'4 มิติ' ที่ธุรกิจต้องปรับตัว (ไปแล้ว)

'4 มิติ' ที่ธุรกิจต้องปรับตัว (ไปแล้ว)

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


'4 มิติ' ที่ธุรกิจต้องปรับตัว (ไปแล้ว)
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2021, 08:42:23 am »
"4 มิติสำคัญ" มิใช่เป็นทางเลือกสำหรับให้ธุรกิจพิจารณา แต่เป็นทางรอดของทุกธุรกิจที่ต้องผันตัวเองเข้าสู่วิถีปกติใหม่ !

วันนี้ ! หลายธุรกิจประเมินว่าสถานการณ์โควิดในประเทศไทยได้ผ่านพ้นจุดที่วิกฤติสูงสุดไปแล้ว และกำลังเตรียมสรรพกำลังและทรัพยากรในการเดินหน้า หลังจากที่ชะลอคันเร่งมาร่วม 18 เดือนก่อนหน้านี้

มิใช่ว่า การระบาดของโควิดจะหมดไป แต่ภาคธุรกิจประเมินว่า ยังไงก็ตาม จะไม่มีการล็อกดาวน์หรือปิดประเทศอีกต่อไป เพราะเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการเคลื่อนตัว ในขณะที่การสู้รบกับโควิดก็ยังต้องดำเนินต่อไป เป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่วิถีปกติใหม่ของการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การปรับตัวของภาคธุรกิจต่อการดำเนินงานในวิถีปกติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีอยู่ 4 มิติสำคัญ ได้แก่ การดูแลสุขภาพองค์กร ความต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทาน การตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล



มิติการดูแลสุขภาพองค์กร ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรและระบบงาน สถานการณ์โควิด ได้ทำให้กิจการต้องหยิบยกประเด็นด้านสุขภาพขึ้นมาให้น้ำหนักความสำคัญเป็นอันดับแรก มีการนำมาตรการดูแลพนักงาน ทั้งในเชิงป้องกันการติดเชื้อและสัมผัสโรค และในเชิงคัดกรองและแยกผู้ติดเชื้อออกจากสถานประกอบการ มีการทบทวนและปรับระบบงานทางธุรกิจให้สอดรับกับสถานการณ์ เช่น การดูแลกระแสเงินสดในกิจการให้มีเพียงพอต่อการดำเนินงานในช่วงสถานการณ์ การปรับรูปแบบการทำงานแบบผสมผสานระหว่างการทำงานในสำนักงานและการทำงานนอกสถานที่ตั้ง การเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารระยะไกลในแบบที่ไม่จำเป็นต้องพบปะซึ่งหน้า ฯลฯ

มิติความต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทาน สถานการณ์โควิด ได้ก่อให้เกิดความชะงักงันในสายอุปทาน การขาดแคลนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต และเกิดความล่าช้าในการส่งมอบ เนื่องมาจากผู้ส่งมอบและผู้ขนส่งไม่สามารถดำเนินงานได้ตามปกติ ทำให้กิจการต้องมีการปรับแผนการผลิตและวางแผนการบริหารจัดการด้านอุปทานใหม่ มีการปรับปรุงข้อตกลงหรือทุเลาบางข้อสัญญากับผู้ส่งมอบ การเพิ่มทางเลือกในการสรรหาวัตถุดิบทดแทน การทบทวนแผนการบริหารสินค้าคงคลังให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ฯลฯ


มิติการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สถานการณ์โควิด ได้สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้กิจการต้องเรียนรู้รูปแบบหรือพฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากวิถีปกติเดิม และปรับช่องทางการเข้าถึงลูกค้า การขาย การบริการ และการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น การเพิ่มช่องทางทำธุรกรรมระยะไกลกับลูกค้า การให้บริการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การให้บริการจัดส่งสินค้าแบบหน้าประตูถึงหน้าประตู (Door-to-Door Delivery) ฯลฯ

มิติความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สถานการณ์โควิด ได้กลายเป็นตัวเร่งเร้าให้ภาคธุรกิจ ต้องหันมาใช้เครื่องมือดิจิทัล เป็นช่องทางในการติดต่อ ทำธุรกรรม เป็นช่องทางหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในแง่ของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรภายในด้วยกันเอง ระหว่างกิจการกับลูกค้าและคู่ค้าภายนอก หรือแม้กระทั่งกับหน่วยงานภาครัฐหรือผู้กำกับดูแล ต่างก็หันมาใช้เครื่องมือดิจิทัลเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน วิถีปกติใหม่ บีบรัดให้กิจการจำต้องพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถรองรับการทำงานโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน

ทั้ง 4 มิติสำคัญข้างต้น มิใช่เป็นทางเลือกสำหรับให้ธุรกิจพิจารณา แต่เป็นทางรอดของทุกธุรกิจที่ต้องผันตัวเองเข้าสู่วิถีปกติใหม่ และควรต้องดำเนินการไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน !