STGT ลั่นรายได้-กำไรสูงสุด ลุยขยายสาขาตลาดอาเซียน

STGT ลั่นรายได้-กำไรสูงสุด ลุยขยายสาขาตลาดอาเซียน

  • 0 ตอบ
  • 79 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




"ศรีตรังโกลฟส์" ลั่นผลงานปีนี้นิวไฮ หลังโควิด-19 ดันลูกค้าใหม่ "ร้านอาหาร-สายการบิน-โรงแรม" พุ่ง สะท้อนผ่านสัดส่วนยอดขายออนไลน์ปีก่อนเติบโต 200% จ่อขยายตลาดต่างประเทศ ลุยตั้งบริษัทในเวียดนาม-อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์ ปีหน้า

ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) !! ผลักดันให้ภาพรวมของ "อุตสาหกรรมถุงมือยาง" มีความต้องการ (ดีมานด์) ทั่วโลกเติบโตอย่าง "ก้าวกระโดด" จากภาวะปกติอุตสาหกรรมเติบโตระดับ 10-12% ต่อปี บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางธรรมชาติและถุงมือยางไนไตรล์รายใหญ่ของโลก เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับปัจจัยบวกดังกล่าว...

"จริญญา จิโรจน์กุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ให้สัมภาษณ์พิเศษ "หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ” ฟังว่า ภาพรวมผลดำเนินงานปี 2564 มีโอกาสเติบโต “สูงสุด” (New High) ทั้งในแง่ของรายได้และกำไรสุทธิ สะท้อนผ่านผลประกอบการ 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 17,331.70 ล้านบาท เติบโต 1,068.7% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และมีรายได้ 28,401.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 227.4% เนื่องจากความต้องการใช้ถุงมือยางในตลาดโลกที่มีอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ระลอกใหม่จากไวรัสกลายพันธุ์ และใช้เพื่อการฉีดวัคซีน


สอดคล้องกับแผนธุรกิจ 4 ปีข้างหน้า (2564-2567) บริษัทตั้งเป้าขยายกำลังการผลิต 80,000 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งคาดว่าในปี 2564 กำลังผลิตอยู่ที่ 36,000 ล้านชิ้นต่อปี โดยมีกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นจะมาจากโรงงานสาขาสุราษฎร์ธานี (SR2) 2,277 ล้านชิ้นต่อปี เริ่มผลิตไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โรงงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี (SR3) 4,000 ล้านชิ้นต่อปี เริ่มผลิตไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โรงงานแห่งใหม่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กำลังการผลิต 17,041 ล้านชิ้นต่อปี เริ่มผลิตไตรมาส 3 ปี 2564 , โรงงานแห่งใหม่ที่ อำเภอสะเดา จ.สงขลา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้บริษัทได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุด 8 ปี โดยกำลังการผลิตของถุงมือยาง PS สงขลาจะอยู่ที่ 2,903 ล้านชิ้นต่อปี เริ่มผลิตไตรมาส 3 ปี 2564 และ โรงงานถุงมือยาง ANV สงขลาอีก 7,258 ล้านชิ้นต่อปี เริ่มผลิตไตรมาส 1 ปี 2565

STGT ลั่นรายได้-กำไรสูงสุด ลุยขยายสาขาตลาดอาเซียน ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างดำเนินการขอสิทธิประโยชน์จาก “การส่งเสริมการลงทุน” (BOI) เพื่อจัดตั้งโรงงานแห่งใหม่ใน จ. ชุมพร กำลังการผลิต 13,064 ล้านชิ้นต่อปี คาดว่าจะเริ่มผลิตในไตรมาส 1 ปี 2565 ส่วน จ.ตรัง บริษัทได้ซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายโรงงานอีก 2 โรงงาน หรือ TG4 กำลังการผลิต 7,465 ล้านชิ้นต่อปี คาดแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปี 2565 และ TG5 กำลังการผลิต 6,169 ล้านชิ้นต่อปี คาดแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ปี 2566 จากปัจจุบันที่อยู่ระหว่างการพัฒนา TG3 กำลังการผลิต 3,110 ล้านชิ้นต่อปี คาดเริ่มผลิตในไตรมาส 4 ปี 2564


รวมทั้ง บริษัทขยายตลาด “ต่างประเทศ” เพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดได้จัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ใน “ประเทศสิงคโปร์” แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าเริ่มดำเนินการขายผ่านบริษัทดังกล่าวได้ในปีหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดจำหน่ายถุงมือยางและบริหารงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งในด้านการผลิตและพัฒนานวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ของกลุ่มบริษัทสู่ระดับสากล

STGT ลั่นรายได้-กำไรสูงสุด ลุยขยายสาขาตลาดอาเซียน พร้อมกันนี้ อยู่ระหว่างเตรียมวางแผนการจัดตั้งบริษัทในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มเติม เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าตลอดจนทำการตลาด เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูงในภูมิภาคอาเซียน 3 ประเทศ คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้นและสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน

จากปัจจุบันที่บริษัทมีสำนักงานในสหรัฐอเมริกา จีน และไทย และจะใช้โมเดลในประเทศดังกล่าวที่ประสบความสำเร็จด้วยดีเป็นต้นแบบ อีกทั้งยังได้ปรับโลโก้ของบริษัทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นแบรนด์ระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จากการวางแผนขยายธุรกิจในต่างประเทศควบคู่กับการลงทุนขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าจะทำให้บริษัทสามารถกระจายและจัดส่งสินค้าในประเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก จากอัตราการบริโภคถุงมือยางที่ยังไม่สูงเท่ากับประเทศในทวีปยุโรป

“การเพิ่มกำลังการผลิตดังกล่าว เป็นการรองรับกับความต้องการใช้ถุงมือยาง เห็นได้จากปัจจุบันความต้องการใช้ถุงมือยางของทั้งโลกยังอยู่ในระดับสูง”

นอกจากนี้ บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ไม่ใช่ถุงมือยาง คาดว่าจะเห็นความชัดเจนในช่วงปีหน้า ซึ่งสินค้าดังกล่าวจะเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจถุงมือยาง 

เขาบอกต่อว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งเห็นได้ความต้องการใช้ถุงมือยางตลาดเริ่มกระจายออกมาในหลากหลายอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ยิ่งเฉพาะที่เห็นสัญญาณชัดเจน อย่างร้านอาหาร, โรงแรม สายการบินต่างๆ และสนามบินเป็นต้น ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวถือเป็น “กลุ่มฐานลูกค้าใหม่” ของบริษัท ซึ่งอนาคตมีแนวโน้มเติบโตอีกมาก รวมทั้งกลุ่มลูกค้ารายย่อยเพิ่มขึ้นมา สะท้อนผ่านช่องทางการขายผ่านอี-คอมเมิร์ซของบริษัทที่มีอัตราการเติบโต 200% ตั้งแต่ปีที่แล้วและต่อเนื่องมาในปีนี้ด้วย

สะท้อนผ่านบริษัทมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ ถุงมือยางธรรมชาติ (แบบไม่มีแป้ง) รุ่น Spectrum ที่เป็นได้มากกว่าถุงมือยางทั่วไป โดยมีสีสันให้เลือกหลากหลาย เช่น สีฟ้า สีชมพู สีม่วง สีดำ เป็นต้น เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนได้ง่ายขึ้น ตอบโจทย์การใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น

ด้วย “จุดเด่น” ของถุงมือยาง Spectrum ได้รับการออกแบบและพัฒนาภายใต้แนวคิด ปกป้องทุกสัมผัส ด้วยความห่วงใย ภายใต้มาตรฐานเดียวกับถุงมือยางธรรมชาติเพื่ออุตสาหกรรมทางการแพทย์ สามารถใช้ทดแทนถุงมือยางไนไตรล์ (ถุงมือยางสังเคราะห์) โดยผลิตจากสูตรน้ำยางพิเศษที่คิดค้นโดยบริษัทจึงมีจุดเด่นด้านความยืดหยุ่นสูงและสามารถยึดเกาะได้ดี ทำให้หยิบจับสิ่งของได้อย่างกระชับ โดยเฉพาะงานที่ต้องหยิบจับชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก มีความหนาในระดับที่เหมาะสม จึงสามารถสวมใส่ได้อย่างสะดวกสบายและไวต่อการสัมผัสในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับถุงมือยางสังเคราะห์

“ดีมานด์การใช้ถุงมือยางทั่วโลกที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันโควิด-19 ตลอดจนการใช้ถุงมือยางเพื่อฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ดังนั้นแผนการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ เดินหน้าขยายการลงทุนโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าตามแผนงานที่วางไว้”

ท้ายสุด “จริญญา” ทิ้งท้ายไว้ว่า มองว่าหลังสถานการณ์โควิด-19 กลับมาคลี่คลายความต้องการถุงมือยางก็ยังมีการเติบโตแต่อาจจะไม่เติบโตหวือหวาเหมือนช่วงโควิดระบาด เนื่องจากเชื่อว่าพฤติกรรมคนเปลี่ยนไปแล้ว และเชื่อว่าระบบสาธารณะสุขในหลายประเทศจะให้ความสำคัญด้านความสะอาดมากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรมด้วย