“ปตท.- เอสซีจี” เล่นใหญ่ บุกธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เกาะเทรนด์พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน

“ปตท.- เอสซีจี” เล่นใหญ่ บุกธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เกาะเทรนด์พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน

  • 0 ตอบ
  • 59 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




พิธีลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือฟ็อกซ์คอนน์  (Foxconn) =เพื่อสร้างฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย
พิธีลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) =เพื่อสร้างฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -  แผนการใหญ่ดูครึกโครมของบรรดาบริษัทใหญ่ที่สุดของประเทศที่มุ่งมั่นแสวงหาพรมแดนธุรกิจใหม่แห่งอนาคตหลังยุคโควิด-19 นับเป็นเทรนด์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่เพียงแต่แบงก์เก่าแก่ที่สุดอย่างไทยพาณิชย์ ที่เพิ่งส่ง SCBX-ยานแม่ฟินเทค เข้าสู่สมรภูมิเทคโนโลยีการเงินสมัยใหม่ 

ฟากฝั่งยักษ์ใหญ่บริษัทพลังงานแห่งชาติอย่างกลุ่มปตท. ก็ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเต็มตัว เดินหน้าพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ  EV Value Chain ทั้งหมด โดยปักหมุดร่วมทุนกับ  “ฟ็อกซ์คอนน์”  แห่งไต้หวันสร้างฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในเขตเศรษฐกิจอีอีซี ขณะที่เอสซีจีจับมือกับ  สำนักงานการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA เพื่อร่วมศึกษาและพัฒนาแผนธุรกิจยานยนต์พลังงานไฟฟ้าเช่นกัน

นโยบายการขับเคลื่อนแผนพลังงานสะอาดเพื่อรับมือกติกาโลกและนวัตกรรมใหม่ ทำให้กระทรวงพลังงาน เห็นชอบกรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan 2022) ที่วางเป้าหมายสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งหนึ่งในแนวทางตามนโยบายนั้นคือ การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้มีการใช้มากขึ้น โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งออกมาตรฐานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้วกว่า 90 เรื่อง ขานรับนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติที่  “นายกฯลุง” เน้นย้ำให้รีบดำเนินการ ขณะเดียวกันบีโอไอก็พร้อมให้สิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนการลงทุน EV

ความชัดเจนใน  “นโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ”  ของรัฐบาล ตอบโจทย์การปรับโครงสร้างธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท.ซึ่งวางแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงประเภท Conventional ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน กับประเภท New Energy ที่ประกอบด้วยพลังงานหมุนเวียน (Renewable) พลังงานรูปแบบใหม่ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางพลังงานแห่งอนาคต โดยก่อนหน้านี้ ปตท.วางแผนการลงทุน New Energy เช่น กริด เน็ตเวิร์ค ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และโรงงานแบตเตอรี่ต้นแบบเพื่อต่อยอดสู่การตั้งโรงไฟฟ้าเอวีในอนาคตอย่างเป็นระบบ เติมเต็มแผนพัฒนาธุรกิจของปตท.ให้ครอบคลุมครบวงจร

เมื่อเผชิญวิกฤตพิษโควิด-19 ในช่วงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลสะเทือนต่อดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้การวางแผนขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ของ ปตท. ช่วง 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) กรอบลงทุนประมาณ 8.65 แสนล้าน มุ่งเน้นไปสู่การสร้างความเติบโตของธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแผนพลังงานแห่งชาติ ซึ่งกลุ่ม ปตท.มีบทบาทเป็นฟันเฟืองสำคัญ โดย ปตท.ขับเคลื่อนการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการจัดการตั้งบริษัท อรุณ พลัส เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อดำเนินธุรกิจ EV value chain รองรับการขยายตัวสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร

จากนั้น เมื่อกลางเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn)  เพื่อสร้างฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมี  นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ  นายยัง ลวือ  ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟ็อกซ์คอนน์ ร่วมลงนาม พร้อมผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารระดับสูง ปตท.และ ฟ็อกซ์คอนน์ ร่วมเป็นสักขีพยาน

ความร่วมมือตั้งโรงงานผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยดังกล่าว จะใช้ความเชี่ยวชาญของฟ็อกซ์คอนน์ทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิตและพัฒนาแพลตฟอร์มยานยนต์ไฟฟ้า ผสานกับองค์ความรู้การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยของกลุ่ม ปตท. เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ซีอีโอของปตท. เผยว่า ปตท.โดย  บริษัท อรุณ พลัส  จะเดินหน้าพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ EV Value Chain ทั้งหมด โดยอาศัยความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงานของ ปตท.และกลุ่มบริษัทในเครือ และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในไทยด้วยบริการครบวงจร ทั้งการออกแบบ ผลิต EV ตลอดจนชิ้นส่วนสำคัญ เช่น Battery Platform Drivetrain หรือ Motor โดยแผนการลงทุนจะเริ่มจากการสร้างโรงงานใหม่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี วางระบบการผลิต การบริหารซัพพลายเชน จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาทางวิศวกรรม ด้วยเงินลงทุนประมาณ 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับโรงงานดังกล่าวจะผลิต EV ทั้งคันด้วยเทคโนโลยีของ ฟ็อกซ์คอนน์ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่มีทั้ง Hardware และ Software ที่จะช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนในการพัฒนารถ EV ได้อย่างมีนัยสำคัญ เพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาด EV เบื้องต้นคาดว่าประมาณ 2-3 ปีในการเตรียมความพร้อมและเริ่มผลิตออกสู่ตลาด เป้าหมายการผลิตระยะแรก 50,000 คัน/ปี และขยายเป็น 150,000 คัน/ปี ในอนาคต

“การลงทุนครั้งนี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ ... ยังเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย” นายอรรถพล กล่าว

ทั้งนี้ Foxconn หรือ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด เป็นบริษัทสัญชาติไต้หวัน ดำเนินธุรกิจผลิตและประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีโซลูชันชั้นนำ เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เช่น Cloud Computing, Mobile Devices, IoT, Big Data, AI, Smart Networks, Robotics, Automation และ Electric Vehicle

 นายสิทธิชัย ดวงรัตนฉายา  ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน บล.ไทยพาณิชย์ วิเคราะห์เผยแพร่ผ่านสื่อว่า การแตกไลน์เข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของ ปตท. นับเป็นจิ๊กซอร์ที่สำคัญ เป็นการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจกรณีที่ความต้องการพลังงานฟอสซิลในอนาคตปรับลดลง นับเป็นการเข้าสู่ Mainstream ของไทยและของโลกในช่วงต้นของกระแสรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งราวปี 2025 มีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตโดยเครือ ปตท. และใช้แบรนด์ในเครือ PTT

 นอกเหนือจากกลุ่ม PTT แล้ว ยังมีผู้ประกอบรายใหญ่ที่เข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า เช่น บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ซึ่งก้าวเข้ามาเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และเครือเอสซีจี ที่เข้ามาเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า โดยร่วมมือกับ BYD จากประเทศจีน 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา  บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเอสซีจี ลงนามร่วมกับสำนักงานการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA) เพื่อการศึกษาและพัฒนาแผนงานสำหรับธุรกิจยานยนต์พลังงานไฟฟ้า

ความร่วมมือดังกล่าว สำนักงานการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA) จะมอบทุนสนับสนุนแบบให้เปล่าแก่ บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เพื่อศึกษาและพัฒนาแผนงานการใช้พลังงานไฟฟ้าของยานพาหนะสำหรับธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี รวมถึงการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชาร์จยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดย เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล ได้แต่งตั้งบริษัท Black & Veatch Management Consulting (Black & Veatch) เพื่อทำการศึกษาในครั้งนี้

“ด้วยการสนับสนุนของเรา จะเป็นการขยายโอกาสสำหรับบริษัทในสหรัฐอเมริกา ในการเป็นพันธมิตรกับประเทศไทย เพื่อช่วยในการแสวงหาโซลูชันให้กับยานยนต์ไฟฟ้าคุณภาพสูง รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศเป็นสำคัญ” นายเอโนห์ เอบาง ผู้อำนวยการ (รักษาการ) สำนักงานการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA) กล่าว

 นายวิชชุ เวชชาชีวะ  อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นสักขีพยานในวันลงนามความร่วมมือ ย้ำเช่นเดียวกันว่า ความร่วมมือระหว่าง USTDA และเอสซีจี จะครอบคลุมเรื่องการพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและระบบที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทย ซึ่งจะตอกย้ำความพยายามในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและการเติบโตที่ควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อม

การศึกษาในครั้งนี้ จะช่วยวางแผนและวิเคราะห์รายละเอียดเชิงลึก เพื่อนำยานยนต์ไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้และศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการสำหรับพลังงานทดแทน หลายร้อยแห่งในประเทศไทยสำหรับธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี การศึกษาจะครอบคลุมถึงการออกแบบในโครงการนำร่อง 3 โครงการของ เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อทดสอบประสิทธิภาพยานยนต์ไฟฟ้าของระบบรถขนส่งสินค้า รถขนส่งบุคลากร และรถโม่ขนส่งคอนกรีต

โครงการนี้ถือเป็นการผลักดันความร่วมมือระดับนานาชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure) ตามความตั้งใจของ USTDA ซึ่งจะเชื่อมโยงอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกากับโครงการพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดและการขนส่งในตลาดเกิดใหม่

 นั่นหมายความว่า โลกธุรกิจหลังยุคโควิด-19 บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยต่างมุ่งเป้าเกาะเทรนด์ธุรกิจใหม่แห่งอนาคตกันทั้งนั้น