ETDA เตรียมปล่อยหลักสูตร “Digital Citizen” ให้ทุกภาค

ETDA เตรียมปล่อยหลักสูตร “Digital Citizen” ให้ทุกภาค

  • 0 ตอบ
  • 68 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดึงมาตรฐานความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence) ของ DQ Institute สู่การพัฒนา “คู่มือการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต หรือ Digital Citizen” ต้นแบบหลักสูตรการถ่ายทอดความรู้ มุ่งเยาวชน และผู้สูงอายุ อีกทั้ง หน่วยงานที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใช้ฟรีได้ปลายปีนี้ เพื่อร่วมยกระดับคนไทยสู่พลเมืองดิจิทัลคุณภาพ


นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า การเดินหน้ายกระดับทักษะ ความรู้ การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันภัยคุกคามออนไลน์แก่คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอย่าง เด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ เป็นอีกภารกิจที่ ETDA ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ Internet for Better Life หรือที่เราเรียกย่อๆ กันว่า IFBL (ไอ เอฟ บี แอล) ที่ได้มีการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย ผ่านโรงเรียน ชุมชน ชมรม และร่วมกับเครือข่ายการดำเนินงานทั่วประเทศ พร้อมจัดทำสื่อถ่ายทอดความรู้ กระตุ้นให้เกิดความตระหนัก เผยแพร่ทางออนไลน์ ทั้งรูปแบบวิดิทัศน์ การ์ตูน และภาพยนตร์สั้น ภายใต้ชื่อชุด “วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต” ที่เผยแพร่ทาง YouTube ช่อง ETDA Chanel เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ETDA ยินดีให้หน่วยงานที่สนใจสามารถนำสื่อที่ผลิตไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบที่ไม่แสวงหากำไรได้ฟรี และเพื่อต่อยอดโครงการ IFBL สู่การพัฒนาเนื้อหาที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับภาคการศึกษาของประเทศ ที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนต่อไป ETDA จึงได้นำแนวคิดของมาตรฐาน “ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence)” จาก DQ Institute ซึ่งเป็นสถาบันที่มีการพัฒนามาตรฐานระดับสากลเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านความฉลาดทางดิจิทัล มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย และพัฒนาเป็น “หลักสูตรการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต หรือ Digital Citizen” ในระยะแรกนี้ เพื่อเป็นคู่มือในการถ่ายทอดความรู้และเพื่อใช้ในการอบรม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันภัยคุกคามออนไลน์ รวมถึงการผลิตสื่อต่างๆ ที่เหมาะกับคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เด็ก เยาวชนและผู้สูงอายุ เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารมากยิ่งขึ้น



สำหรับหลักสูตร Digital Citizen จะมีเนื้อหาที่ถูกพัฒนา ปรับปรุงมาจาก DQ Institute ที่เดิมมีทั้งหมด 8 ด้าน ทาง ETDA นำมาประยุกต์ให้เหลือ 5 ด้าน ดังนี้

ด้านที่ 1 อัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital Identity) เพื่อให้สามารถการสร้างอัตลักษณ์ที่ดีและมีมารยาทในโลกดิจิทัล

ด้านที่ 2 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม (Digital Use) เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ทั้งในมิติของเวลา อุปกรณ์ การจัดการอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น

ด้านที่ 3 การจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security) เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยง ป้องกัน และรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามออนไลน์ได้

ด้านที่ 4 การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูล ข่าวสาร และสื่อออนไลน์ ต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์ และสุดท้าย

ด้านที่ 5 การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งรู้จัก เข้าใจ และจัดการกับร่องรอยดิจิทัลที่ส่งผลดีต่อตนเองได้

นอกจากเนื้อหาข้างต้นแล้ว หลักสูตร Digital Citizen ของ ETDA ยังได้มีการจัดทำแบบประเมินเพื่อวัดผลการเรียนรู้และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนและหลังเข้าร่วมการอบรม ที่มีเนื้อหาการประเมินครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 5 ด้าน ซึ่งจากการทดลองนำเนื้อหาหลักสูตร ไปนำร่องจัดอบรมเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลร่วมกับภาคีเครือข่าย อย่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และไฮบริด ครอบคลุมทั่วประเทศ เช่น ภาคเหนือ (น่าน) ภาคใต้ (ตรัง) ภาคอีสาน (นครพนม เลย ขอนแก่น) ภาคกลาง (สระบุรี ลพบุรี) ภาคตะวันออก (ชลบุรี) รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมไปแล้วเกือบ 500 คน พบว่า จากการทดลองหลักสูตรดังกล่าว สมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลในทุกด้านเมื่อเรียนรู้เนื้อหาในหลักสูตรแล้วมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งในกลุ่มเยาวชนและผู้สูงอายุ โดยในกลุ่มเยาวชนมีผลการทดสอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงขึ้น จากก่อนการอบรมที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.48 เป็นร้อยละ 74.10 โดยมีผลการทดสอบด้านการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) สูงสุดถึงร้อยละ 77.63 ขณะที่ กลุ่มผู้สูงอายุ มีผลการทดสอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงขึ้นจากก่อนการอบรมที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 47.99 เป็นร้อยละ 73.75 โดยมีผลการทดสอบด้าน
การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) สูงสุดถึงร้อยละ 79.69 อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบหลังการอบรมของทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ในด้านการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security) ให้เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ผลจากการนำร่องทดลองอบรมภายใต้หลักสูตรนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปพัฒนารูปแบบในการนำเสนอเนื้อหาของหลักสูตร Digital Citizen ในระยะต่อไปให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น และพร้อมเผยแพร่ให้ทุกภาคส่วนที่สนใจนำไปเป็นคู่มือในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อยกระดับทักษะคนไทยให้พร้อมกับการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ได้ดาวน์โหลดไปใช้ฟรีกัน ภายในปลายปีนี้ และETDA ยังเตรียมพร้อมในการขยายเครือข่ายการใช้คู่มือและสื่อการเรียนการสอนไปยังเยาวชนที่ยังขาดแคลนสื่อการเรียนรู้ในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand หรือ เว็บไซต์ www.etda.or.th