึงแก่ความตายแล้ว มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล หนี้ ภาระติดพันทั้งการจำนอง จำนำ หรือ ค้ำประกัน เป็นต้น จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม แต่ก็อาจเกิดปัญหาในการแบ่งมรดก เช่น ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือ ลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้

    กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า “ผู้จัดการมรดก“ แม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน

>> วิธียื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

      – ยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย ได้แก่ ศาลแพ่ง (กทม.), ศาลจังหวัด (ต่างจังหวัด) หากผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกนั้นตั้งอยู่ในเขตศาล

      – ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ได้

      – เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว กำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 45 – 60 วัน

      – ส่วนการไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบประชุมทางจอภาพอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม (Google Meet , Zoom Meeting , Line Meet) ได้

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ได้ทั่วราชอาณาจักร

ติดต่อเรา https://www.jetsaridlawyer.com

​​
​​

5


คดีฟ้องชู้ : คู่สมรสสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหาย ค่าทดแทนจาก ชายชู้ หรือ หญิงชู้ ได้โดยไม่ต้องหย่า

          มาตรา 1523 วรรคสอง “สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้”


สามารถแยกออกเป็น 2 กรณี คือ


- กรณีแรก ฟ้องชายชู้ คือ เป็นกรณีที่สามีสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้หรือชายอื่นในฐานะที่ชายชู้หรือชายอื่น นั้นล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาวได้เท่านั้น โดยไม่จำต้องฟ้องหย่าก่อน

- หลักการ คือ เพียงแค่มีชายชู้หรือชายอื่นล่วงเกินภรรยาไปในทำน้องชู้สาว แม้ภรรยาจะสมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกินก็ตาม เช่น แตะเนื้อต้องตัว จูบ จับต้องบริเวณที่ไม่ควร นอนกอดกัน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีการร่วมประเวณี สิทธิของสามีย่อมเกิดมีขึ้นทันทีขณะมีการล่วงเกินก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนได้แล้ว
- การล่วงเกินภรรยาไปในทำนองชู้สาวนั้น ไม่ว่าจะมีการร่วมประเวณีหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องทำโดยเปิดเผย ไม่ต้องประกาศให้บุคคลอื่นทั่วไปรู้ อาจจะเป็นการแอบคบหา และแอบมีความสัมพันธ์กันในที่ลับสามีก็มีสิทธิฟ้องได้
- ทั้งนี้รวมถึงการที่ภรรยาได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าคบหาหรือเป็นคนรักกับชายชู้ มีพฤติการณ์ที่เป็นที่รู้อยู่ทั่วไปว่าชายชู้คนดังกล่าวเป็นคนรักของตน สามีมีสิทธฟ้องได้เช่นเดียวกัน
- นอกจากนี้กรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ยินยอมหรือชายอื่นมาข่มขืนกระทำชำเราภรรยา ก็ถือว่าเป็นการล่วงเกินทางชู้สาว สามีเรียกค่าทดแทนจากผู้ข่มขืนภรรยาได้ เพราะฉะนั้นการไปข่มขืนหญิงที่มีสามีก็อาจจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนมากกว่าการไปข่มขืนผู้หญิงที่ยังไม่มีสามี เพราะการไปข่มขืนหญิงมีสามีนั้น จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวหญิงที่ถูกข่มขืนและสามีของหญิงนั้นด้วย อย่างไรก็ดีหากหญิงไม่มีพฤติกรรมทำนองชู้สาวกับชายอื่น แสดงว่าชายอื่นก็ไม่มีการกระทำทำนองชู้สาวกับหญิง ก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้นะครับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2936/2522 การนอนกอดกับภริยาของผู้อื่นเพราะรักใคร่กันในทางชู้สาว หรือกระทำถึงขั้นร่วมประเวณีกับภริยาผู้อื่น ก็ล้วนแต่ต้องถือว่าได้ล่วงเกินภริยาของเขาไปในทำนองชู้สาวทั้งสิ้น โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 529/2525 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาให้จำเลยที่ 2 เข้าไปหลับนอนในร้านของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไปพบก็มีการไปเจรจากันที่สถานีตำรวจโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 2 แต่ตกลงกันเรื่องค่าเสียหายและการเลี้ยงดูบุตรไม่ได้ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในทางชู้สาว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์อับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ศาลกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1151/2529 ภรรยามีชู้ศาลพิพากษาให้ภรรยาและชายชู้จ่ายค่าทดแทนให้สามี คนละ  100,000  บาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 320/2530 การล่วงเกินในทำนองชู้สาวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1523 วรรคสองมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย สิทธิเรียกค่าทดแทนนี้มิได้มีเงื่อนไขว่าสามีจะต้องฟ้องหย่าภริยาเสียก่อนจึงจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาวได้และค่าทดแทนในกรณีนี้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งที่ชายชู้ต้องรับผิด ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามฐานานุรูปแห่งผู้ต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งรวมถึงความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 454/2533 ภรรยามีชู้แต่สามีไม่เรียกค่าทดแทนจากภรรยาแต่เรียกค่าทดแทนจากชายชู้ที่มาร่วมเกินภรรยาในทำนองชู้สาวได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6804/2558 ชายชู้หรือชายที่ล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาวจะต้องทราบว่าหญิงนั้นมีสามีแล้ว แต่ยังจงใจละเมิดสิทธิสามีด้วยการเป็นชู้สาว สามารถกำหนดค่าทดแทนให้ชายชู้จ่ายให้แก่ สามีได้  500,000  บาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 2590/2561 สิทธิของสามีที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภรรยาใน ทำนองชู้สาวมีขึ้นตั้งแต่ยังไม่มีการหย่า แม้ต่อมาสามีจดทะเบียนหย่าภรรยาแล้วสามีก็ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทน ได้


- กรณีที่สอง ฟ้องหญิงชู้ (ฟ้องเมียน้อย) คือ ภรรยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ หรือ ภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ ส่วนการแสดงตนโดยเปิดเผยก็มีตัวอย่าง เช่น

- คบหากันอย่างเปิดเผย เพื่อนร่วมงานที่ทำงานหรือเพื่อนบ้านทราบดีว่าเป็นคนรักกัน
- แสดงความรักหรือแสดงความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวโดยเปิดเผยให้กับคนทั่วไปได้รับทราบ เช่น เดินจับมือ โอบกอดในที่สาธารณะ
- ลงรูปคู่ คลิปวีดีโอ ตามสื่อโซเชียลที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นคนรักกัน
- จัดงานพิธีมงคลสมรสกัน หรือ ออกงานพิธีการต่าง ๆ ร่วมกันอย่างเปิดเผย
หากมีพยานหลักฐานชัดเจน ภรรยาก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ได้ โดยไม่ต้องมีการฟ้องหย่าก่อน

คำพิพากษาฎีกาที่ 981/2535 ภรรยาหลวงเรียกค่าทดแทนจากภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6553/2537 โจทก์กับสามีโจทก์เป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหย่านอกจากได้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนแล้วยังต้องจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1515 อีกด้วย การหย่าจึงจะสมบูรณ์ เมื่อโจทก์กับสามีโจทก์ยังไม่มีการจดทะเบียนหย่า โจทก์กับสามีโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ดังนั้น แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ยอมหย่ากับสามีจำเลยจะไม่ดำเนิน คดีอาญากับโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผย ว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ในทำนองชู้สาวโจทก์ในฐานะภริยาจึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามนัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2542 การที่จำเลยกับป. สามีโจทก์ พักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันในท้องที่ย่านชุมนุมชน โดยเปิดเผย และมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาจนมีบุตรด้วยกัน โดยบุตรก็ใช้นามสกุล ของ ป. ด้วยนั้น เป็นพฤติการณ์ที่แสดงโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ป.ในทำนองชู้สาวแล้วโดยไม่จำเป็นต้องออกงานสังคมร่วมกับ ป. แต่อย่างใด ตามปกติภริยาย่อมต้องรักใคร่หวงแหนมิให้สามีไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ หญิงอื่นเว้นแต่จะมีเหตุผลพิเศษอย่างยิ่ง โจทก์มีความรักและหวงแหน ป. ผู้เป็นสามีถึงกับต้อง ย้ายจากจังหวัดนครศรีธรรมราชติดตามมาอยู่กับ ป. ที่จังหวัดจันทบุรีและยังไปร้องเรียน ต่อผู้บังคับบัญชา ป.ให้ว่ากล่าวตักเตือน ป.ให้ยุติความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยด้วย ไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลหรือพฤติการณ์พิเศษอย่างใดที่โจทก์มีความจำเป็นต้องยินยอมให้จำเลยมาเป็นภริยาของ ป. อีกคนหนึ่ง เมื่อจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับ ป. ในทำนองชู้สาวโดยโจทก์มิได้ยินยอมเช่นนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 4130/2548 ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ภริยาชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวโดยมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาจะต้องเกิดความเสียหายอย่างใดหรือจะต้องเป็นภริยาที่อยู่กินกับสามีและอุปการะเลี้ยงดูกัน หรือต้องไม่มีคดีฟ้องหย่ากันอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 4818/2551 ภรรยาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผย และไม่ฟ้องหย่าสามีก็เรียกค่าทดแทนได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 7170/2554 ภรรยามีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น ซึ่งแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ โดยไม่ต้องฟ้องหย่า

คำพิพากษาฎีกาที่ 10842/2559 ทั้งก่อนและหลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีโจทก์เป็นภริยาแล้ว จำเลยยังติดต่อคบหาสมาคมกับ ท. และติดตาม ท. มาถึงสถานที่ทำงาน อยู่ในห้องทำงานของ ท. และมีเพศสัมพันธ์กันซึ่งมิใช่ที่รโหฐาน ปกปิดมิดชิดไม่มีผู้ใดล่วงรู้ เมื่อคนงานและเพื่อนร่วมงาน ท. ทราบว่า ท. มีภริยาแล้วและพบเห็นจำเลยกับ ท. มาที่บริษัท โดยจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยกับ ท. มีความสัมพันธ์กันเป็นพิเศษ หลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีภริยาแล้ว ย่อมทำให้วิญญูชนทั่วไปมีเหตุอันควรเชื่อและเข้าใจว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับ ท. มากกว่าที่จะรู้จักกันในฐานะลูกค้าหรือบุคคลธรรมดาที่รู้จักกันทั่วไป ข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ท. สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แล้ว พฤติการณ์แห่งคดีที่ฟังยุติมาข้างต้นมิอาจแปลความว่า การกระทำของจำเลยมีลักษณะลักลอบมีเพศสัมพันธ์กับ ท. และพยายามปกปิดการกระทำให้ทราบกันตามลำพังระหว่างจำเลยกับ ท.

คำพิพากษาฎีกาที่ 964/2562 คำฟ้องโจทก์ขอเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้” จากพฤติการณ์ที่สามีโจทก์ไปพบจำเลยที่บ้านเช่าของจำเลยในช่วงเวลากลางคืนบ่อยครั้ง โดยขับรถมาเองหรือมาพร้อมกับจำเลยก็ตาม บางครั้งก็นอนพักค้างคืนที่บ้านจำเลยและกลับออกมาในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น อีกทั้งสามีโจทก์ยังมีกุญแจที่ใช้เปิดประตูเข้าออกบ้านจำเลยได้เอง แม้ในยามกลางดึกซึ่งเป็นเวลาที่จำเลยเข้านอนแล้วก็สามารถเข้าบ้านจำเลยโดยไม่ต้องรอให้จำเลยเปิดประตูบ้านให้ อันแสดงให้เห็นว่าจำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่าที่จะเป็นเพียงนายจ้างหรือลูกจ้างกันตามปกติธรรมดา การที่จำเลยเป็นหญิงที่แต่งงานมีสามีแล้ว ยินยอมให้สามีโจทก์ซึ่งเป็นชายอื่นเข้าออกบ้านจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง รวมทั้งให้มานอนค้างคืนที่บ้านแล้วออกจากบ้านไปช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น โดยบางครั้งมีการแต่งกายออกไปทำงานพร้อมกัน ย่อมทำให้เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นที่พบเห็นถึงพฤติกรรมระหว่างจำเลยกับสามีโจทก์เข้าใจได้ว่า จำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการที่จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง


- ในการฟ้องเรียกค่าทดแทนเพราะเหตุที่มีการล่วงเกินทางประเวณีนี้ ถ้าสามีหรือภรรยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายกระทำการตามมาตรา 1523 วรรคสองนั้น จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการมีชู้หรือมีภรรยาน้อย เว้นแต่จะเป็นเหตุต่อเนื่องตลอดมา หากมีหลักฐานการเป็นชู้ของคู่สมรส โปรดรีบติดต่อสำนักงานกฎหมาย ปรึกษาทนายความ โดยเร็วที่สุด

คำพิพากษาฎีกาที่ 6851/2537 ภรรยาไม่ได้ยินยอมให้สามีมีภรรยาน้อยจึงเรียกค่าทดแทนจาก ภรรยาน้อยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1620/2538 ภรรยาน้อยแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีใน ทำนองชู้สาวมีอยู่ตลอดมาจนถึงวันฟ้องเป็นเหตุต่อเนื่องไม่ขาดอายุความ

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

6
สำนักงานกฎหมาย เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ บริการรับว่าความ ดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา ต่อสู้คดี ที่ปรึกษากฎหมาย สืบทรัพย์ บังคับคดี เจรจาไกล่เกลี่ย ดำเนินการในคดีล้มละลาย หรือ จัดการมรดก
- ฟ้องหย่า
- ฟ้องชู้
- ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
- ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
โดยมีทีมทนายความพร้อมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ทางด้านกฎหมายทั่วประเทศ
ติดต่อ ทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ปรึกษาคดีฟรีทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานทนายความ โทร. 087-999-3841

7
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ปรึกษาคดีฟรี)

          !!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายความมืออาชีพยินดีช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

          เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ทนายความ) บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว ฟ้องหย่า ฟ้องชู้ คดีมรดก ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับจดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841


8
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ทนายความ)

   บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว คดีมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับ จดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

   การดำเนินคดีแพ่ง คือ
   คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์หรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ทางศาลคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการฟ้องก็เพื่อให้จำเลยชำระเงิน หรือ ส่งมอบทรัพย์สิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษจำคุกดังเช่นคดีอาญา. คดีแพ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิ์ทางศาล เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์หากไม่มีผู้คัดค้าน คำร้องนั้นเข้ามาถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

   การดำเนินคดีอาญา คือ
   กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับความผิดและซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติต่างๆซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นซึ่งมีโทษทางอาญาหรือที่พูดกันว่าฟ้องให้ติดคุก หรือ รับโทษผู้อื่นในทางอาญาคดียาเป็นคดีที่เมื่อเกิดขึ้นจะกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของสาธารณชนในบ้านเมือง เช่น มีการฆ่าคนตายเกิดขึ้น มีการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาทขึ้น มีการชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์กันเกิดขึ้น ตัวอย่างคดีที่พบบ่อย ได้แก่คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีฆ่าคนตาย คดีประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คดีรับของโจร เป็นต้น

   !!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีช่วยเหลือให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841


หน้า: [1]