“คมนาคม”เผยโครงข่ายถนน -รถไฟ ใน22 จังหวัดรวม 150 เส้นทางถูกน้ำท่วม

“คมนาคม”เผยโครงข่ายถนน -รถไฟ ใน22 จังหวัดรวม 150 เส้นทางถูกน้ำท่วม

  • 0 ตอบ
  • 69 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




“คมนาคม”เผยมีเส้นทางโครงข่ายในพื้นที่ 22 จังหวัดถูกน้ำท่วม ถนน 61 แห่งรถสัญจรผ่านไม่ได้ ทางรถไฟสายหนองคายเสียหาย4 จุด ตั้งศูนย์ Command Center ภัยพิบัติคมนาคม ติดตามใกล้ชิดเร่งแก้ไขและช่วยเหลือประชาชน

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงสถานการณ์และการดำเนินงานเกี่ยวกับอุทกภัยในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิด และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างทันท่วงที ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยและปริมาณน้ำในแต่ละจังหวัดโดยได้รับข้อมูลจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ซึ่งพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ซึ่งเป็นที่พื้นที่ลุ่มต่ำส่งผลให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้ติดตามข้อมูลปริมาณและทิศทางน้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบเส้นทางการสัญจรที่จะได้รับผลกระทบ รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ เช่น การติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำ รวมทั้งการจัดหาเส้นทางเลี่ยง และประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อผู้ใช้เส้นทางสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ ศูนย์ Command Center ภัยพิบัติกระทรวงคมนาคม สรุปรายงานอุทกภัยในเส้นทางคมนาคม ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2564 รายละเอียดดังนี้

1. มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ทั้งหมด 22 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) จังหวัดลพบุรี 2) จังหวัดนครราชสีมา 3) จังหวัดนครสวรรค์ 4) จังหวัดชัยภูมิ และ 5) จังหวัดสุโขทัย

2. โครงข่ายคมนาคมได้รับผลกระทบรวม 150 เส้นทาง จำนวน 200 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 132 แห่ง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 68 แห่ง แบ่งเป็นทางถนน 64 แห่ง และทางราง 4 แห่ง

ถนนทางหลวง ได้รับผลกระทบ รวม 68 เส้นทาง จำนวน 112 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 75 แห่ง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 37 แห่ง

ถนนทางหลวงชนบท ได้รับผลกระทบ รวม 78 เส้นทาง จำนวน 81 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 57 แห่ง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 24 แห่ง

บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) งดเดินรถเส้นทาง กรุงเทพฯ - คลองลาน และปิดให้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุโขทัยชั่วคราว โดยเปลี่ยนจุดรับ - ส่งผู้โดยสาร เป็นบริเวณหน้าปั๊ม ปตท. ใกล้แยกบางแก้ว รวมทั้งมีเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ 3 เส้นทาง โดยเปลี่ยนเส้นทางรถโดยสารอุตรดิตถ์ สาย 100 มาใช้เส้นทาง นครสวรรค์ - พิษณุโลก - บ้านกงไกรลาศ - สุโขทัย และเส้นทางรถโดยสารชัยภูมิ สาย 5 และ 29 มาใช้เส้นทาง แยกสีดา - บัวใหญ่ - ชัยภูมิ และเส้นทางรถโดยสารกรุงเทพฯ - นครสวรรค์ เปลี่ยนมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ 1 เส้นทาง โดยปิดเส้นทางเดินรถเส้นทาง กรุงเทพฯ - หนองคาย (ขบวนรถไฟที่ 75/76, 433/434) และมีเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 4 จุด ดังนี้

1) ระหว่างสถานีบำเหน็จณรงค์ - จัตุรัส น้ำท่วมสูงกว่าสันราง 25 ซม. โดยเฉพาะที่สถานีจัตุรัส และสถานีบำเหน็จณรงค์ ขบวนรถไม่สามารถวิ่งผ่านได้ ปิดทางตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2564 เวลา 9.10 น.

2) ระหว่างสถานีบ้านเหลื่อม - หนองพลวง น้ำไหลหลากเซาะดิน, หิน บริเวณคอสะพานชำรุด ระยะทางประมาณ 30 เมตร ระดับน้ำลดเล็กน้อยยังคงมีกระแสน้ำยังไหลต่อเนื่อง ขบวนรถไม่สามารถวิ่งผ่านได้ ปิดทางตั้งแต่เวลา 12.00 น. วันที่ 25 กันยายน 2564 ทั้งนี้ หากวันนี้ (29 กันยายน 2564) ไม่มีฝนตก เจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่เพื่อแก้ไขต่อไป

3) ระหว่างสถานีห้วยยายจิ๋ว - บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ คันทางด้านซ้ายก่อนถึงสะพานใหญ่ 278 โดนน้ำเซาะคันทางชำรุด/หมอนรองรางลอย เสียหายหนักมาก ปิดทางตั้งแต่เวลา 12.00 น. วันที่ 27 กันยายน 2564

4) เขตสถานีโนนสูงด้านเหนือ (ด้านสถานีบ้านคงพลอง) ระดับน้ำสูงกว่าสันรางประมาณ 15 เซนติเมตร บางช่วงมีกระแสน้ำแรง หินโรยทางถูกกระแสน้ำพัดออกจากทาง ปิดเส้นทางขาล่องระหว่างสถานีโนนสูง - บ้านดงพลอง ตั้งแต่เวลา 20.25 น. วันที่ 28 กันยายน 2564

3. กรมเจ้าท่า จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกรมเจ้าท่า ในพื้นที่โดยให้เฝ้าติดตามผลกระทบสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิด และดำเนินการให้การช่วยเหลือประชาชนในหลายพื้นที่ โดยมีพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ประกอบด้วย เจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 ในเขตพื้นที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก เจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 ในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี เจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยดำเนินการ ดังนี้

ศูนย์อำนวยการฯ พร้อมศูนย์อำนวยความสะดวก จำนวนรวมทั้งสิ้น 56 จุด ,จัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ช่วยเหลือฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 252 นาย ,เตรียมความพร้อมทางรถ จำนวนรวมทั้งสิ้น 81 คัน และทางเรือ จำนวนรวมทั้งสิ้น 64 ลำ ,จัดชุดถุงยังชีพ น้ำดื่ม แจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งจุดอำนวยความสะดวกที่ส่วนราชการจัดไว้

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง โดยสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทาง เส้นทางที่ได้รับผลกระทบ และเส้นทางเลี่ยง หรือแจ้งเหตุอุทกภัย ได้ที่

- ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
- สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
- สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
- สายด่วนบริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
- สายด่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
- สายด่วนกรมเจ้าท่า โทร. 1199