เผยผลประชุมเอเปคปี 64 ไทยชูประเด็นใช้ดิจิทัลฟื้นฟูเศรษฐกิจ หนุน SME รอบด้าน

เผยผลประชุมเอเปคปี 64 ไทยชูประเด็นใช้ดิจิทัลฟื้นฟูเศรษฐกิจ หนุน SME รอบด้าน

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


บอร์ด สสว. เผยผลการประชุมเอเปค ครั้งที่ 27 ชูประเด็นใช้ดิจิทัลเพื่อการซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ เน้นส่งเสริม SME รอบด้าน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะรองประธานกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 27 ณ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564

โดยในปีนี้เขตเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ได้มีการหารือกันใน 2 ประเด็นหลัก เรื่องแรก การใช้ดิจิทัลเพื่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ และเรื่องที่สอง การฟื้นฟูผู้ประกอบการด้วยการส่งเสริมอย่างครอบคลุมและการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี

ในประเด็นการใช้ดิจิทัล ได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) กรณีศึกษา การให้บริการการรับซื้อเอกสารการค้าออนไลน์ (Digital-Factoring) ซึ่งเป็นไปตามหลักการใช้โครงสร้างการทำงานแบบเปิด ซึ่งกำหนดให้มีผู้ใช้งานได้จากหลายภาคส่วน (open architecture) โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางด้วยผลตอบแทนที่สมดุล (customer centric with balanced incentives) ใช้เทคโนโลยีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยง ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม และคลายความกังวลที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ระบบการรับซื้อเอกสารการค้าที่มีอยู่เดิม

โดยการร่วมกันพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลสำหรับธุรกรรมการรับซื้อเอกสารการค้าออนไลน์และความร่วมมือจากหลายภาคส่วน จะช่วยให้ MSME ไทยเติบโตได้ตามศักยภาพและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นแรงส่งให้ MSME รายย่อยได้เปิดรับนวัตกรรมใหม่ ๆ และพัฒนาตนเองเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอนาคต

สำหรับประเด็นการฟื้นฟูผู้ประกอบการด้วยการส่งเสริมอย่างครอบคลุมและการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี นายสุพัฒนพงษ์ ได้หยิบยกมาตรการต่างๆ ที่รองรับการส่งเสริม MSME ทุกขนาดอย่างทั่วถึงรวมทั้งผู้ประกอบการนอกระบบ และประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาทิ โครงการธงฟ้า โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือ Thai SME GP ซึ่งมาตรการทั้งหมดดังกล่าวมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และกำลังซื้อทั้งจากภาครัฐและเอกชน

เผยผลประชุมเอเปคปี 64 ไทยชูประเด็นใช้ดิจิทัลฟื้นฟูเศรษฐกิจ หนุน SME รอบด้าน
เผยผลประชุมเอเปคปี 64 ไทยชูประเด็นใช้ดิจิทัลฟื้นฟูเศรษฐกิจ หนุน SME รอบด้าน
สำหรับผลลัพธ์ของการประชุมในครั้งนี้ คือ ถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 27 ซึ่งมีเนื้อหาเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและธุรกิจสตาร์ทอัพในการเข้าสู่ระบบการค้าภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศในการเข้าถึงตลาดนานาชาติและห่วงโซ่อุปทาน โดยการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่เปิดกว้างและทั่วถึง รวมถึงสภาพแวดล้อมการลงทุน ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การใช้ดิจิทัลเพื่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพและการฟื้นฟูผู้ประกอบการด้วยการส่งเสริมอย่างครอบคลุมและการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี

นอกจากนี้ ร่างถ้อยแถลงดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่างประเทศ กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 7 ซึ่งสนับสนุน ให้ประเทศไทยมีระบบนิเวศที่เหมาะสมต่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยพัฒนาให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีศักยภาพสูง เข้าถึงแหล่งทุน องค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและมูลค่าของสินค้าและบริการ

นอกจากนี้ ร่างถ้อยแถลงฯ ดังกล่าวยังจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการดำเนินการภายใต้การยกระดับวาระการปฏิรูป โครงสร้างเอเปค (EAASR) ซึ่งมุ่งเน้นการสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อกระตุ้นการเติบโต เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ตลอดจนส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ผ่านการเสริมสร้าง ความร่วมมือระหว่างเวทีต่าง ๆ        

นายสุพัฒนพงษ์ ยังได้เชิญชวนให้รัฐมนตรีเอเปคเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 ในเดือนกันยายนปีหน้า ณ จังหวัดภูเก็ต ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพโดยหัวข้อหลักของการประชุมคือการฟื้นฟูผู้ประกอบการ MSME ในภูมิภาคเอเปคอย่างครอบคลุมผ่านระบบนิเวศที่มีผลกระทบสูง (Inclusive Recovery of APEC SMEs through high impact Ecosystem) ซึ่งจะยังคงเน้นย้ำในการฟื้นฟูผู้ประกอบการในช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 อย่างทั่งถึง และครอบคลุม เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป