สอท. ขานรับ เปิดปท.ดึงเชื่อมั่นลงทุน

สอท. ขานรับ เปิดปท.ดึงเชื่อมั่นลงทุน

  • 0 ตอบ
  • 60 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


"ส.อ.ท."หนุนแผน"คลายล็อก-เปิดประเทศ" ชี้ทำความเชื่อมั่นนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน "อนุทิน"ขานรับเปิดประเทศ ชี้เปิดได้ก็ปิดได้หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ขณะที่"ผบ.ตร."สั่งเตรียมพร้อมรับชาวต่างชาติเข้าประเทศไทย โดยเฉพาะความปลอดภัยเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน

จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับความคืบหน้า และความสำเร็จในการฉีดวัคซันป้องกันโควิด-19 รวมถึงได้มีการสั่งการไปยัง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) และกระทรวงสาธารณสุข ให้ร่วมพิจารณา ในกรณีประเทศไทยจะเริ่มเปิดรับการเดินทางเข้าประเทศไทย "เปิดประเทศ" โดยไม่ต้องกักตัว สําหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว และเดินทางเข้าประเทศไทยโดยทางอากาศมาจากประเทศที่เป็นประเทศความเสี่ยงตํ่า ซึ่งมีการกำหนด "เปิดประเทศ" เอาไว้ที่อย่างน้อย 10 ประเทศ ส่วนผู้ที่มาจากประเทศที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อประเทศความเสี่ยงต่ำ ก็ยังสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ แต่ยังต้องมีการกักตัวตามเงื่อนไขและมาตรการอื่นๆ ตามที่ ศบค. ได้กำหนด โดยจะเริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย.64 ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 ต.ค.64 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย.64 อยู่ที่ระดับ 79.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 76.8 ในเดือน ส.ค.64 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือน เม.ย.64 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มลดลง ส่งผลให้ภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พร้อมทั้งอนุญาตให้กิจการบางประเภทรวมถึงห้างสรรพสินค้า สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางดีขึ้น นอกจากนี้จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรมลดลงจากการใช้มาตรการ Bubble and Seal ขณะที่ภาคการผลิตขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบจากต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมันและค่าขนส่ง รวมถึงปัญหาน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและทำให้การขนส่งล่าช้า นอกจากนี้ ปัญหาความล่าช้าของเรือสินค้าทำให้การส่งออกสินค้าไม่ได้ตามกำหนด ขณะที่ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือที่ทรงตัวในระดับสูง รวมถึงปัญหาขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่คลี่คลาย

สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 93.0 จากระดับ 90.9 ในเดือนสิงหาคม 2564 โดยผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน และการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของภาครัฐ รวมทั้งนโยบายการเปิดประเทศจะช่วยให้เศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวค่อย ๆ ฟื้นตัว นอกจากนี้ผู้ประกอบการเห็นว่าภาครัฐควรเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

โดยมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ 1.ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมรวมทั้งประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าและวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างชาติ 2.ขอให้ภาครัฐดูแลราคาพลังงาน และราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดภาระด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ 3.ขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ 4.ขอให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศและ เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ