พาณิชย์สานฝันคนรุ่นใหม่ ปั้น Design Service Sandbox 

พาณิชย์สานฝันคนรุ่นใหม่ ปั้น Design Service Sandbox 

  • 0 ตอบ
  • 79 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัวกิจกรรม Design Service Sandbox (สนามทดลองแนวคิดธุรกิจ) ขึ้นเป็นครั้งแรก สานฝันคนรุ่นใหม่ระดมความคิดสร้างสรรค์นำเทคโนโลยี พัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของ SMEs และ Micro SMEs ให้สามารถปรับตัว แสวงหาโอกาส สามารถนำความรู้ด้านการออกแบบและเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับในสากล ล่าสุดจัดกิจกรรม Design Service Sandbox : DEMO Day เปิดเวทีให้นักออกแบบนักพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัล และ SMEs ที่เป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ลงสนามทดลองแนวคิดธุรกิจ (Sandbox) สร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ และขยายโอกาสเติบโตสู่ระดับสากล



หม่อมหลวงคฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมบริการออกแบบ หรือ Design Service Society 2021 ดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในปีนี้ มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการออกแบบ (Design Service) และนักพัฒนาเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ Tech Startup/ SMEs ในคอนเซ็ป “Tech Innovation x Design Creativity” เพื่อดึงศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อผลักดันภาคธุรกิจให้พร้อมรับมือความท้าทายและการแข่งขันในอนาคตของประเทศไทยและในตลาดโลกด้วย Digital Transformation ซึ่งสอดรับกับนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของ SMEs และ Micro SMEs สามารถนำความรู้ด้านการออกแบบและเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจสู่สากล



โครงการ Design Service Society 2021 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมบริการออกแบบ หรือ Design Service ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ช่วยสนับสนุน ยกระดับ ผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยกิจกรรมภายใต้โครงการ ประกอบด้วย

1. กิจกรรมสัมมนาส่งเสริมความรู้ด้านการออกแบบเพื่อการพัฒนาธุรกิจ (Webinar) ภายใต้หัวข้อ “The future of business: transformation through design and technology” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ซึ่งกรมได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการออกแบบและเทคโนโลยีอาทิ เช่น เรื่อง Business Transformation by Design / Design Service / Design-Driven Enterprise และ Digital Solution for Business ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมาก มีผู้สมัครเข้าร่วมกว่า 600 ราย

2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการออกแบบและพัฒนาผลงานต้นแบบ “Design Service Sandbox” ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง นักออกแบบ กับ นักพัฒนาเทคโนโลยี Startup หรือ SMEs ในการขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจใหม่ที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมของประเทศได้ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักออกแบบ นักพัฒนาเทคโนโลยีและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตลอดการรับสมัครโครงการ โดยกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกว่า 200 ราย ซึ่งมีผู้ผ่านคัดเลือกเข้าร่วมทั้งสิ้น 44 ราย โดยผู้เข้าร่วม 44 ราย ได้แบ่งเป็น 10 ทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาผลงานต้นแบบตลอดระยะเวลา 1 เดือน ภายใต้ 4 โจทย์หลัก ได้แก่ Thailand: Kitchen of the World (สรรสร้างนวัตกรรมอาหาร บรรจุภัณฑ์ หรือ บริการ ดันครัวไทยสู่ครัวโลก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แห่งอนาคต), Agricultural Transformation (ปั้นเกษตรอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล คิดค้น Solution ที่ช่วยยกระดับภาคการเกษตรของไทย ให้มีมูลค่าเพิ่มสู่สากล), Innovation Solutions to for a Renewable-Powered Future (ค้นหาคำตอบ สำหรับแหล่งพลังงานทางเลือก สร้างโอกาส ปั้นธุรกิจ รับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) และ Innovation solution for New Normal (คิดค้นนวัตกรรมสินค้าและบริการใหม่ ๆ แก้ปัญหาธุรกิจ คาดการณ์เทรนด์สินค้าในยุค New Normal)

3. กิจกรรมแสดงผลงานต้นแบบ “Demo Day” ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564 เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียจากไอเดียของผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอผลงานและรับฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้บริหารจาก DITP, DEPA, THAI BISPA, SCG Adventure, Banpu และ RISE เป็นต้น จากนั้นกรมจะมีการประชาสัมพันธ์ผลงานต้นแบบให้เป็นที่รู้จัก เพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงศักยภาพอุตสาหกรรมบริการออกแบบให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและสากล โดยกลุ่มผู้ประกอบการและนักพัฒนาเทคโนโลยีสามารถนำความรู้และคำแนะนำไปต่อยอดไอเดียทางธุรกิจในอนาคตได้ รวมถึงมีการผลักดันเหล่านักออกแบบให้สามารถแสดงศักยภาพในเวทีการประกวดระดับนานาชาติ อาทิ DEmark, G-Mark ซึ่งเป็นเวทีประชันฝีมือของบรรดานักออกแบบฝีมือดีและเป็นประตูสู่การแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย



ผลงานที่ชนะรางวัล Design Service Sandbox “Demo Day” ในปีนี้ ได้แก่

รางวัลที่ 1 UPCYDE: แนวคิด Startup ผลิตภัณฑ์รองเท้าจากขยะทางการเกษตร Solution ที่ช่วยแก้ปัญหาขยะทางการเกษตรที่มีปริมาณมาก พร้อมสามารถสร้างมูลค่าเพื่มเติมให้กับขยะทางการเกษตร โดยแปรรูปขยะทางการเกษตร โดยเลือกผลิตรองเท้า (หนังเทียม Vegan Leather) ที่ทำมาจากขยะทางการเกษตร เช่น สับปะรด และ ทุเรียน สนับสนุนให้เกิด Sustainability Society มากยิ่งขึ้น และสนับสนุน circular economy และ waste transformation

รางวัลที่ 2 Happy meal : นวัตกรรมอาหาร Future Food โปรตีนจาก “ไข่ผำ” ต่อยอดวัตุดิบของไทยจับกระแสอาหาร Plant-based จาก "ไข่ผำ" พืชน้ำในประเทศไทย แหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ อัดแน่นด้วยโภชนาการ ผ่านสินค้าต้นแบบอาทิ Green Pearl Protein Bar หลากหลายรสชาติ

รางวัลที่ 3 GachaThani : แนวคิด Art Toy และ AR Guide tour ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี จับเทรนด์การเติบโตของ Art Toy มาสร้างโอกาสเพื่อพัฒนา Gallery platform เชื่อมโยง community ของผู้ซื้อ-ผู้ขายในประเทศไทยผ่านเว็บไซต์ ต่อยอดสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าโดยการนำเทคโนโลยี AR ร่วมถึงเกมเข้ามาใช้งานเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกับลูกค้า