ชง 'นายก'วันนี้เคาะเปิด5จังหวัดปรับเคอร์ฟิวคลายล็อก10กิจกรรมลดวันกักตัว

ชง 'นายก'วันนี้เคาะเปิด5จังหวัดปรับเคอร์ฟิวคลายล็อก10กิจกรรมลดวันกักตัว

  • 0 ตอบ
  • 74 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


จับตาประชุมศบค.ชุดใหญ่วันนี้ นายกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งหัวโต๊ะเคาะเปิดพื้นที่ 5 จังหวัดรับเปิดประเทศ1 พ.ย.ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 เดือน ลดเวลาเคอร์ฟิว 22.00 น.-04.00 น. คลายล็อก 10 กิจกรรมปรับลดเวลากักตัวคนเดินทางเข้าไทยเหลือ 7 วัน เฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดส

วันนี้ (วันที่27 ก.ย.2564)ในการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานในวันนี้ จะมีการพิจารณาในหลายเรื่อง ตามที่ศบค.ชุดเล็กเสนอไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีก 2 เดือน หรือถึงวันที่ 30 พ.ย.

 

พร้อมเสนอให้เลื่อนการเปิดพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้เตรียมเปิดพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง อ.สัตหีบ) เชียงใหม่ (อ.เมือง อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.ดอยเต่า) ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และเพชรบุรี (ชะอำ) จากเดิมวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เลื่อนวันออกไปเป็นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564


นอกจากนี้จะเสนอให้ผ่อนคลายกิจการกิจกรรมที่ถูกสั่งปิดเพิ่มขึ้น 10 ประเภท ได้แก่ 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และวัยก่อนเรียน 2.ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดเอกชน ห้องสมุดชุมชน 3.พิพิธภัณฑ์ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน 4.ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม หอศิลป์ 5.กีฬาในร่ม ในห้องที่มีระบบปรับอากาศ ฟิตเนส 6.ร้านทำเล็บ 7.ร้านสัก 8.ร้านนวด สปา เพื่อสุขภาพ 9.ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ฉายภาพยนตร์ และ 10.การเล่นดนตรีในร้านอาหาร

 

โดยผู้ประกอบการต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงระบบหมุนเวียนอากาศ และจัดสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการ COVID-Free Setting ก่อนเปิดบริการ

 

ส่วนศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า สถานที่กลุ่มกีฬากลางแจ้ง ที่ร่มโล่งมีอากาศถ่ายเทสะดวก การซ้อมของนักกีฬาทีมชาติไทยทุกประเภท และร้านสะดวกซื้อ ตลาดสด ตลาดนัด ให้เฉพาะที่จำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภค และขยายเวลาเปิดให้บริการไม่เกินเวลา 21.00 น. จากเดิมที่เปิดบริการได้ถึง 20.00 น.

ขณะเดียวกัน จะเสนอให้พิจารณาให้ปรับเวลาออกนอกเคหะสถานหรือเคอร์ฟิว จากเดิม 21.00 น. - 04.00 น.ของรุ่งขึ้น ขยับเป็นเวลา 22.00 น. - 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น

 

นอกจากนี้จะเสนอปรับลดระยะเวลาในการกักตัวในสถานที่กักกันของรัฐ โดยให้ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยในทุกช่องทางที่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์มาแล้วอย่างน้อย 14 วัน ให้กักตัวอย่างน้อย 7 วัน และต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 0-1 ครั้งสอง วันที่ 6-7 ส่วนผู้ที่เดินทางเข้าประเทศซึ่งโดยสารมาทางเครื่องบิน และไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ให้กักตัวอย่างน้อย 10 วัน และต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 0-1 ครั้งสอง วันที่ 8-9

 

ขณะที่ผู้เดินทางเข้าประเทศ ไทยทางช่องทางบก และไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ให้กักตัวอย่างน้อย 14 วัน และตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 0-1 ครั้งสองวันที่ 12-13 ทั้งนี้ จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค.

 

สำหรับการเข้าพักที่โรงแรมกักตัวทางเลือกหรือ Alternative Quarantine (AQ) อนุญาตให้ทำกิจกรรมออกกำลังกายกลางแจ้ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน สั่งซื้อสินค้าและอาหารจากภายนอก และประชุมสำหรับนักธุรกิจระยะสั้นได้ ส่วนสถานกักกันของรัฐ หรือ State Quarantine (SQ) และ การกักกันผู้เดินทางในสถานที่เอกเทศ ซึ่งดำเนินการโดยองค์กร หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหรือ Organizational Quarantine (OQ) อนุญาตให้ทำกิจกรรมออกกำลังกายกลางแจ้ง สั่งซื้อสินค้าและอาหารจากภายนอกได้

 

รวมทั้งยังจะเสนอให้พิจารณาแนวทางการเปิดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 น้อยมาก หรือ พื้นที่สีฟ้า โดยกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะและความพร้อมของพื้นที่สีฟ้า คือการจัดพื้นที่ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั้งจังหวัด รวมถึงการจัดพื้นที่ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั้ง อำเภอ ตำบล หรือหมู่บ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของพื้นที่ นอกจากนี้ ยังต้องดูเรื่องการจัดพื้นที่ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ เฉพาะสถานที่ เฉพาะพื้นที่หรือระหว่างสถานที่ ระหว่างสถานที่หรือระหว่างพื้นที่ โดยระบบการเดินจะต้องเป็นแบบ Bubble and Seal ที่เรียกว่า Sealed Route

 

อย่างไรก็ตามการพิจารณาผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมครั้งนี้ จะต้องตอบโจทย์เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับการควบคุมโรคอย่างเหมาะสม โดยต้องมีแผนเตรียมการและทรัพยากรรองรับสถานการณ์ ทางด้านการจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ป้องกันการแพร่ระบาดรวมทั้งสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก