ประเทศไทยกับ CPTPP ระวังตกขบวน

ประเทศไทยกับ CPTPP ระวังตกขบวน

  • 0 ตอบ
  • 62 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


ประเทศไทยกับ CPTPP ระวังตกขบวน
« เมื่อ: ตุลาคม 02, 2021, 05:42:06 pm »


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

CPTPP หรือข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งเมื่อจีนยื่นใบสมัครขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่สหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลีย จะประกาศข้อตกลง ANKUS ที่สหรัฐฯ กับอังกฤษจะช่วยออสเตรเลีย สร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์เพียง 1 วัน

อีก 1 สัปดาห์ต่อมา ไต้หวันก็ยื่นใบสมัครด้วย และถูกคัดค้านจากจีน เพราะจีนถือว่า โลกนี้มีจีนเดียวคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่ใช่ประเทศอิสระ

CPTPP เป็นความตกลงการค้าระหว่างประเทศ เดิมคือ TTP คือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งสหรัฐฯ ในสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามาริเริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2559 แต่เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีคนต่อมา ได้ถอนตัวออก จึงเหลือประเทศสมาชิก 11 ประเทศคือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยเปลี่ยนชื่อ TTP เป็น CPTPP

มาถึงยุคโจ ไบเดน แม้จะนำสหรัฐฯ กลับไปร่วมกลุ่ม ข้อตกลงที่ถอนตัวออกมาในสมัยทรัมป์ อย่างเช่น ข้อตกลงปารีสเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ แต่สำหรับ CPTPP สหรัฐฯ ยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่า จะกลับมาร่วมหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การที่จีนยื่นใบสมัครขอเข้าร่วมด้วย จะทำให้สหรัฐฯ ต้องให้ความสำคัญกับ CPTPP อย่างจริงจัง เพราะตอนที่เกิด TTP ขึ้นมา ถูกมองว่าเป็นการรวมกลุ่มเพื่อปิดล้อมจากจีนทางเศรษฐกิจ ทำให้จีนไปผลักดันการตั้งกลุ่ม RCEP หรือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคขึ้นมาเพื่อแข่งขัน คานอำนาจกับ TTP เมื่อจีนขอร่วม CPTPP ที่ไม่มีสหรัฐฯ เป็นสมาชิก สหรัฐฯ คงจะไม่อยู่เฉยๆ ยอมให้จีนเข้าร่วมได้ง่ายๆ

การเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกผู้ก่อตั้ง 11 ประเทศอย่างเป็นเอกฉันท์ ซึ่งหลายประเทศเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ทั้งในด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และแคนาดา

ผลจากการที่จีนขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก จะทำให้ CPTPP กลายเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จากเดิมที่สมาชิก 11 ประเทศ มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน มีจีดีพีรวม 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนับรวมจีนจำนวนประชากรในตลาด CPTPP ใหญ่ขึ้นเป็นกว่า 1,900 ล้านคน เท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรโลก มูลค่าจีดีพีประมาณ 25.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 30% ของ GDP โลก

อย่างไรก็ตาม ขนาดของ CPTPP ยังเล็กกว่า RCEP ซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศ และปัจจุบันเป็นความตกลง FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดประชากรกว่า 2,300 ล้านคน (30% ของประชากรโลก) มูลค่าจีดีพี 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของจีดีพีโลก)

ก่อนหน้านี้ ตอนต้นปีอังกฤษซึ่งถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอียูแล้ว ได้สมัครเข้า CPTPP เช่นกัน อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ไม่ได้อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สำหรับไทยยังไม่ได้เป็นสมาชิก CPTPP โดยอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดี ข้อเสีย ในขณะที่ภาคเอกชน สนับสนุนการเข้าร่วม เพื่อไม่ให้เสียเปรียบการแข่งขันกับประเทศที่อยู่ใน CPTPP แต่ภาคประชาชน และภาคเกษตรกรรมคัดค้านเพราะจะกระทบต่อผลประโยชน์ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช ยา

ปัจจุบัน ไทยมี FTA กับสมาชิก CPTPP แล้ว รวม 9 ประเทศ ทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบทวิภาคี คือ ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไน, มาเลเซีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ชิลี และเปรู โดยยังขาดเม็กซิโกกับแคนาดาที่ไทยไม่มี FTA ด้วย แต่ไทยก็อยู่ระหว่างเตรียมการเปิดเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา ในเร็วๆ นี้ จึงถือได้ว่าไทยมีช่องทางในการเข้าสู่ตลาดประเทศสมาชิก CPTPP ผ่าน FTA ที่มีอยู่

อย่างไรก็ตาม การขยายจำนวนสมาชิก CPTPP รวมจีนและอังกฤษ ได้เพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดใจของ CPTPP และทำให้ไทยต้องประเมินประโยชน์ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นใหม่อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้จากการเข้าสู่ตลาด CPTPP ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น เรื่องการเข้าสู่ตลาด ความตกลง CPTPP ได้กำหนดให้สมาชิกต้องลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรที่เก็บระหว่างกันให้ครอบคลุมรายการสินค้าให้มากที่สุด เรียกได้ว่า ครบหรือเกือบครบทุกรายการสินค้า เรื่องกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่ส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสมาชิก เพื่อการผลิตขั้นสูงขึ้นไป เรื่องกฎระเบียบที่ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าทั้งออนไลน์ และออฟไลน์

กฎเกณฑ์เหล่านี้จะทำให้ประเทศสมาชิก CPTPP มีความได้เปรียบประเทศที่มิใช่สมาชิก อีกทั้งประโยชน์ในเรื่องการเข้าไปอยู่ในวงห่วงโซ่การผลิตระดับภูมิภาคหรือการเสียประโยชน์หากอยู่นอกวง ก็เป็นประเด็นใหม่ที่จะต้องนำมาพิจารณา เนื่องจากวงห่วงโซ่การผลิตของ CPTPP จะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรวมจีนเข้าไป