'บีโอไอ' เร่งยกระดับผู้ประกอบการสู่ Industry 4.0 

'บีโอไอ' เร่งยกระดับผู้ประกอบการสู่ Industry 4.0 

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


บอร์ดบีโอไออนุมัติมาตรการสนับสนุนการยกระดับอุตสาหกรรมและบริการให้เป็นระบบอัจฉริยะ และก้าวไปสู่ Industry 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมขยายระยะเวลามาตรการหนุน SMEs เพื่อเร่งสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการยกระดับไปสู่ Industry 4.0 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามเกณฑ์ที่กำหนดในด้านต่างๆ เช่น ระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Automation and Network Technology) การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฏิบัติการที่ชาญฉลาด (Smart Operation) หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิตและการบริหารองค์กร (Digital Technology in Production & Enterprise Processes) เป็นต้น โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี สัดส่วนร้อยละ 100 ของเงินลงทุนในการปรับปรุง ทั้งนี้ต้องเสนอแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565 และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม

“จากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคอุตสาหกรรมไทยกว่าร้อยละ 70 ยังอยู่ในระดับอุตสาหกรรม 2.0 หรือต่ำกว่า ระดับอุตสาหกรรม 3.0 มีเพียงร้อยละ 28 บีโอไอจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการสนับสนุนการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งต้องมีการปรับปรุงในหลายมิติไปพร้อมๆ กัน ทั้งระบบอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะ และเทคโนโลยีดิจิทัล และใช้เงินลงทุนสูง มาตรการใหม่นี้จะช่วยเสริมมาตรการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่ระบบอัตโนมัติและมาตรการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ที่มีอยู่เดิม ”

ขณะเดียวกันที่ประชุมอนุมัติขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นสิ้นสุดวันทำการสุดท้ายของปี 2565 จากเดิมมาตรการจะสิ้นสุดในวันทำการสุดท้ายของปี 2564 โดยมาตรการพิเศษสำหรับ SMEs กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าจากเกณฑ์ปกติ และผ่อนปรนเงื่อนไขต่างๆ รวมถึงการให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) เพื่อกระตุ้นให้ SMEs พัฒนาศักยภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งจะช่วยให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ ตลอดจนส่งเสริม SMEs ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน