มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 เปิดโลกแห่งความรู้นำสังคม

มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 เปิดโลกแห่งความรู้นำสังคม

  • 0 ตอบ
  • 63 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 ในคอนเซ็ปต์ Virtual Conference เปิดโลกแห่งองค์ความรู้และงานวิจัยครั้งสำคัญในไทย งานเดียวที่รวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย บุคลากรในแวดวงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์การแพทย์ องค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมนำเสนอ แลกเปลี่ยนความรู้และร่วมพัฒนาแนวคิดที่นำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยองค์ความรู้ใหม่

การขับเคลื่อนประเทศด้วยองค์ความรู้ใหม่เป็นอีกก้าวสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย จากการรวมตัวของบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลกับองค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อต่อยอดและร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดเป็นนโยบายชี้นำสังคม ในชื่องาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021” (Mahidol University Social Engagement Forum) ในรูปแบบของงานสัมมนาออนไลน์ (Virtual Conference) ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2564

หัวใจของการจัดงาน  “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021” อยู่ที่การเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิจัย ประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดการผลักดันกระบวนการเชิง Policy Advocacy เพื่อสนับสนุนและผลักดันยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการนำผลงานวิจัยไปสู่การเป็นนโยบายพัฒนาสังคมไทยให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งผลักดันให้เกิดเครือข่ายระหว่างอาจารย์หรือนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดลกับองค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อต่อยอดและร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดเป็นนโยบายชี้นำสังคม

ไฮไลท์ของงานอัดแน่นไปด้วยความรู้ทางด้านวิชาการ จากการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหิดล กับการบรรยายและเสวนาใน 4 หัวข้อ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหิดล  โดยศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล จากการบรรยายหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อสังคม” หัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลกับ Sustainable Development Goals” บรรยายโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ข้อคิดดี ๆ จากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ  ในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลเขยื้อนสังคม”

อีกหนึ่งสาระสำคัญในงานมาจากการเสวนาหัวข้อ มหาวิทยาลัยมหิดลกับการชี้นําสังคม : กรณีศึกษา COVID-19 โดยคณะแพทย์ทั้ง 2 แห่งที่กำลังมีบทบาทสำคัญในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ได้แก่ ศาสตราจารย์ “ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา” - คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ “ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา” - คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่จะถ่ายทอดความรู้ และข้อมูลสำคัญ ทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกันการแพร่ระบาด วิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงการมีส่วนผลักดันให้รัฐบาลกำหนดมาตรการและนโยบายเพื่อควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
การนำเสนอผลงานเชิงวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ในผลงานประเภท Poster Presentation และ Oral Presentation  เพื่อนำเสนอข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย นำไปสู่การผลักดันให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การขับเคลื่อนเป็นนโยบาย ในท้ายที่สุด

ภายในงาน มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 ยังมีพื้นที่เปิดกว้างสำหรับสำหรับ Workshop จากกลุ่มนักวิจัย และกลุ่มผู้ทำงานภาคสังคม ได้แก่  เวิร์คชอป “MU Organic”  วงสนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องหมายมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์จากความร่วมมือของนักวิจัยและเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงการรับรองมาตรฐานอย่างไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการได้ทดลองตรวจสอบแปลงผักแบบ Live ที่จะพาผู้เข้าร่วมไปตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพแปลงผักด้วยกัน  รวมถึง การรณรงค์ลดการบริโภคเกลือโซเดียม ในประชากรไทยเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  การเวิร์คชอปเกี่ยวกับ Social Engagement: แผนภาพแสดงผลกระทบทางสังคม (Social Impact Canvas) ที่จะชวนคนรุ่นใหม่มาเรียนรู้เครื่องมือ และวิธีการใช้เครื่องมือกับงานประเภทต่าง ๆ ในการออกแบบและประเมินผลกระทบทางสังคม และที่พลาดไม่ได้ กับการทำเวิร์คชอปที่เกี่ยวกับ นวัตกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19

กิจกรรม Spatial Chat - Speed Networking ที่จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักนักวิจัยและผู้ทำงานภาคสังคม และร่วมพูดคุยกับคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน กับ Sharing Space เพื่อทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ใน 6 กลุ่มประเด็นหลัก ได้แก่ กลุ่มงานบริการชุมชน  กลุ่มตัวกลางในการสร้าง Impact เช่น Social Accelerator, Social Impact หรือ Corporate CSR  กลุ่มประเด็นเด็กและเยาวชน  กลุ่มประเด็นสุขภาพ กลุ่มประเด็นผู้สูงอายุ และ Inclusiveness และ กลุ่มประเด็นวัฒนธรรม
จากการพบกันของ 3 sectors ได้แก่ กลุ่มผู้ทำงานวิจัย กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย และ ภาคประชาสังคม ในงาน มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 ครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายระหว่างอาจารย์หรือนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดลกับองค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อต่อยอดและร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนทางสังคมที่เกิดประโยชน์กับประเทศในภาพรวม

สำหรับงานแถลงข่าว “งานมหกรรมมหิดลเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2564” MU Social Engagement Forum 2021 (MUSEF 2021) จัดขึ้นในวันอังคารที่ 21 กันยายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์  (Virtual Conference) โดย สื่อมวลชน เข้าร่วมฟังการสัมมนาผ่านระบบ Zoom และรับชมผ่าน Facebook live : MahidolPr เพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19