รฟท.กางบิ๊กโปรเจกต์ PPP สายสีแดง 3.3 แสนล้าน

รฟท.กางบิ๊กโปรเจกต์ PPP สายสีแดง 3.3 แสนล้าน

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




รฟท.เปิดผลศึกษาบิ๊กโปรเจกต์ลงทุน PPP สายสีแดงกว่า 3.3 แสนล้าน ดึงเอกชนร่วมก่อสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางและจ่ายค่าโยธาส่วนแรกที่เสร็จแล้ว พร้อมจัดหารถเพิ่มให้บริการตลอดสาย เล็งสัมปทาน 50 ปีเดินรถและพัฒนาพื้นที่สถานีตลอดเส้นทางเพื่อจูงใจ

วันที่ 30 ก.ย. 64 นายสุชีพ สุขสว่าง รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาปฐมนิเทศ โครงการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ จัดทำเอกสารประกวดราคาและการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำเสนอความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ตลอดจนขอบเขตการศึกษาของโครงการ และรับฟังความคิดเห็นของภาคธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำไปประกอบการศึกษาและจัดทำโครงการเพื่อความเหมาะสม ครบถ้วน มีประสิทธิภาพ และสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 155 คน จาก 91 หน่วยงาน

นายสุชีพ สุขสว่าง รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการเดินรถ รฟท.กล่าวว่า รฟท.ดำเนินโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสายสีแดงส่วนต่อขยาย ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-MAP) ซึ่งเส้นทางสายสีแดงเป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยงการเดินทางจากพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่กรุงเทพฯ และยังเชื่อมกับโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูงโดยมีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รฟท.จึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ จัดทำเอกสารประกวดราคา และการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562  

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอขอบเขตการดำเนินงานโครงการรถไฟสายสีแดงที่ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐ (PPP) ตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2562 ประกอบด้วยการบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง รวมถึงการบริหารสถานีในโครงข่ายรถไฟชานเมืองสายสีแดงตลอดแนวเส้นทาง โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1 . ส่วนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม. มี 10 สถานี ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15.3 กม. มี 3 สถานี 

2. ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.8 กม. มี 4 สถานี, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. มี 6 สถานี, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มี 3 สถานี และช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. มี 9 สถานี และส่วนที่ 3 การให้บริการเต็มรูปแบบ

โดยงาน PPP นี้จะเป็นการบริหารจัดการการเดินรถสายสีแดง และบริหารสถานีในโครงข่ายตลอดแนวทั้ง 6 เส้นทาง แบ่งการบริหารจัดการเดินรถเป็น 2 ระยะ คือ 1. ส่วนที่รัฐลงทุนก่อสร้างเสร็จ และเปิดให้บริการแล้ว ซึ่งจะโอนสิทธิ์การบริหารให้เอกชนที่ได้รับคัดเลือกก่อน 2. การก่อสร้างและบริหารส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางให้เอกชนลงทุนก่อสร้างส่วนต่อขยาย และชำระคืนค่าก่อสร้างส่วนเดิมที่ รฟท.ลงทุนไปแล้ว โดยได้รับสิทธิการเดินรถในส่วนแรกและส่วนต่อขยาย 

สำหรับแผนการก่อสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยายจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน -ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มีระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน กลุ่มที่ 2 ช่วง Missing Link ระยะเวลาก่อสร้าง 58 เดือน ซึ่งจะเสร็จหลังจากกลุ่มที่ 1 ประมาณ 1 ปีครึ่ง 

@ประเมินมูลค่าโครงการสูงกว่า 3.4 แสนล้าน

โดยประเมินมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 340,273.31 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. ค่าลงทุนงานโยธา วงเงิน 188,155.57 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนแรกที่ รฟท.ลงทุนก่อสร้างแล้ว วงเงิน 108,833.01 ล้านบาท (ช่วงบางซื่อ-รังสิต ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) และส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงิน 79,322.57 ล้านบาท 2. ค่าลงทุนงานระบบและจัดหาขบวนรถ วงเงิน 131,073.74 ล้านบาท 3. ค่าลงทุนงานเพิ่มเติม วงเงิน 21,044 ล้านบาท 

ประเมินระยะเวลาสัมปทาน ช่วง 30-50 ปี ไม่นับรวมช่วงก่อสร้าง โดยระยะ 30 ปีนั้นถือเป็นพื้นฐานในการร่วมลงทุนฯ แต่หากประเมินแล้วพบว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุน รัฐจะต้องพิจารณามาตรการสนับสนุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การสนับสนุนทางการเงิน เช่น การขยายระยะเวลาสัญญาเป็น 50 ปี โดยสัญญาจะสิ้นสุดปี พ.ศ. 2620 และประเมินว่าผู้โดยสารรถไฟสายสีแดงทั้ง 6 เส้นทางจะเพิ่มเป็น 1.3 ล้านคน-เที่ยว/วัน

เบื้องต้นโครงการคิดอัตราเงินเฟ้อที่ 1.5% (เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (2553-2562) ปรับอัตราค่าโดยสารทุก 2 ปี โดยรายได้โครงการมาจากรายได้ค่าโดยสารและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยช่วงบางซื่อ-รังสิต คาดการณ์ผู้โดยสาร 72,390 คน-เที่ยว/วัน แผนเปิดบริการปี 2564 ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต คาดมีผู้โดยสาร 29,900 คน-เที่ยว/วัน แผนเปิดบริการปี 2569 ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน คาดมีผู้โดยสาร 26,670 คน-เที่ยว/วัน แผนเปิดบริการปี 2564 ช่วงตลิ่งชัน -ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช คาดมีผู้โดยสาร 38,700 คน-เที่ยว/วัน แผนเปิดบริการปี 2569 ช่วง Missing Link คาดมีผู้โดยสาร 69,100 คน-เที่ยว/วัน แผนเปิดบริการปี 2571 

ส่วนการร่วมลงทุน PPP รูปแบบนั้นยังอยู่ที่การศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน

สำหรับการจัดช่วงการเดินรถให้เต็มประสิทธิภาพ สร้างความคุ้มค่าให้โครงการ โดยพิจารณาการจัดช่วงการเดินรถ (Time Slot) เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน โดยแบ่งรูปแบบการเดินรถเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน รูปแบบการเดินรถร่วมกับการเดินรถของ รฟท. ในส่วนของรถไฟทางไกล ระยะที่ 2 ในระยะการเปิดส่วนต่อขยายช่วงต่างๆ ทั้งช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง ระยะที่ 3 เมื่อสายสีแดงส่วนต่อขยายดำเนินการแล้วเสร็จ การเดินรถจะเป็นการให้บริการเต็มรูปแบบ

ปัจจุบันรถไฟสายสีแดงมีการจัดหาขบวนรถแล้ว แบ่งเป็นขบวนละ 4 คัน จำนวน 10 ขบวน ขบวนละ 6 คัน จำนวน 15 ขบวน คิดเป็นมูลค่า 14,580 ล้านบาท ในการศึกษาร่วมทุนฯ มีแผนจัดหารถเพิ่มอีก 6 ครั้ง มีรถทั้งสิ้น 436 ขบวน รวมวงเงิน 46,420 ล้านบาท

ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานศึกษาการร่วมลงทุนฯ รถไฟสายสีแดงจะใช้เวลา 12 เดือน (เดือน มิ.ย. 2564-พ.ค. 2565) ในเดือน ต.ค. 64 จะมีสัมมนาทบทวนสำรวจความสนใจของผู้ประกอบการเอกชน (Market Sounding) เดือน พ.ค. 65 ทำร่างประกาศ TOR และร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ จากนั้นจะเริ่มกระบวนการสรรหาเอกชนร่วมลงทุน โดยจะใช้เวลาประมาณ 14 เดือน (เดือน มิ.ย. 2565-ก.ค. 2566)

โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษามี 6 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท เอ็ม เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด