“ฟู้ดแพชชั่น” ปั้นแบรนด์อื่นลดเสี่ยง ดันร้านเกาหลี “เรดซัน” ขึ้นพระรอง

“ฟู้ดแพชชั่น” ปั้นแบรนด์อื่นลดเสี่ยง ดันร้านเกาหลี “เรดซัน” ขึ้นพระรอง

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ฟู้ดแพชชั่น เคลื่อนทัพ เลิกพึ่งหลักแบรนด์หลักบาร์บีคิวพลาซ่า เร่งปัั้นแบรนด์อื่นเสริมแกร่งพอร์ตโฟลิโอ เปิดแผนปั้น “เรดซัน” อาหารเกาหลี เป็นแบรนด์พระรองอันดับสอง จัดทัพใหม่พร้อมรุก

นางสาวบุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่น กล่าวว่า ทางกลุ่มฟู้ดแพชชั่นวางนโยบายการเติบโตด้วยการขยายอาหารแบรนด์ใหม่ๆ ไม่ได้พึ่งพิงเพียงแบรนด์หลักคือ บาร์บีคิวพลาซ่าเพียงแบรนด์เดียวเท่านั้น , ขยายช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆทั้งร้านค้าออฟไลน์ ดีลิเวอรี่ ช่องทางรีเทล ฟู้ดทรัค คลาวด์คิทเช่นเป็นต้น , ขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ และขยายพันธมิตรทางธุรกิจต่อเนื่อง

โดยตั้งเป้าหมายที่จะมีสัดส่วนรายได้จากแบรนด์บาร์บีคิวพลาซ่าไว้ที่ 70% และ ที่เหลือเป็นแบรนด์อื่นๆประมาณ 30% ขณะที่ปัจจุบันบาร์บีคิวพลาซ่ารายได้หลักมากถึง 85-90% จากพอร์ตรายได้ของกลุ่ม ที่มีแบรนด์ต่างๆใสนเครืออีกเช่น   ฌานา, จุ่มแซ่บฮัท, สเปซ คิว และ โภชา ซึ่งสาขาแบรนด์เหล่านี้ยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับแบรนด์บาร์บีคิวพลาซ่า

นอกจากนั้นยังมีแบรนด์ร้านเรดซัน (REDSUN) ร้านอาหารเกาหลี ที่บริษัทเข้าไปถือหุ้นใหญ่ จำนวน 74% ในบริษัท ฟู้ด ซัน จำกัด ตั้งแต่ปี 2562 ส่วนที่เหลือผู้บริหารเดิมถือหุ้นอีก26% ที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและระบบงานต่างๆเพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดจากนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างแบรนด์เรดซันให้ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์สร้างรายได้หลักอันดับที่2รองจากบาร์บีคิวพลาซ่า ซึ่งฟู้ดแพชช่น เคยมีรายได้ประมาณ 4,000 กว่าล้านบาทก่อนโควิด



เนื่องจากเทรนด์อาหารเกาหลีได้กลายเป็นพฤติกรรมที่ผู้บริโภคนไทยนิยมทานกันเป็นปรกติแล้วไม่ได้เป็นแฟชั่น โดยคาดว่าเมื่อปี2562 ตลาดร้านอาหารเกาหลีมีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดโควิด ทำให้ทุกอย่างตกลงหมด ตลาดรวมร้านอาหารและตลาดอาหารเกาหลีตกลง 6%

ล่าสุดฟู้ดแพชชั่นได้เข้ามาร่วมบริหารจัดการและปรับโครงสร้างระบบการทำงานและจัดทัพใหม่อย่างเต็มที่และจริงจังในเรดซัน โดยมีการรวมด้านการตลาด การจัดเตรียมวัตถุดิบ การทำซัพพลายเชน รวมทั้งการย้ายคลังของเรดซันมาอยู่ที่เดียวกับฟู้ดแพชชั่นที่นวนคร และย้ายออฟฟิศมารวมกันที่ฟู้ดแพชชั่น ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จากเดิมที่เรดซันยังบริหารจัดการเอง

นางสาวบุณย์ญานุช กล่าาวว่า ได้วาง4 กลยุทธ์รุกตลาดกลุ่มวัยรุ่นตลาดหลัก เริ่มต้นจากการสร้าง Brand Love ให้เป็นแฟนพันธ์แท้เรดซัน, เพิ่มยอดขายอย่างรวดเร็ว ด้วยโปรโมชั่นโดนใจวัยรุ่น คือ RED SUN BUFFET FAN MEET, Create Store For Me สร้างร้านที่เป็นมากร้าน ให้เป็นพื้นที่ หรือจุดรวมพลของผู้ที่ชื่นชอบอาหาร และรักในวัฒนธรรมเกาหลี และเสริมความแข็งแกร่งด้วยการเข้าใจวัยรุ่น ผ่านการให้บริการจากพนักงาน



นายนพวินท์ รอดริน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดซัน จำกัด กล่าวว่า ในปี2564 นี้เรดซันก็ได้รับผลกระทบเช่นดียวกับแบรนด์อื่นๆ เนื่องจากต้องปิดร้านห้ามนั่งทานเกือบ 3 เดือน เพราะโควิดระบาดมากขึ้น โดยปี 2561 มีรายได้ 100 ล้านบาท จากจำนวน 11 สาขา แต่่ปี2562ที่ฟู้ดแพชชั่นเข้ามาถือหุ้น มีรายได้รวมถึง 185 ล้านบาท โต 85% และเปิดสาขาที่เดอเะมอลล์งามวงศ์วาน และเซ็นทรัลลาดพร้าว ขณะที่ปีที่แล้วได้รับผลกระทบจากโควิดรายได้เหลือ 179 ล้านบาท และเปิดสาขาใหม่ที่เซ็นทรัลเวสเกตุ แต่คาดว่าไตรมาสที่4 ปีนี้จะทำรายได้ประมาณ 66 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วทำได้ 60 ล้านบาท และจะเปิดสาขาใหม่ปลายปีที่เดอะมอลล์ท่าพระ สิ้นปีนี้จะมีรวม 16 แห่ง

สัดส่วนรายได้มาจากนั่งทานในร้านแทบจะ 100% แต่พอเกิดโควิดต้องขยายช่องทางเป็นเทคอะเวย์ ดีลิเวอรี่ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นวัยรุ่นอายุ 18 – 25 ปีมากกว่า 60% ซึ่งจะขยายกล่มุครอบครัวเพิ่มด้วย

“จากการที่ฟู้ดแพชชั่นได้ควบรวมกิจการกับเรดซัน เมื่อปี 62 ได้มีการปรับวิธีการทำงานภายในของเรดซัน โดยใช้หลักการบริหารงานในแบบ Synergy Share Service Model ในสี่แกนหลัก เพื่อให้เกิดทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เติบโตขึ้น สำหรับแกนแรก เป็นเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร อาทิ การพัฒนาศักยภาพพนักงาน และการปฏิบัติงาน แกนที่สอง เสริมแกร่งระบบ Supply Chain การวางวงจร และระบบภายในตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งการเลือกวัตถุดิบ ราคา การขนส่ง และเก็บรักษา จากโรงงานสู่หน้าร้าน แกนที่สาม การยกระดับคุณภาพ QSC มาตรฐานคุณภาพ และความสะอาด และแกนที่สี่ เพิ่มความแข็งแกร่งด้านการตลาดแบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันได้ทีมการตลาดจากฟู้ดแพชชั่นมาบริหารงานอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับเป้าหมายธุรกิจในปีนี้ ในไตรมาสสี่ เริ่มจากการเปิดตัวที่สุดบุฟเฟ่ต์สายเกาหลี “RED SUN BUFFET FAN MEET” คาดการณ์ว่าจะสร้างยอดขายในไตรมาสนี้ มูลค่ากว่า 66-70 ล้านบาท หนุนการเติบโตของยอดขายโดยรวมอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับ RED SUN BUFFET FAN MEET มีมาให้เลือก 3 แบบ คือ แฟนเมด สายหมู สู้ไม่ถอย ราคา 339 บาทบวกบวก, แฟนด้อม สายชิคชีทมีทไก่ ราคา 469 บาทบวกบวก และแฟนไซน์ สายซีฟู้ดคู่สายดอง ราคา 599 บาทบวกบวก