ปตท. ผนึกกำลังรัฐเอกชน รีสตาร์ทประเทศ "รีสตาร์ทธุรกิจ"

ปตท. ผนึกกำลังรัฐเอกชน รีสตาร์ทประเทศ "รีสตาร์ทธุรกิจ"

  • 0 ตอบ
  • 62 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทุกประเทศ ซึ่งทำให้บางประเทศต้องเข้าสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ และหลายบริษัทต้องปรับโครงสร้างธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบท New Normal ในขณะที่บางธุรกิจมองข้ามไปถึงบริบท Next Normal

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงมุมมองของวิกฤติการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มีผลต่อภาคธุรกิจและประเทศไทย โดยระบุว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและภาคส่งออกที่หยุดชะงัก ซึ่งผลกระทบดังกล่าวเป็นระยะเวลามามากกว่า 1 ปี และปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณของการปรับตัว โดยในปี 2564 มีการนำร่องเปิดประเทศมากขึ้น การส่งออกเริ่มฟื้นตัวและการท่องเที่ยวเริ่มเดินทาง

อย่างไรก็ดี หากประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ต้องยอมรับว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยจะเสียเปรียบกว่าประเทศอื่น เนื่องจากจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักสร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่เห็นได้ว่าปัจจุบันหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว แต่การท่องเที่ยวไทยยังกลับมารับนักท่องเที่ยวเต็มที่ไม่ได้และทำให้เสียโอกาสในช่วงนี้ไป โดยส่วนตัวคาดว่ากลางปี 2565 ถึงจะเป็นช่วงของการฟื้นตัวในภาคท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ในปี 2563 เศรษฐกิจไทยติดลบ 6.1% และในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 1% ส่วนในปี 2565 เศรษฐกิจคงยังไม่สามารถเดินหน้าได้เต็มสูบเพราะอยู่ในช่วงการฟื้นฟู ดังนั้นเศรษฐกิจไทยจึงน่าจะกลับมาเป็นปกติในปี 2566

สำหรับเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ประเทศกลับมาได้ขึ้นกับหลายปัจจัย ประกอบด้วย “การท่องเที่ยว” ที่เป็นรายได้สำคัญของประเทศไทย ซึ่งหวังว่าจะคืนกลับมาดีได้ในช่วงกลางปี 2565 หลังจากการระบาดคลี่คลายลง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ดังนั้น เชื่อว่าเครื่องจักรการท่องเที่ยวจะกลับมาติดได้ไม่ยาก

นอกจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวแล้ว คือ “การลงทุน” ในช่วงเวลานี้รัฐบาลต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ แม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ต้องไม่หยุดนิ่ง ซึ่งต้องใช้โอกาสในการหานักลงทุนกลุ่มใหม่อยู่เสมอ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจใหม่ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า และสินค้าประเภทเทคโนโลยี เพื่อให้ประเทศเกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งร่วมมือกับเอกชนที่มีความพร้อม เพื่อเริ่มเดินสายโรดโชว์ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศ

อีกทั้งปัจจัย คือ "การจับจ่ายภายในประเทศ" ยังเป็นเครื่องจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐดูแลอยู่พอสมควรและเป็นตัวพยุงเศรษฐกิจ แต่ถือว่าปัจจัยด้านนี้เป็นการดำเนินการระยะสั้นเท่านั้น ในขณะที่การเพิ่มเม็ดเงินลงทุนภายในประเทศจะเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

“ถ้ากลางปีหน้าทุกอย่างกลับมาได้ ไทยเราเป็นเดสทิเนชั่นหลักในการท่องเที่ยวอยู่แล้ว เครื่องจักรนี้จะกลับมาทำงานได้ไม่ยาก ส่วนตัวผมขอประเมินว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวจากปีนี้ และจะกลับมาสู่สถานการณ์ปกติในปี 2566”

สำหรับด้านบวกของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการตื่นตัวใช้เทคโนโลยี ซึ่งเรื่องนี้ต้องชมรัฐบาลถึงการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัล จากการนำเอาเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ในช่วงนี้อย่างชัดเจน ทำให้ชนชั้นกลางได้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยี โควิด-19 ถือเป็นการยกระดับประเทศสู่ดิจิทัลได้เร็วพอสมควร

ขณะที่กรณีการแพร่ระบาดโควิด-19 หากเปรียบเทียบกับ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ในปี 2540 ต้องยอมรับว่าต้มยำกุ้งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเรื่องนี้ เป็นวิกฤติที่เกิดจากภาคการเงิน ลุกลามไปภูมิภาค และเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์กรใหญ่ โดยวิกฤตินี้เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 1 ปี และในช่วงนั้นภาคเกษตรเป็นส่วนพยุงภาคส่งออก และเศรษฐกิจโดยรวม

ดังนั้นหากเปรียบเทียบกับการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่พบว่าเกิดขึ้นกับทุกภาคธุรกิจ เกิดขึ้นทั่วโลก และกระทบไปถึงรากหญ้า หากมองผลกระทบในภาพรวมจึงจะเห็นว่าเป็นผลกระทบมากกว่าต้มยำกุ้งเพราะเกิดขึ้นทั่วโลก แต่หากมองเปรียบเทียบผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย จะพบว่าต้มยำกุ้งเป็นผลกระทบหนัก ขณะที่โควิด-19 กระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) น้อยกว่า แต่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่า และกระทบไปทั่วทุกกลุ่ม

“จากนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลพยายามพยุงเศรษฐกิจอยู่ จะเห็นได้ว่าโควิด-19 เป็นผลกระทบในวงกว้าง แต่ตัวเลขการเงินของรัฐในวิกฤติต้มยำกุ้งแย่กว่าในปัจจุบัน แต่ถ้าโควิดเกิดนาน ยืดเยื้อ ก็คงต้องรอดูผลกระทบหลังจากนี้”

สำหรับบทเรียนที่ ปตท.เห็นได้จากการเกิดวิกฤติโควิด-19 พบว่ามี 3 ด้าน คือ 

 

1.การบริหารความเสี่ยง คือ ภาคธุรกิจต้องประเมินและบริหารความเสี่ยงจากสิ่งที่ไม่คาดการณ์ ต้องบรรจุสิ่งเหล่านี้อยู่ในแผนธุรกิจอยู่เสมอ และต้องถอดบทเรียน แก้ไขปัญหาให้ได้ว่าหากสิ่งที่ไม่คาดการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น จะบริหารจัดการ หรือตั้งรับอย่างไร

2.เทคโนโลยี คือ การปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการเรื่องต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น โดยปัจจุบันเห็นได้แล้วว่าทั้งรัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน ปรับตัวในเรื่องของเทคโนโลยีอย่างมาก หลังจากนี้ต้องคิดให้รอบด้านว่าหากเกิดปัญหาต้องเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้อย่างไรเพิ่มเติม

3.องค์กรต้องยืดหยุ่น คือ การบริหารจัดการองค์กร ต้องยืดหยุ่นพอที่จะยืนอยู่ในทุกสถานการณ์ ต้องรู้จักการปรับตัวให้เท่าทันในทุกเรื่อง และแก้ปัญหาต่างๆ ให้ทัน รับมือกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างดี

“ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่เราจะใช้เป็นโอกาสต่อการบริหารจัดการในองค์กร ให้เกิดความร่วมมือ และปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งต่างๆ”

นายอรรถพล กล่าวว่า การปรับตัวของ ปตท.ในช่วงที่ผ่านมา ได้ตั้งวอร์รูมผู้บริหารและหารือ เพื่อรับมือต่อสถานการณ์ พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์ 4R ประกอบด้วย 

1.Resilience ทบทวนสถานการณ์ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และปรับตัวต่อทุกสถานการณ์ เพื่อให้ฝ่าวิกฤติร่วมกันไปได้

2.Restart เริ่มคิดและทำอยู่เสมอ 

3.Reimagination เพื่อทบทวนธุรกิจและพิจารณาตลาดว่าตรงไหนที่มีโอกาสทางธุรกิจ 

4.Reform เป็นการปรับตัวเราอย่างไนเพื่อเดินไปข้างหน้าได้

สำหรับ ปตท.ขณะนี้ให้น้ำหนักไปที่การทำ 2R หลัง (Reimagination และ Reform) เพราะที่ผ่านมาได้ทำ 2R แรกมาโดยตลอด (Reserious และ Restart) โดยเริ่มทำ Reserious มาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนเป็นที่มาของการปรับวิสัยทัศน์องค์กรที่ว่า “Powering Life with Future Energy and Beyond” หรือ การขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต การปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับธุรกิจปัจจุบันและธุรกิจใหม่ Next Normal พร้อมสร้าง New S-Curve ให้กับประเทศ

ทั้งนี้ ปตท.มองแนวโน้มพลังงานในอนาคตจะมุ่งสู่ 2 ส่วนสำคัญ คือ Go Green ที่โลกจึงพยายามมุ่งไปสู่พลังงานสะอาด เพื่อมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ Go Electric ที่ไฟฟ้าจะเป็นรูปแบบการใช้พลังงานที่สำคัญ ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแน่นอน โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่จะมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น

รวมทั้งหลังจากนี้จะเห็นความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานฟอสซิลที่สะอาดที่สุด จะมีบทบาทสำคัญในการเป็น Transition fuel ซึ่ง ปตท.ได้มีการเตรียมความพร้อม เพื่อเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Regional LNG Hub ในอนาคต และ ปตท.มีการปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับธุรกิจปัจจุบันและธุรกิจใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย และสร้าง New S-Curve ให้กับประเทศ 

ขณะที่ภาพใหญ่ของประเทศ ส่วนตัวมองว่าหลายหน่วยงานกำลังอยู่ในขั้นตอนของการทำ 2R แรก แต่ประเทศไทยน่าจะอยู่ในช่วงของการ Restart เห็นได้จากการเริ่มต้นที่จะเปิดประเทศ ดังนั้นหากมองว่าปีหน้าการท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัว ในขณะนี้ประเทศไทยต้องเริ่มต้น Restart

อีกทั้งเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ประเทศไทยมีแผนที่จะทำ Reimagination ไปในทิศทางการขยายโอกาสด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมอนาคต เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Bio) อุตสาหกรรมดิจิทัลและโลจิสติกส์ เป็นต้น โดยหากประเทศไทยเดินหน้าไปในทิศทางเช่นนี้ได้ ในฐานะภาคธุรกิจก็เห็นด้วย เพราะถือเป็นการดึงดูดการลงทุนใหม่เข้าสู่ประเทศ

“ถ้าถามว่ารีสตาร์ทประเทศยากไหม คงต้องบอกว่าต้องเริ่มจากการรีสตาร์ทของเดิมให้ได้ เพื่อเดินหน้าไปต่อ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาด ส่วนจะทำอย่างไรในระหว่างนี้ ก็คงต้องไปโรคโชว์ รัฐต้องร่วมกับเอกชนเป็นพาร์ทเนอร์ ภาคธุรกิจไทยที่พร้อม มีใคร กี่คน ต้องหาพาร์ทเนอร์เหล่านี้เริ่มเดินหน้าโรดโชว์ รัฐต้องช่วยขับเคลื่อนเอกชนด้วย”