“ไตรยฤทธิ์” อธิบดีดีเอสไอ ชูธงเร่งรัด 7 คดีสำคัญ สร้างความเสียหายต่อประเทศ

“ไตรยฤทธิ์” อธิบดีดีเอสไอ ชูธงเร่งรัด 7 คดีสำคัญ สร้างความเสียหายต่อประเทศ

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



อธิบดีดีเอสไอคนใหม่ แถลงนโยบาย ปี 65 เน้น 7 คดีหลักเร่งทำให้สำเร็จ ป้องกันความเสียหายแก่รัฐและประเทศ ขับเคลื่อนตามหลักนิติธรรมให้ความเป็นธรรมต่อสังคม

วันนี้ (1 ต.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วย พ.ต.ท.สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ พ.ต.อ.อัครพล บุณโยปัษฎัมภ์ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีดีเอสไอ ร่วมแถลงนโยบายกรมสอบสวนคดีพิเศษปี 2565 “มิติใหม่แห่งการสอบสวนคดีพิเศษ”

นายไตรยฤทธิ์ กล่าวว่า ภารกิจหลักสำคัญตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล เร่งรัด 7 คดีที่เป็นเป้าหมายพิเศษ คือ 1. คดีรถหรู ที่ยังค้างอยู่ 1,428 คัน มูลค่า 9,800 ล้านบาท 2.คดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ที่เราจะเน้นการยึดทรัพย์เครือข่ายยาเสพติด 3.ขบวนการฉ้อค่าภาษีรัฐหรือการค้าของเถื่อน ยังค้าง 6 คดี มูลค่า 178,000 ล้านบาท 4. คดีเว็บไซต์.ออนไลน์ ที่แพร่ระบาดจำนวนมาก มูลค่าความเสียหาย 900,000 ล้านบาท 5. คดีการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ให้คนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวค้างอยู่ 12 คดี มูลค่า 46,000 ล้านบาท 6. การฮั้วประมูล การจัดซื้อจัดจ้าง ค้างอยู่ 3 คดี มูลค่า 7,000 ล้านบาท และ 7. การบุกรุกพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ นี้คือสิ่งที่เราจะเร่งรัดเพราะมูลค่าความเสียหายมากมายเหลือเกิน

“ขอยืนยันว่า ในทุกคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษจะอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐานเป็นสำคัญ ทุกคดีถือว่ามีความสำคัญและจะต้องขับเคลื่อนไปตามหลักนิติธรรม ขอยืนยันว่าจะใช้หลักนิติธรรมมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม เป็นความกล้าในการดำเนินคดีพิเศษอย่างเป็นมาตรฐานในทุกคดี ที่อยู่ในความรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นคดีใดก็ตาม”

นายไตรยฤทธิ์ กล่าวอีกว่า เรื่องการบังคับสูญหายและทรมาน เบื้องต้นอยู่ระหว่างการสืบสวน 2 เรื่องจะเข้าไปตรวจสอบและติดตามต่อไป สำหรับร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนแนวทางในการปฏิบัติกรณีการบังคับให้สูญหายและทรมาน เป็นเรื่องที่สำคัญ การดำเนินการสืบสวนสอบสวน ต้องมีการบูรณาการกับทุกภาคส่วนในการแสวงหาพยานหลักฐาน และให้ความสำคัญกับพยานหลักฐาน โดยจะนำหลักนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีพิเศษให้มีความมั่นคง โปร่งใส เชื่อถือได้ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการสืบสวนสอบสวนคดีพิศษให้เกิดประสิทธิภาพ

“ผมเคยเป็นนายแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ ประกอบกับได้รับราชการในดีเอสไอมาก่อนในตำแหน่งรองอธิบดี และมีโอกาสได้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีโอกาสร่วมงานกับท่านผู้บริหารที่มาจากตำรวจมาระยะหนึ่ง ถือว่าสามารถสอดคล้องส่งเสริมเติมเต็มศักยภาพของกรมสอบสวนคดีพิเศษได้เป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนี้ เราเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆที่ทันสมัยและพัฒนาบุคลากร จึงไม่รู้สึกกังวลแต่อย่างใด เหมือนได้กลับบ้านมากกว่า เชื่อว่าเราจะทำได้สำเร็จ ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจ" อธิบดีดีเอสไอ กล่าว

นายไตรยฤทธิ์ กล่าวเพิ่มว่า ที่ผ่านมามีผู้ไปร้องเรียนกรณีข้าราชการระดับสูงของดีเอสไอไปเกี่ยวข้องกับคดีรถหรู ขอยืนยันว่า ดีเอสไอทำคดีในรูปแบบคณะพนักงานสอบสวน สามารถตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานได้ หากมีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริงขอให้นำหลักฐานหรือเบาะแสมาแจ้งที่ดีเอสไอได้ ส่วนจะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือไม่ เป็นเรื่องของทางกระทรวงฯที่จะต้องไปดำเนินการต่อไป