โควิดคลี่คลาย 'ส.อ.ท.' เผยความต้องการใช้เหล็กในประเทศ 8 ด.โต 18%

โควิดคลี่คลาย 'ส.อ.ท.' เผยความต้องการใช้เหล็กในประเทศ 8 ด.โต 18%

  • 0 ตอบ
  • 69 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยปริมาณความต้องการใช้เหล็กในประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 64 (ม.ค.-ส.ค.64) เพิ่มขึ้น 18% เป็นการเพิ่มขึ้นของการผลิตในประเทศ 14% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 23% ซึ่งเชื่อว่านโยบายภาครัฐจะช่วยให้การใช้สินค้าเหล็กจากผู้ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในโครงการภาครัฐปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น


โดยในปี 2564 สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น โดยสมาคมเหล็กโลก (World steel Association) คาดการณ์ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูป (Finished steel products) ของโลกมีแนวโน้มขยายตัว 5.8% ปริมาณอยู่ที่ 1,874 ล้านตัน โดยกลุ่มสหภาพยุโรป (27 ประเทศและสหราชอาณาจักร) คาดการณ์ความต้องการใช้เหล็กสำเร็จรูปขยายตัวอยู่ที่ 10.2% กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) คาดการณ์ความต้องการใช้เหล็กสำเร็จรูปขยายตัว 3.4% และภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย คาดการณ์ความต้องการใช้เหล็กสำเร็จรูปขยายตัว 4.7% และจีน คาดการณ์ความต้องการใช้เหล็กสำเร็จรูปขยายตัว 3.0% เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากสามารถมีการผลิตวัคซีนในการป้องกันได้ เป็นผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น ภาคการผลิตของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มและทิศทางที่ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปมีโอกาสปรับตัวดีขึ้น

นอกจากนี้สถานการณ์ราคาสินค้าเหล็กในภูมิภาคเอเชียหลายประเภท มีแนวโน้มปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือน ก.ย.64 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า เช่น สินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นราคา 980 USD/ตัน ปรับลดลง 0.7% เหล็กลวดราคา 831 USD/ตัน ปรับลดลง 2.8% จากข้อมูลดังกล่าวคาดว่าสถาณการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลกน่าจะเลยจุดสูงสุดมาแล้ว และน่าจะกลับสู่สถานการณ์ปกติในไม่ช้านี้ แต่คาดว่าจะไม่ต่ำลงมากเหมือนก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากประเทศจีนมีการควบคุมการผลิต และมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น

สำหรับประเทศไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็ก 13.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 18% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยคาดว่าจะมีปริมาณความต้องการใช้เหล็กทั้งปีราว 18.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2563 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น 19% และผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น 10% แต่ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยจะพบว่าปริมาณนำเข้ายังคงมีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการผลิตในประเทศ

โดยจากสถานการณ์ที่ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในปี 2563 และกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ การการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งการปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กภายใน และการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาสินค้านำเข้า และหันมาใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ จะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยเร่งการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้เร็วขึ้นได้ มาตรการที่สำคัญของภาครัฐที่สนับสนุนการใช้สินค้าในประเทศคือ นโยบาย Made in Thailand โดยมีข้อมูล ณ เดือน ส.ค.64 มีข้อมูลการตรวจสอบตามรายชื่อการรับงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ของกรมบัญชีกลาง พบว่ามีผู้ที่ลงทะเบียน Made in Thailand ถึง 841 กิจการที่ได้รับงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

'กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท.หวังว่าภาครัฐจะพิจารณาการขยายขอบข่ายของมาตรการ ให้สามารถครอบคลุมงานโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP จะสามารถทำให้มีผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้าในประเทศได้รับประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐอีกเป็นจำนวนมาก'

ADVERTISEMENT


ขณะเดียวกันสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 26 ส.ค.64 โดยมีอำนาจหน้าที่ ศึกษา เสนอแนะ แนวทางในการแก้ปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน และการใช้อัตรากำลังการผลิตต่ำ แนวทางปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็ก แผนงาน/โครงการ พัฒนา และขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมเหล็กมีความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งได้มีการประชุมครั้งที่ 1 แล้วเมื่อวันที่ 23 ก.ย.64 มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้อุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศฟื้นตัว และสามารถใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่ได้มากขึ้น จากปัจจุบันที่ใช้กำลังการผลิตเพียง 34% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการใช้กำลังการผลิตเหล็กเฉลี่ยของโลกในปี 2563 ที่ 74% รวมถึงสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กในปัจจุบัน ไปสู่ยุคอุตสาหกรรมเหล็ก 4.0 เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างยั่งยืน