คาดกินเจปีนี้ไม่คึกคัก มีมูลค่า 40,147 ล้าน ลด 14.5% หดตัวครั้งแรกรอบ 14 ปี

คาดกินเจปีนี้ไม่คึกคัก มีมูลค่า 40,147 ล้าน ลด 14.5% หดตัวครั้งแรกรอบ 14 ปี

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kaidee20

  • *****
  • 2826
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยกินเจปีนี้ไม่คึกคัก คาดใช้จ่าย 40,147 ล้านบาท ลดลง 14.5% หดตัวครั้งแรกในรอบ 14 ปี เหตุคนกังวลโควิด-19 ราคาสินค้าแพง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,208 ราย ว่า เทศกาลกินเจปีนี้ไม่คึกคัก คาดว่ามีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 40,147 ล้านบาท ลดลง 14.5% เป็นการหดตัวครั้งแรกจากที่เคยทำการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2551 หรือหดตัวในรอบ 14 ปี โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน มีความกังวลเรื่องราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ลดการจับจ่ายใช้สอย

นางอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 60.9% จะไม่กินเจเพราะกังวลเรื่องของเศรษฐกิจไม่ดี ไม่ได้ต้องการจะกินเจ มีเพียง 39.1% ที่ยังคงกินเจอยู่เพราะต้องการทำบุญ โดยช่องทางในการเลือกซื้ออาหารเจ 87.8% จะไปซื้อด้วยตัวเองผ่านร้านค้า ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ และ 12.2% ไม่ได้ไปซื้อด้วยตัวเอง ซื้อผ่านตัวกลาง เช่น ไลน์แมน วินมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น

สำหรับราคาอาหาร และวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจปี 2564 เทียบปีที่ผ่านมา ประชาชน 47.6% เห็นว่าแพงขึ้น 45.5% เห็นว่าเท่าเดิม และ 6.9% เห็นว่าลดลง ส่วนการใช้จ่ายในช่วงกินเจ ส่วนใหญ่ตอบว่าเท่าเดิม โดยเงินที่นำมาใช้จ่ายมาจากรายได้ประจำ 81.9% เงินช่วยเหลือจากภาครัฐ 7.7% และเงินออม 4.5%

ทั้งนี้ ได้มีการสอบถามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต พบว่า การจับจ่ายของประชาชนลดลงทั้งเรื่องของการท่องเที่ยว การซื้อรถคันใหม่ และซื้อสินค้าคงทน ส่วนการคาดการณ์เศรษฐกิจ มองว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นได้ในช่วงครึ่งหลังปี 2565 เพราะยังห่วงเรื่องของโควิด-19 แต่การล็อกดาวน์ในหลายกิจการ จะทำให้ประชาชนมีความกล้าในการใช้ชีวิตมากขึ้น และจะกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติหลังจากนี้อีก 4 เดือน ส่วนการเปิดประเทศประชาชนส่วนใหญ่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะยังกังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่

“สิ่งที่ประชาชนต้องการ คือให้ภาครัฐช่วยเหลือเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ คือ ต้องการเงินเยียวยาต่ออีก และกระจายผู้ที่ได้รับมากขึ้น ต้องการให้การเมืองมีเสถียรภาพ ต้องการให้หาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ต้องการให้กระตุ้นการลงทุนของนักลงทุน ช่วยหางานสำหรับผู้ตกงานและแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ” นางอุมากมลกล่าว