ผู้ถือหุ้น PLANET ไฟเขียวเพิ่มทุน แจกวอร์แรนต์

ผู้ถือหุ้น PLANET ไฟเขียวเพิ่มทุน แจกวอร์แรนต์

  • 0 ตอบ
  • 69 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


"แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย" เผยผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติเพิ่มทุน 124.99 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รองรับการแจกวอร์แรนต์ฟรี จำนวน 124.99 ล้านหน่วย ในอัตราการ 3 ต่อ 1 พร้อมนำเงินลุยธุรกิจ Cyber Security - 5G - ผลิตน้ำประปาและไฟฟ้าเต็มสูบ มั่นใจผลงานปี 2564 เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ กรรมการ ผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จำนวน 124.99 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม จำนวน 374.99 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวน 499.99 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 124.99 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

ทั้งนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ครั้งที่ 1 (PLANET-W1) จากการออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ครั้งที่ 1 (PLANET-W1) จำนวนไม่เกิน 124.99 ล้านหน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) โดยไม่คิดมูลค่า ในอัตราส่วน 3 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยวอร์แรนต์ดังกล่าวมีอายุ 2 ปี และราคาใช้สิทธิที่ 2 บาทต่อหุ้น

ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติให้ลดทุนจดทะเบียนจากเดิม จำนวน 375 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียน จำนวน 374.99 ล้านบาท โดยการตัดหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้จำหน่าย จำนวน 3 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ซึ่งคงเหลือจากการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อรองรับการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Right Offering)

สำหรับวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ นอกจากจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ยังสำหรับรองรับการขยายธุรกิจเพิ่มเติมในอนาคต โดยมุ่งขยายตลาดสินค้า New S Curve ประกอบด้วย การขยายธุรกิจด้านเทคโนโลยีกลุ่มระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ (Cyber Security) ที่ปัจจุบันตลาดมีการเติบโตสูงมาก รวมถึงการขยายธุรกิจในกลุ่มสินค้าด้านเทคโนโลยี 5จี เช่น Cloud Computing, IoT Platform, CCTV/Video Analytics, Data Center, Telemedicine และ Energy ผ่านโครงข่ายสื่อสาร 5จี ซึ่งตลาดที่กำลังมีแนวโน้มต้องการเทคโนโลยีอัจฉริยะสูงในตอนนี้คือ ตลาดในกลุ่มเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับการดำเนินงานในธุรกิจใหม่เกี่ยวกับบริหารจัดการให้บริการผลิตนํ้าประปาและไฟฟ้าเพื่อจำหน่าย หลังได้จัดตั้งบริษัทย่อย “บริษัท แพลนเน็ตยูทิลิตี้ จำกัด” ขึ้นมาเพื่อเตรียมความพร้อมแล้ว ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มเติมเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลุ่มธุรกิจเดิมเกี่ยวกับการจำหน่ายเทคโนโลยีกลุ่มสื่อสารโทรคมนาคม (Telecom) ซึ่งประกอบด้วย ระบบโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบสื่อสารมีสายและไร้สาย และระบบสื่อสารผ่านไฟเบอร์ออปติกของบริษัทฯ แม้ปัจจุบันการเติบโตจะไม่สูงมากนัก แต่ยังสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทฯ อย่างต่อเนื่องอยู่

“มั่นใจว่าผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ตลอดทั้งปี 2564 นี้จะออกมาเป็นที่น่าพอใจ และในอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งแน่นอน” นายประพัฒน์ กล่าว