ทำไมระบบบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้น

ทำไมระบบบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้น

  • 0 ตอบ
  • 74 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เมื่อมองย้อนกลับไปยังปี 2020 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการพิจารณาถึงความคืบหน้าที่ทางทีมงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ดำเนินการมา และหนึ่งในผลงานโดดเด่นที่น่าชื่นชมคือ DCIM (ระบบบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์)

ผ่านมา 2 ปีแล้วที่ผมได้พูดถึงความจำเป็นของ DCIM ว่ายังอยู่ในกระแสหรือไม่ ในเวลานั้น ผมได้สรุปว่า DCIM จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการพึ่งพาระบบโครงสร้างไอที ณ จุดประมวลผลมีบทบาทสำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เครื่องมือการบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมนับว่าไม่เพียงพอ และต้องอาศัยข้อได้เปรียบของคลาวด์และเทคโนโลยีโมบายมาช่วย

ปัจจุบัน ในปี 2021 ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะบอกว่า เราได้มีพัฒนาการอย่างมากในการนำเสนอ DCIM และ DCIM ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องเร่งปฏิรูปสู่ยุคดิจิทัล เมื่อผู้คนบนโลกส่วนใหญ่กำลังทำงานจากที่บ้านกัน

DCIM สร้างโอกาส ทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ และที่เอดจ์

ที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เราช่วยให้การนำ DCIM มาปรับใช้ได้ง่ายขึ้นในราคาที่ถูกลง ซึ่ง DCIM ในปัจจุบันให้ประโยชน์หลากหลายครอบคลุมทั้งฟังก์ชั่นการมอนิเตอร์ และการบริหารจัดการ โดยสามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ ทุกอุปกรณ์ และทุกเวลา และเป็นการพัฒนาจากการสร้างข้อมูลดิบ เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ได้อย่างฉลาดพร้อมข้อแนะนำ รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบบิวด์-อินมาในตัว ให้ความสามารถด้านการคาดการณ์ และมอนิเตอร์ความปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง



ผมเห็น DCIM นำมาใช้ในหลากหลายแนวทางในอุตสาหกรรมและเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอย่างยิ่ง การเปลี่ยนไปสู่โลกที่เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งก่อนการเกิดโควิด-19 และยิ่งถูกเร่งให้เร็วขึ้นไปอีกในช่วงการแพร่ระบาด โดยทีมงานที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ต่างมุ่งเน้นเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่า DCIM มีความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต

การเติบโตของ DCIM

หนึ่งในความท้าทายที่ซับซ้อนมากที่สุดคือเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์และความยั่งยืนด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามองไปข้างหน้าในอนาคตอันใกล้ และเห็น ความเป็นไปได้ของวิกฤตด้านพลังงานที่เริ่มก่อตัวขึ้นบริเวณเอดจ์ ผู้คนทั่วโลกต่างใช้เซนเซอร์ และมิเตอร์ IoT เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ไฟฟ้ารวมถึงทรัพยากรอื่นๆ เราวิเคราะห์ข้อมูลจากดาต้าเซ็นเตอร์ และนำมารันอัลกอริธึ่มเพื่อเรียนรู้วิธีที่จะสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืนในภาพรวมได้อย่างเหมาะสมที่สุด ดาต้าเซ็นเตอร์แบบไฮบริดที่มีมากขึ้น นอกจากจะให้ศักยภาพในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลแล้ว ยังเป็นหัวใจสำคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในแนวทางที่ยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม เราต้องมั่นใจว่าตัวระบบโครงสร้างไอทีเองก็ต้องให้ความยั่งยืนเช่นกัน

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้พูดเกี่ยวกับหลักการทำงานของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สำหรับการสร้างความยั่งยืนให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ในงานอีเวนท์ Towards Net-Zero ของ DCD ซึ่งผมนำเสนอเรื่อง เมื่อไม่มีแผน B กับการทำงานเพื่อบรรลุการสร้างความยั่งยืนให้ดาต้าเซ็นเตอร์ ผมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงานซึ่งสามารถบรรลุผลสำเร็จได้จากการผสมผสานที่ลงตัวของระบบงานที่เชื่อมต่อกันและบริการซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์ รวมถึงซอฟต์แวร์และระบบวิเคราะห์ แนวทางดังกล่าวช่วยให้มั่นใจว่า DCIM จะมีบทบาทสำคัญใน ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งอนาคต ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมตอบโจทย์ความท้าทายเรื่องความยั่งยืนได้

ทั้งนี้ เราจะยังคงลงทุนใน DCIM อย่างต่อเนื่องแน่นอน เนื่องจากทั้งการมอนิเตอร์และการบริหารจัดการจากระยะไกลนับเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความยั่งยืนและยืดหยุ่นให้กับสภาวะงานด้านไอทีแบบไฮบริด