ธปท. แนะเจ้าหนี้-ลูกหนี้ จับมือฝ่าวิกฤต หนุนธุรกิจปรับตัวรับโลกใหม่

ธปท. แนะเจ้าหนี้-ลูกหนี้ จับมือฝ่าวิกฤต หนุนธุรกิจปรับตัวรับโลกใหม่

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ธปท. แนะเจ้าหนี้-ลูกหนี้ประนีประนอมกันมากขึ้น ลด “เส้นแบ่ง” จับมือฝ่าวิกฤต ยันพร้อมออกมาตรการหนุนธุรกิจปรับตัวรับการแข่งขันในโลกยุคใหม่ที่กระแส “ดิจิทัล-ESG” มาแรงและเร็ว พร้อมขอบคุณรัฐบาลขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70%

วันที่ 27 กันยายน 2564 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ มาตรการช่วยเหลือและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยยุคโควิด ในงานประชุมสามัญประจำปี 2564 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่า  ประเทศไทยเคยผ่านวิกฤตที่หนักหน่วงมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตปี 2540 วิกฤตการเงินโลกปี 2551 วิกฤตน้ำท่วมปี 2554 และมาถึงวิกฤตรอบนี้ ซึ่งหนักกว่ารอบก่อน ๆ แต่ภาคอุตสาหกรรมไทยจะผ่านพ้นไปได้อีกครั้ง เพราะมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวได้เร็ว 

โดยเห็นได้จากปีที่แล้ว ในช่วง lockdown ที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากระดับก่อนโควิดถึง 20% แต่สามารถฟื้นกลับมาได้ใน 4 ไตรมาส เช่นเดียวกับช่วงน้ำท่วมปี 2554 ที่ดัชนีฯ ลดลงถึงเกือบ 30% แต่สามารถฟื้นกลับมาได้ภายใน 2 ไตรมาส จึงเชื่อว่า ท้ายที่สุด จะผ่านพ้นจากวิกฤตนี้ไปได้ แต่จะพ้นอย่างไร ในแบบที่ให้คนรอดมากที่สุด ลดแผลเป็นให้เหลือน้อยที่สุด

“สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงแค่แต่ละภาคส่วนทำหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจในบทบาทและข้อจำกัดของกันและกัน เพื่อไม่ให้เกิด “เส้นแบ่ง” ว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ ลูกจ้างหรือนายจ้าง รายเล็กหรือรายใหญ่ เพราะทุกคนต่างก็ได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย และแต่ละคนก็อยู่ในหลายบทบาท มีหมวกหลายใบที่ต้องสวม ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs ท่านก็อาจเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ แต่ในขณะเดียวกัน ท่านก็อาจเป็นเจ้าหนี้การค้า และเป็นนายจ้างของลูกจ้างด้วย ดังนั้น การหันหน้าเข้าหากัน การประนีประนอมกันมากขึ้น และมองให้รอบด้าน จะทำให้เราเห็นทางออกในการก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้อีกครั้ง” ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว


นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการต่าง ๆที่ทำไปแล้ว เป็นมาตรการที่ออกมาเป็นการเน้นเพื่อช่วยให้ธุรกิจและรายย่อยผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปให้ได้มากที่สุด แต่แน่นอนว่าคงยังไม่เพียงพอสำหรับระยะข้างหน้า ที่ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทาย และต้องพยายามเติบโตให้ได้อย่างยั่งยืนในโลกยุคใหม่ ซึ่ง ธปท. พร้อมมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้ทุกฝ่ายสามารถปรับตัวได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านได้อย่างราบรื่นและทันการณ์

ทั้งนี้ การปรับตัวที่จำเป็นต่อการวางรากฐานให้ธุรกิจและเศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งระยะข้างหน้ามีหลายเรื่องเป็นกระแสใหม่ แต่จะมีอย่างน้อย 2 กระแสสำคัญที่มาแรงและมาเร็ว ที่ทุกคนต้องเตรียมรับมือ อย่างแรกคือ กระแสดิจิทัล และ กระแส ESG (Environmental, Social, and Governance) 

“สองกระแสดังกล่าว นับวันจะยิ่งมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ที่สำคัญ เราต้องออกจากวิกฤตนี้ด้วยแผลเป็นที่น้อยที่สุด และมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการปรับตัวรองรับกระแสโลกใหม่ได้ดีขึ้น” นายเศรษฐพุฒิกล่าว

นายเศรษฐพฺฒิ กล่าวว่า สำหรับภาคธุรกิจ ภายใต้บริบทที่ปัจจัยภายนอกมีความไม่แน่นอนสูง การวางแผนทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง การดำเนินกิจการหรือการลงทุนใหม่ จะต้องให้น้ำหนักมากขึ้นกับกระแสโลกใหม่ ทั้งการให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และกระแสเรื่องดิจิทัลที่จะทำให้ธุรกิจต้องแข่งขันกันมากขึ้น 


ในส่วนของประชาชน ต้องเตรียมรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ เร่งวางแผนทางการเงิน จัดเตรียมเงินสำรองสำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางการเงินมากขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องเพิ่มความสำคัญกับการเท่าทันกับกระแสดิจิทัล เพราะนอกจากจะเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับงานในโลกใหม่แล้ว ยังช่วยป้องกันการหลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจมีเพิ่มขึ้นได้

ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวด้วยว่า ในส่วนของภาครัฐเอง ต้องปรับตัวไปสู่การเป็น facilitator โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของเอกชนมากขึ้น และในการแก้ปัญหาวิกฤตโควิดนี้ ภาครัฐได้ดำเนินนโยบายแบบ countercyclical เพื่อเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน

“ต้องขอบคุณภาครัฐ ที่ล่าสุดได้ขยายเพดานหนี้สาธารณะให้สูงขึ้นเป็น 70% แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะดูแลสถานการณ์ให้ได้มากขึ้นและต่อเนื่อง แต่ก็ต้องใส่ใจกับการใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้น ให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้เศรษฐกิจกลับไปเติบโตอย่างเต็มศักยภาพได้ยั่งยืน” ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว