นักเศรษฐศาสตร์ ttb ชี้ 'รวมหนี้' ได้ มากกว่า เสีย

นักเศรษฐศาสตร์ ttb ชี้ 'รวมหนี้' ได้ มากกว่า เสีย

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


“วิกฤติรอบนี้แตกต่างจากวิกฤติปี 2540 แม้การหดตัวของจีดีพีจะลงไม่ลึกเท่ารอบก่อน แต่วิกฤติรอบที่แล้วจีดีพีสามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ในปีถัดไป ขณะที่รอบนี้เราคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีก 3 ปี กว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมาได้

นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) ธนาคารทหารไทยธนชาต ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “กรุงเทพธุรกิจ” เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 35 โดยเท้าความถึงวิกฤติเศรษฐกิจครั้งล่าสุดที่มีตัวการมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งกินระยะเวลามาแล้วกว่า 1 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2563 โดยวิกฤติในครั้งนี้ประชาชนรายย่อย ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด และเป็นกลุ่มที่มีความไม่แน่นอนสูง แตกต่างจากปี 2540 ที่บริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเป็นผู้ที่ถูกกระทบจากเศรษฐกิจเป็นหลัก

ทั้งนี้ วิกฤติที่ลากยาวต่อเนื่องส่งผลให้ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจฯ ประเมินจีดีพีปี 2564 จะเติบโตเพียง 0.3% เท่านั้น แม้ครึ่งแรกของปีที่ผ่านมาเติบโต 2% แต่คาดว่าในช่วงครึ่งหลังที่เหลือเศรษฐกิจมีความเสี่ยงจะหดตัวราว 1.4% จากผลกระทบของการระบาดระลอกที่ 3 และการล็อกดาวน์เศรษฐกิจ เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่ประเทศไทยสามารถกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้บางส่วน ขณะที่ในปี 2565 คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.2% และปี 2566 จะเติบโต 3% สอดคล้องกับมุมมองที่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจฯ ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องใช้ระยะเวลาอีกราว 3 ปี จึงจะสามารถกลับมาเติบโตได้เต็มศักยภาพ

ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากโควิด-19 สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่อยังอยู่ในระดับสูง “นริศ” กลับมองว่า ปัญหาที่ประเทศไทยควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ “หนี้” ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่เขาให้น้ำหนักและกังวลมากที่สุด เพราะมองว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิด “วิกฤติหนี้ครัวเรือน” ดังนั้น ปัญหาหนี้ควรต้องได้รับการแก้ไขไปพร้อมกับโควิด-19 โดยปัจจุบันระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยพุ่งแตะ 90.5% หรือคิดเป็นภาระหนี้ราว 14.13 ล้านล้านบาท จากระดับ 80% ในช่วงก่อนเกิดโควิด-19



หากพิจารณาเฉพาะ 5 ไตรมาสที่ผ่านมา (ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ปี 2563 ถึง 30 มิถุนายน ปี 2564) พบว่าหนี้ครัวเรือนของไทยมีการอัตราการเติบโตที่สูงมากเฉลี่ย 4.7% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจีดีพีที่เป็นตัวหาร หดตัวลงแรงกว่าลบ 6.1% ในปี 2563 ซึ่งผลกระทบของหนี้ครัวเรือนไม่เพียงแต่กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน แต่ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร (Non-bank) อีกด้วย

ทั้งนี้ ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยสูงกว่าระดับเหมาะสมที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ประเมินเอาไว้ที่ 85% ซึ่งเป็นระดับเหมาะสมในช่วงวิกฤติโควิด-19 แม้ว่าบางประเทศในภูมิภาคเอเชียจะเผชิญปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงเช่นเดียวกัน เช่น เกาหลีใต้ 106% และมาเลเซีย 93% จากผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัวลง และประชาชนมีปัญหาด้านรายได้ แต่โครงสร้างหนี้ครัวเรือนของไทยค่อนข้างเปราะบาง

กล่าวคือสัดส่วนหนี้ประมาณ 34% เป็นหนี้ที่ใช้ในการบริโภคซึ่งไม่มีหลักประกัน ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต และหนี้ส่วนบุคคล (Personal Loan) คิดเป็นเป็นมูลหนี้กว่า 4.86 ล้านบ้านบาท หรือเทียบเท่า 1 ใน 3 ของจีดีพีปี 2563 อีกทั้งหนี้ประเภทดังกล่าวยังสูงกว่าประเทศอื่นโดยเปรียบเทียบ เช่น เกาหลีใต้ 20% มาเลเซีย 20% และสหรัฐ 19%

“ในแง่หนึ่งเราเข้าใจได้ว่าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันที่เพิ่มขึ้นสูง เป็นผลจากที่ประชาชนไม่มีทางเลือก เมื่อรายได้หายไปในช่วงโควิด-19 ก็ต้องหันมาพึ่งพาสภาพคล่องจากช่องทางอื่น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมกับหนี้นอกระบบที่เราไม่เห็นข้อมูล ล่าสุด ในไตรมาส 2 ปี 2564 หนี้ที่ไม่มีหลักประกันเพิ่มขึ้น 6.5% สวนทางกับหนี้ที่มีหลักประกัน เช่น บ้าน และรถ ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับภาวะปกติอยู่ที่ 3%”


อย่างไรก็ดี การป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติหนี้มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับประเทศไทย โดยผลการศึกษาของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) พบว่าหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นทุก 10% จะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจหายไป 1% เพราะเมื่อประชาชนมีภาระหนี้สูงขึ้น จะส่งผลให้ความสามารถในการบริโภคลดลง สำหรับประเทศไทยที่หนี้ครัวเรือนได้ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว 10% หากคำนวณผลต่อเศรษฐกิจที่จะหายไป 1% จากจีดีพีปี 2563 ที่ 15.7 ล้านล้านบาท จะส่งผลให้จีดีพีปี 2564 หายไปราว 1.5 แสนล้านบาท

นอกเหนือจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความสามารถในการบริโภคของครัวเรือนที่ลดลงแล้ว วิกฤติหนี้ครัวเรือนในไทยจะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ หากประชาชนไม่สามารถชำระหนี้ได้พร้อมกันเป็นวงกว้าง และเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าว ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพักหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในยามที่ความสามารถในการชำระคืนหนี้ลดลง รวมถึงปรับลดเพดานดอกเบี้ยเพื่อให้ประชาชนที่ต้องการสภาพคล่องมีภาระที่น้อยลง

ในการนี้ “นริศ” ชี้ว่า วิธีการที่จะช่วยลูกหนี้ลดต้นทุนดอกเบี้ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ “การรวมหนี้” หรือ Debt Consolidation ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญที่ระบบธนาคารพาณิชย์ควรดำเนินการเพื่อช่วยเหลือลูกค้า เช่น นาย ก มีหนี้บัตรเครดิต 1 แสนบาท หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรกดเงินสด 3 แสนบาท และหนี้บ้านที่ผ่อนชำระมาแล้วครึ่งทาง การรวมหนี้จะปรับลดวงเงินหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงเพื่อนำมาลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า

ดังนั้น ในกรณีของนาย ก ภายหลังการรวมหนี้จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยต่อเดือนลดลงจาก 20% ของหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน เหลือ 5% ของหนี้ที่มีหลักประกัน นอกจากนี้ วิธีการรวมหนี้ยังสามารถขยายไปสู่ความช่วยเหลือลูกหนี้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การยืดหนี้ได้อีกด้วย ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะช่วยลดภาระในการผ่อนต่อเดือนของลูกหนี้ในช่วงที่ยังลำบาก และสนับสนุนให้ลูกหนี้สามารถดำรงชีพต่อไปได้

“อีกมุมหนึ่ง การช่วยเหลือลูกหนี้จะต้องทำควบคู่กับการดูแลเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม (Moral Hazard) เช่น ลูกหนี้ที่ยังมีความสามารถในการชำระคืนปกติ กลับเข้ามาร่วมโครงการช่วยเหลือ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นต้นทุนต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น การช่วยเหลือลูกหนี้จะต้องทำให้ตรงจุด หากป่วยมากต้องได้ยาแรง แต่หากป่วยน้อยจะต้องได้ยาที่แรงน้อยลงมา”

สำหรับอุปสรรคที่ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการรวมหนี้ได้สำเร็จ ได้แก่ 1. ความเข้าใจของประชาชน (Public Awareness) รวมถึงความรู้และความเข้าใจด้านการเงิน (Financial Literacy) เช่น หากรวมหนี้ที่ไม่มีหลักประกันกับหนี้ที่มีหลักประกันแล้ว สินทรัพย์อย่างบ้าน หรือรถ จะโดนยึด เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการรวมหนี้เป็นวิธีช่วยเหลือลูกค้าให้กลับมามีความสามารถในการชำระหนี้ได้ตามปกติ และ 2. การมีเจ้าหนี้หลายราย (Multi-creditor) ส่งผลให้เกิดปัญหาในการประสานงาน (Coordination Failure)

เมื่อมองข้ามไปในโลกหลังโควิด-19 “นริศ” กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายอยู่หลายด้าน รวมถึงโคงสร้างเศรษฐกิจยังมีหลายจุดที่อ่อนแอ โดยเฉพาะภาค SMEs ที่แม้จะจบวิกฤติครั้งนี้ แต่ความสามารถในการแข่งขันก็ยังไม่สามารถเทียบเท่ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ดังนั้น ภาครัฐจะต้องสร้างแต้มต่อให้ SMEs เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่องไปในอนาคตได้ เพราะกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สะท้อนจากสัดส่วนการจ้างงานที่อยู่ในระดับสูง 46% เมื่อเทียบกับแรงงานไทยทั้งหมด 38 ล้านคน ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งมีสัดส่วนการจ้างงานเพียง 13% ของแรงงานทั้งหมดเท่านั้น

นอกจากนี้ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและเพื่อเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจไทย ภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่มงบลงทุนด้านดิจิทัลให้มากขึ้น จากเดิมที่งบลงทุนส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาถูกใช้ไปกับโครงการก่อสร้างสูงกว่า 98.7% ส่วนงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอยู่ที่ 1.3% เท่านั้น อ้างอิงจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 12 แม้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมจะกระตุ้นการจ้างงานและการใช้จ่ายของครัวเรือน แต่การลงทุนด้านดิจิทัลจะทำให้การชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยยกตัวอย่างความสำเร็จของการลงทุนด้านดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา เช่น บริการพร้อมเพย์ และบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (NDID) ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมในการใช้จ่ายของประชาชนเปลี่ยนไปอย่างมาก และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างที่เราไม่เคยคาดคิด

สุดท้ายนี้ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ และจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง “นริศ” กล่าวว่า แม้วิกฤติการแพร่ระบาดในครั้งนี้จะจบลง แต่ทุกคนควรจะต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโควิด-19 จากเดิมที่มองโรคติดเชื้อดังกล่าวในฐานะ “การระบาดใหญ่” (Pandemic) ที่มีวันหายไป มาเป็น “โรคประจำถิ่น” (Endemic) ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่การดำเนินชีวิตต่อจากนี้จะต้องอยู่ร่วมกันโรคดังกล่าวที่ไม่ได้หายไปให้ได้ ในการนี้ รัฐบาลมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการบริหารจัดการความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจถูกล็อกดาวน์อีกครั้ง

“ผมไม่สามารถตอบได้ว่าหลังจากนี้เราจะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิมได้อีกหรือไม่ จะไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไหร่ แต่สามารถตอบได้ว่าการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาปกติ คงไม่สามารถกลับมาได้เร็วๆ นี้ เพราะเราคงไม่สามารถคาดหวังให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางกลับเข้ามาในประเทศปีละ 41 ล้านคนได้เหมือนเดิม อย่างน้อยก็ในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้”