VMware เผยคนไทย 75% ยินดีวิดีโอคอลล์กับแพทย์ มากกว่าพบหน้าโดยตรง

VMware เผยคนไทย 75% ยินดีวิดีโอคอลล์กับแพทย์ มากกว่าพบหน้าโดยตรง

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ผลการศึกษาของวีเอ็มแวร์ (VMware) พบการบริการและประสบการณ์ผู้ป่วยยุคดิจิทัลกำลังปฏิวัติธุรกิจดูแลสุขภาพในอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีหากสามารถวิเคราะห์โรคได้ดีกว่าแพทย์ที่เป็นมนุษย์ (55%) โดยจะเลือกทำการผ่าตัดแบบส่องกล้องโดยใช้หุ่นยนต์จากระยะทางไกล (54%) เพราะเชื่อว่าช่วยให้อิสระมากขึ้นแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และการรักษาอาการเจ็บป่วยระยะยาว (61%) ขณะที่คนไทย 75% ยินดีวิดีโอคอลล์กับแพทย์ มากกว่าพบหน้าโดยตรง

นายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย VMware กล่าวว่าบริการด้านสุขภาพแบบใหม่ที่สมจริง เช่น การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ทางไกล อุปกรณ์สวมใส่ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่แก่ธุรกิจดูแลสุขภาพและแพทย์ ให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยและตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและเมื่อใด นอกการแข่งขันด้านการผลิตและจัดหาวัคซีน รวมทั้งโซลูชันทางการแพทย์อื่น ๆ เทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญในการติดตามการแพร่กระจาย การทดสอบ และปรับปรุงขั้นตอนการกระจายโดยรวม เพื่อสร้างระบบนิเวศด้านสุขภาพดิจิทัลที่ยืดหยุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“VMware มุ่งมั่นที่จะยกระดับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพชั้นนำในภูมิภาค ด้วยรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งความสามารถในการปรับขนาด และเพิ่มความคล่องตัวในการดูแลผู้ป่วยและการวิจัยทางคลินิก”

เอกภาวิน สุขอนันต์ 
เอกภาวิน สุขอนันต์

ผลศึกษา Digital Frontiers 3.0 จัดทำโดย VMware เผยให้เห็นถึงความตื่นเต้นของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อบริการดูแลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล โดย 66% ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขาชอบการสนทนาผ่านวิดีโอคอลมากกว่าการเข้าร้บคำปรึกษาแบบตัวต่อตัวกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เมื่อมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นที่คาดหวังการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ไม่เสียเวลารอนาน และรักษาได้อย่างแม่นยำไม่ว่าจะอยู่ที่ใดและเมื่อใดก็ตาม นวัตกรรมด้านดิจิทัลเฮลธ์แคร์ที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น วิทยาการหุ่นยนต์และ Telehealth จะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดอนาคตของระบบดิจิทัลเฮลธ์แคร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การศึกษาพบว่ามากกว่าครึ่ง (54%) กล่าวว่าพวกเขาสบายใจและตื่นเต้นที่มีแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการผ่าตัดพวกเขาผ่านระยะทางไกลด้วยหุ่นยนต์มากกว่าแพทย์ที่ขาดประสบการณ์ที่ทำการผ่าตัดด้วยตนเอง ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจ: สหรัฐอเมริกา (42%) ฝรั่งเศส (43%) เยอรมนี (35%) และสหราชอาณาจักร (46%)

นอกจากนี้ ชาวอาเซียน 55% ยังรู้สึกสบายใจและตื่นเต้นที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเรียนรู้ที่จะตรวจหาความผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง แทนที่จะไปพบแพทย์ ขณะที่ 61% ยังเชื่อว่าบริการดิจิทัลเฮลธ์แคร์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่ต้องใช้เวลารักษาระยะยาวเข้าถึงระบบการรักษาได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องเดินทางหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยเพียงเซ็นเซอร์และสามารถตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อวิเคราะห์อาการป่วยเมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์

คนไทยเปิดรับแพทย์ทางไกลสูงกว่าใครในอาเซียน
คนไทยเปิดรับแพทย์ทางไกลสูงกว่าใครในอาเซียน

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาเดียวกันยังเผยให้เห็นว่า มีเพียง 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ที่ยินดีจะพูดคุยกับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล เพื่อลดช่องว่างและผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์ให้มากขึ้น ผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพและผู้ให้บริการหน้าใหม่สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น คลาวด์ โมเดิร์นแอปพลิเคชัน และบิ๊กดาต้า เพื่อเปิดใช้งานและให้บริการด้านเฮลธ์แคร์ที่ดีขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมรองรับอนาคตของ “Connected Healthcare” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วีเอ็มแวร์เชื่อว่าเทคโนโลยีแห่งอนาคตกำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ โดยอธิบายว่าการเปิดรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงสูงอยู่ เนื่องจากผู้บริโภคเชื่อว่าเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นกุญแจสำคัญในการนำเสนอแนวทางแก้ไขในทศวรรษหน้า เห็นได้จาก 82% ที่เชื่อว่าเราสามารถหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อลดการแพร่กระจายของ Covid-19 ซึ่งสูงกว่าประเทศที่ทำการสำรวจอื่น ๆ : สหรัฐอเมริกา (59%) ฝรั่งเศส (60%) เยอรมนี (58%) และสหราชอาณาจักร (58%) ) ขณะที่ 80% เชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้พิการได้

นอกจากนี้ 76% เชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยปรับปรุงการดูแลสุขภาพจิตได้ เช่น การเปิดใช้งานการบำบัดเสมือนจริง และ 74% เชื่อว่าสามารถลดความเสี่ยงของการผ่าตัดแบบสอดเครื่องมือในร่างกายได้อย่างมาก

การศึกษายังพบว่าโอกาสของเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับธุรกิจเฮลธ์แคร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคเปิดรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (70%), 5G (78%) และการจดจำใบหน้า (75%) โดยมากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม (37%) กล่าวว่า 5G จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้อุปกรณ์สวมใส่สามารถตรวจสอบสุขภาพของผู้สวมใส่ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้รับการแจ้งเตือนและตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้ทันที

สำหรับในประเทศไทย นวัตกรรมที่ยืดหยุ่นและการลงทุนในเทคโนโลยี รวมทั้งบริการทางการแพทย์มีส่วนสนับสนุนการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ได้มีการยื่นคำขอลงทุนมากกว่า 50 รายการในโครงการมูลค่ารวม 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สิ่งนี้มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับความต้องการผู้บริโภคชาวไทยที่มีแนวโน้มจะหันมารับบริการด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

ตัวรายงานยังระบุว่า มีเพียง 31% เท่านั้นที่มั่นใจว่าผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์จะดูแลข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัยได้
ตัวรายงานยังระบุว่า มีเพียง 31% เท่านั้นที่มั่นใจว่าผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์จะดูแลข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัยได้

การสำรวจพบว่าคนไทยกว่าครึ่ง (60%) รู้สึกสบายใจและปลอดภัยกับระบบการผ่าตัดแบบส่องกล้องด้วยหุ่นยนต์ในรูปแบบรีโมทมากกว่าแพทย์ลงมือผ่าตัดด้วยตนเอง และ 72% รู้สึกสบายใจและตื่นเต้นที่ได้รับการวินิจฉัยจากคอมพิวเตอร์ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง โดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ จัดว่าสูงที่สุดในประเทศที่ทำการสำรวจ ขณะที่ 68% เชื่อว่าบริการดิจิทัลเฮลธ์แคร์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่ต้องใช้เวลารักษาระยะยาวเข้าถึงระบบการรักษาได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องเดินทางหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยเพียงเซ็นเซอร์และสามารถตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อวิเคราะห์อาการป่วยเมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์

ต้องสร้างความไว้วางใจ

ในเมื่อมีความเป็นไปได้ว่าเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนแปลงโลกของการดูแลสุขภาพได้ วีเอ็มแวร์จึงมองว่าสิ่งที่องค์กรด้านสุขภาพต้องคำนึงถึง นอกจากการสร้างความไว้วางใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดูแลสุขภาพสำหรับอนาคตแล้ว ยังรวมถึงความกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคอีกด้วย

ตัวรายงานยังระบุว่า มีเพียง 31% เท่านั้นที่มั่นใจว่าผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์จะดูแลข้อมูลของพวกเขาให้ปลอดภัยได้ องค์กรด้านสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถรักษาประสบการณ์ด้านสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย และสร้างความไว้วางใจในหมู่ผู้บริโภคเพื่อเร่งสร้างการยอมรับและเชื่อมั่นในนวัตกรรมใหม่เหล่านี้

ในเมื่อเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในอุตสาหกรรม VMware จึงจัดลำดับ 4 ความสำคัญที่องกรค์ต่าง ๆ ควรทราบ เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงของบริการดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนแรกเริ่มที่การเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์เพื่อสร้างมัลติคลาวด์และแอปพลิเคชันที่พร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต โดยเฉพาะการปลดล็อกมัลติคลาวด์สำหรับอนาคตด้วยนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนผ่านแอป เพิ่มความคล่องตัวและปลอดภัยให้สภาพแวดล้อม อันช่วยสร้างนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่องสำหรับการดูแลสุขภาพในยุคถัดไป

ส่วนที่ 2 คือการใช้นวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากรที่ทำงานแบบรีโมท เนื่องจากโซลูชั่นที่รองรับรูปแบบการทำงานของพนักงานในอนาคตจะช่วยให้พนักงานดิจิทัลได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและปลอดภัยยิ่งขึ้น และเร่งให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น ส่วนที่ 3 คือมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริงที่พร้อมรับมือนวัตกรรมที่เกิดใหม่อยู่เสมอ เพราะแนวทางการรักษาความปลอดภัยที่แท้จริงสำหรับองค์กร จะเป็นเกราะอีกชั้นช่วยป้องกันระบบปฏิบัติการที่สำคัญ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนวัตกรรมด้านเฮลธ์แคร์และความยืดหยุ่นที่รวดเร็ว

ส่วนสุดท้ายคือ Software-defined, เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์และการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ องค์กรควรย้ายข้อมูลที่มีความแม่นยำสูงและความหน่วงแฝงไปยังคลาวด์และระหว่าง edge location เพื่อนำเสนอโซลูชันการดูแลเสมือนจริงที่รวดเร็ว ปลอดภัย และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น.