ราคาต้นกล้าปาล์มแพงพุ่ง ขาดแคลน ขายนาข้าวล้านไร่แห่ปลูก

ราคาต้นกล้าปาล์มแพงพุ่ง ขาดแคลน ขายนาข้าวล้านไร่แห่ปลูก

  • 0 ตอบ
  • 79 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ภาคใต้ลดพื้นที่ปลูกข้าว-แห่โค่นยางนาหันปลูก “ปาล์มน้ำมัน” คืนชีพปี’64 ปลูกต่อ หลังราคาดี 7 บาท/กก. โรงสีใต้เผยพื้นที่ทำนาแหล่งใหญ่ “นครศรีธรรมราช-พัทลุง-สงขลา” ลดลงไป 80% ทำราคาต้นกล้าปาล์มราคาพุ่ง

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา (สกก.ที่ 5) จังหวัดสงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ปีนี้ราคาปาล์มน้ำมันถือว่าดี อยู่ที่ประมาณ 7 บาทเศษต่อ กก.

จากนโยบายของรัฐบาล และผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ออกมาน้อย เป็นแรงจูงใจทำให้มีการลงทุนปลูกกันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันเกิดการขาดแคลน ผู้ลงทุนปลูกต้องมีการสั่งจองล่วงหน้า

การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้มีการขยายตัวเติบโตประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยภาพรวมทางภาคใต้มีปาล์มน้ำมันประมาณ 5 ล้านไร่ โดยปลูกมากใน 2 จังหวัด ได้แก่ จ.กระบี่ และ จ.สุราษฎร์ธานี ประมาณครึ่งหนึ่ง รองลงมาคือ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช และพัทลุงสงขลา และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

โดยพื้นที่ที่มักขยายการปลูกกันมากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่ทำนา โดยเฉพาะลุ่มน้ำปากพนัง เขตรอยต่อ 10 อำเภอ เช่น อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.ปากพนัง อ.เฉลิมพระเกียรติ ฯลฯ จ.นครศรีธรรมราชกับรอยต่อ 2 อำเภอ จ.พัทลุง คือ อ.ป่าพะยอม อ.ควนขนุน และรอยต่อ อ.ระโนด จ.สงขลา โดยปรับเปลี่ยนจากนาข้าวมาลงทุนทำเป็นสวนปาล์มน้ำมัน

“ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงจากนาข้าวมาเป็นสวนปาล์ม เนื่องจากมีการเปลี่ยนมือซื้อขายที่ดินกันเป็นส่วนใหญ่”

นอกจากนี้ ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปาล์มน้ำมันประสบภัยแล้ง ขาดน้ำ และขาดการดูแลใส่ปุ๋ย แต่นับจากนี้อีก 2 ปีข้างหน้า แหล่งน้ำดี มีการใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอดีอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี

โดยที่ผ่านมาทางกรมส่งเสริมฯ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีการจัดตั้งศูนย์ผลิตปุ๋ยชุมชนให้เกษตรกรหันมาผลิตปุ๋ยใช้เอง สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 25-30 เปอร์เซ็นต์ เพราะปุ๋ยผลิตเอง ต้นทุนประมาณ 700 บาท/กระสอบ ขณะที่ซื้อปุ๋ยตามตลาดทั่วไป ประมาณ 1,000 บาทเศษ/กระสอบ

แหล่งข่าวจากวงการปาล์มน้ำมันเปิดเผยว่า เกษตรกรมักจะปลูกพืชเกษตรตามสถานการณ์ราคา วันนี้ปาล์มราคาดี 7 บาท/กก. มีมูลเหตุจูงใจให้มาลงทุนปลูกปาล์ม เมื่อมังคุดร่วง ก็หันไปปลูกทุเรียน


ดังนั้น ภาครัฐควรมีหน่วยงานมาวิเคราะห์ มาเป็นที่ปรึกษาแนะนำในเรื่องการลงทุน และการโค่นของเกษตรกร คอยส่งสัญญาณเตือน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อย่าใช้ราคาเป็นตัวชี้ขาดในการลงทุนปลูก

เจ้าของสวนปาล์มน้ำมันรายหนึ่งใน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ปาล์มน้ำมันในปีนี้เริ่มปลูกกันมาก โดยมีการโค่นยางนาออก หันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน ส่งผลให้ตอนนี้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันราคาได้เริ่มขยับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็น 100-110-120-150 บาทต่อ กก.

เทียบกับหลายปีก่อนราคาต้นกล้าประมาณ 80 บาท/กก. ล่าสุดต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุประมาณ 8 เดือนที่ได้ขนาดปลูกเกิดการขาดแคลน ทำให้มีการนำต้นกล้าที่ยังไม่ถึงกำหนดมาขายในตลาดแทน

“ปาล์มน้ำมันยังไปได้ หากยังมีกฎหมายกำหนดให้ใช้เป็นส่วนผสมพลังงาน เช่น ไบโอดีเซล เป็นต้น”

นายสุชาติ สาเหล็ม อดีตกำนันตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เจ้าของสวนปาล์มน้ำมันและลานรับซื้อปาล์มน้ำมัน จ.พัทลุง เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในปี 2564 ปาล์มน้ำมันราคาดีมาตลอดจนถึงขณะนี้ เพราะไม่มีการนำเข้าปาล์มน้ำมันมาจากต่างประเทศ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อราคาปาล์มน้ำมันไทย

นายสุทธิพร กาฬสุวรรณ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ เปิดเผยว่า การทำนาข้าวยังขาดโครงสร้างพื้นฐานที่ดีทั้งระบบชลประทาน เส้นทางการขนส่ง ฯลฯ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก ข้าวส่งออกได้น้อย ราคาข้าวตกต่ำ เป็นมูลเหตุจูงใจให้ชาวนาเลิกทำนาข้าว แล้วหันไปปลูกอย่างอื่น ๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน

ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำนาข้าวแหล่งใหญ่ทางภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง จ.สงขลา ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย จ.นครศรีธรรมราช ที่มีประมาณ 1.1 ล้านไร่ ตอนนี้มาเหลืออยู่ประมาณ 180,000 ไร่ ลดลงไปประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และเช่นเดียวกับพื้นที่นาข้าว จ.พัทลุง จ.สงขลา ก็ลดลงมาที่ใกล้เคียงกัน โดยหันไปปลูกปาล์มน้ำมันเช่นกัน


นางแจ่ม แก้วขำ ประธานวิสาหกิจชุมชนข้าวซ้อมมือบ้านอ้ายใหญ่ อ.เมือง จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ในกลุ่มที่ทำนามีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ แต่ส่วนหนึ่งได้หันไปพัฒนาปลูกปาล์มน้ำมันแทนจำนวนหนึ่ง และมีแนวโน้มจะเลิกทำนา หันไปปลูกปาล์มน้ำมันกันต่อ เพราะราคาดีประมาณ 5-6-7 บาท/กก. และเก็บเกี่ยวได้ทุก 15 วัน มีรายได้ทุก 15 วัน

นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เปิดเผยว่า ปาล์มน้ำมันราคาได้กลับคืนมาและดี โดยราคาหมุนเวียนตั้งแต่ 5 บาทกว่าถึง 7 บาทกว่า/กก. มาตั้งแต่ต้นปี 2564 จนถึงขณะนี้

ส่งผลให้ปาล์มน้ำมันยังมีการปลูกกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ทำนาข้าวที่ก่อนนั้นได้ปลูกยางพารา แต่ยางพาราในนาข้าวไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้โค่นยางพาราในนาข้าวออก แล้วหันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทนต่อไป แต่บางส่วนก็หันไปทำอย่างอื่น ๆ แทน

นายทศพลกล่าวต่อไปว่า เดิมนั้นพื้นที่ปลูกข้าวรายใหญ่สุดของ จ.นครศรีธรรมราช และทางภาคใต้ คือ อ.ปากพนัง เชียรใหญ่ และ อ.หัวไทร

โดยขณะนี้หันไปปลูกปาล์มน้ำมันถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่ปลูกข้าวรายใหญ่ จ.พัทลุง จ.สงขลา บางส่วนก็หันไปปลูกปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

“ปาล์มน้ำมันยังไม่ล้นตลาด สามารถขยายตัวได้อีกประมาณ 10 ปี ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 5 ล้านไร่”

โดยปาล์มขนาด 30 ไร่ จะให้ผลผลิตประมาณ 10 ตันกว่า/ประมาณ 15 วันเก็บเกี่ยว 1 ครั้ง เท่ากับมีรายได้กว่า 60,000บาท/15 วัน โดยต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันประมาณ 3.80 บาท/กก.