ปัญหาที่ ‘เอเวอร์แกรนด์’ เผชิญอยู่ จะกระทบเศรษฐกิจจีน

ปัญหาที่ ‘เอเวอร์แกรนด์’ เผชิญอยู่ จะกระทบเศรษฐกิจจีน

  • 0 ตอบ
  • 67 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นักลงทุนทั่วโลกต่างกำลังเฝ้ามองด้วยความกระสับกระส่าย ขณะที่ เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (Evergrande Group) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของจีนพยายามดิ้นรนอย่างหนักเพื่อหลีกหนีไม่ต้องตกอยู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้สินจำนวนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ โดยที่สถานการณ์เช่นนี้ยังกำลังสร้างความหวาดกลัวด้วยว่า มันอาจจะก่อให้เกิดคลื่นช็อกตื่นตระหนกในระบบการเงินลุกลามอย่างกว้างขวางต่อไปอีกด้วย

พวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบของจีนยังไม่ได้พูดออกมาว่า พวกเขาจะทำอะไรเกี่ยวกับ เอเวอร์แกรนด์ นักเศรษฐศาสตร์คาดหมายกันว่าปักกิ่งจะเข้าแทรกแซง ถ้าหากยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์รายนี้และพวกเจ้าหนี้ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับวิธีในการจัดการกับหนี้สินของบริษัท แต่การเข้ามาแก้ไขปัญหาใดๆ ของทางการ คาดหมายกันว่าน่าจะมีการใช้มาตรการซึ่งสร้างความขาดทุนสูญเสียให้แก่พวกเจ้าหนี้ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือผู้ถือหุ้นกู้

รัฐบาลจีน “ไม่ต้องการถูกมองว่ากำลังวางแผนเพื่อช่วยเหลือเอเวอรแกรนด์ให้พ้นจากภาวะล้มละลาย” แต่น่าที่จะหาทางทำให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อ “ลดความเสี่ยงเชิงระบบและควบคุมผลกระทบที่จะทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน” ทอมมี อู่ แห่ง ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ กล่าวคาดการณ์เอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง

เอเวอร์แกรนด์ถือเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บรายใหญ่ที่สุดเท่าที่ปรากฏให้เห็นกันในเวลานี้ จากความพยายามของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการเข้าชะลอระดับการก่อหนี้สินที่กำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปักกิ่งมองว่าสามารถที่จะเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโดยรวม

เฉพาะหน้านี้ พวกนักลงทุนกำลังจับตามองว่า ยักษ์ใหญ่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเซินเจิ้น ติดๆ กับฮ่องกง รายนี้ จะจัดการอย่างไรกับการชำระดอกเบี้ยให้แก่หุ้นกู้ของบริษัทรายการหนึ่ง ซึ่งครบกำหนดชำระในวันพฤหัสบดี (23) นี้

ทำไม เอเวอร์แกรนด์ จึงทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาระหนี้สินของบริษัทได้มากมายขนาดนี้?

เอเวอร์แกรนด์คือใคร

เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 และเป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดของจีนที่สร้างอพาร์ตเมนต์ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้ามากมาย อีกทั้งยังเป็นกลุ่มกิจการเอกชนใหญ่ที่สุดของประเทศนี้
เอเวอร์แกรนด์มีพนักงานกว่า 200,000 คน และสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานในภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกประมาณ 3.8 ล้านตำแหน่ง บริษัทยังเผยว่า มีโครงการต่างๆ ราวม 1,300 โครงการอยู่ใน 280 เมือง และมีสินทรัพย์มูลค่า 2.3 ล้านล้านหยวน (350,000 ล้านดอลลาร์)
สีว์ เจียอิ้น ผู้ก่อตั้งเอเวอร์แกรนด์ ติดอันดับผู้ประกอบการที่รวยที่สุดในจีนเมื่อปี 2017 ด้วยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 43,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ จากข้อมูลของหูรุ่น รีพอร์ต และแม้ถูกมหาเศรษฐีจากวงการอินเทอร์เน็ตแย่งตำแหน่งดังกล่าวไป แต่ปีที่ผ่านมาเขายังครองแชมป์นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รวยที่สุดในจีน และครองอันดับ 1 ในรายชื่อเศรษฐีใจบุญประจำปี 2020 จากการจัดอันดับของหูรุ่น โดยบริจาคเงินเข้าการกุศลราว 2,800 ล้านหยวน (420 ล้านดอลลาร์)
เอเวอร์แกรนด์ยังขยับขยายเข้าสู่ธุรกิจรถไฟฟ้า การพัฒนาสวนสนุก คลินิกสุขภาพ น้ำแร่ และอีกมากมาย

ผลกระทบจากการซวนเซของเอเวอรแกรนด์จนถึงขณะนี้มีอะไรบ้าง

ราคาหุ้นเอเวอร์แกรนด์ที่เทรดในตลาดฮ่องกงดิ่งลง 85% นับจากต้นปีนี้ ส่วนหุ้นกู้ของบริษัทก็ซื้อขายในราคาส่วนลดซึ่งร่วงหนักพอกัน
สีว์ก่อตั้งเอเวอร์แกรนด์โดยใช้เงินที่กู้ยืมมา ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจมากกว่าเงินที่คู่แข่งอื่นๆ ในอุตสาหกรรมกู้มา ข้อมูลจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน เอเวอร์แกรนด์รายงานหนี้ค้างชำระที่มีกับผู้ถือหุ้นกู้ แบงก์ ผู้รับเหมาสัญญาก่อสร้าง และเจ้าหนี้อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 2 ล้านล้านหยวน (310,000 ล้านดอลลาร์)
ในบรรดาหนี้เหล่านั้นมีถึง 240,000 ล้านหยวน (37,300 ล้านดอลลาร์) ที่ครบกำหนดชำระภายในปีนี้ ซึ่งแม้ลดลงจากปลายปีที่แล้ว 28.5% แต่สูงกว่าเงินสดที่บริษัทถือครองมูลค่า 86,800 ล้านหยวน (13,500 ล้านดอลลาร์) เกือบ 3 เท่าตัว ทั้งนี้ จากรายงานการเงินของบริษัท
ต้นปี 2021 เอเวอร์แกรนด์คาดว่า มูลค่าธุรกรรมประจำปีทั้งหมดจะสูงกว่า 2 ล้านล้านหยวน (310,000 ล้านดอลลาร์) โดยบริษัทรายงานกำไรในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ที่ 1,400 ล้านดอลลาร์ แต่ยอดขายกำลังดิ่งลงเนื่องจากข่าวปัญหาเงินสดตึงตัว ทำให้บรรดาว่าที่ผู้ซื้อเกิดความกังวล

ทำไมปัญหาต้องปะทุขึ้นในตอนนี้

เอเวอร์แกรนด์นั้น เผชิญกับข้อจำกัดใหม่ๆ ที่พวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบประกาศออกมาบังคับใช้กับการกู้ยืมซึ่งเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญระยะยาวมากของพรรคคอมมิวนิสต์ ในการทำให้ธุรกิจต่างๆ ลดการพึ่งพิงหนี้สิน

พวกนักเศรษฐศาสตร์เตือนมากว่าทศวรรษแล้วว่า หนี้ที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ของจีนอาจกลายเป็นภัยคุกคามที่มีอันตราย และพรรคคอมมิวนิสต์กำหนดให้การลดความเสี่ยงทางการเงินเช่นนี้เป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ นับจากปี 2018 ทว่า ยอดรวมการกู้ยืมของเอกชน ภาครัฐ และครัวเรือนยังคงพุ่งขึ้นจนอยู่ในระดับเกือบๆ 300% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจเมื่อปีที่แล้ว จาก 270% ในปี 2018 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงผิดปกติสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลางอย่างจีน

รายงานข่าวบ่งบอกให้เห็นว่า เอเวอร์แกรนด์เที่ยวกู้จากทุกแหล่งที่กู้ได้ ซึ่งรวมถึงกำหนดให้พนักงานของผู้รับเหมาสัญญาก่อสร้างของบริษัทต้องซื้อหุ้นกู้เอเวอร์แกรนด์

นิตยสารธุรกิจ ไฉซิน รายงานว่า ปี 2017 ไชน่า ซิติก แบงก์ของทางการจีน ซึ่งตั้งอยู่ในเซินเจิ้น ยอมตกลงปล่อยกู้ให้เป็นจำนวน 40,000 ล้านหยวน (6,200 ล้านดอลลาร์) สำหรับโครงการหนึ่งของเอเวอร์แกรนด์ หลังจากผู้บริหารบริษัทตกลงที่จะลงทุนในโครงการดังกล่าวคนละอย่างน้อย 3 ล้านหยวน (465,000 ดอลลาร์)

สถานการณ์เช่นนี้เข้าทางแผนการปรับโฉมเศรษฐกิจเสียใหม่ของทางการจีนอย่างไร

พรรคคอมมิวนิสต์เดินหน้าสะสางปัญหาหนี้ควบคู่ไปกับส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมุ่งพึ่งพาตัวเอง โดยอิงกับการบริโภคภายในประเทศ แทนที่จะอาศัยการค้าและการลงทุนที่สนับสนุนด้วยการกู้หนี้ยืมสินเหมือนเมื่อก่อน

นอกจากนั้น ในปี 2014 จีนยังเปิดทางให้เกิดกรณีการผิดนัดชำระหนี้สำหรับหนี้ภาคเอกชนเป็นครั้งแรกนับจากการปฏิวัติปี 1949 โดยมุ่งที่จะให้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามบีบให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้มีวินัยมากขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านั้นรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงเพื่ออุ้มลูกหนี้ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องไม่ให้ถึงกับล้มละลาย และหลีกเลี่ยงไม่ให้ตลาดการเงินหวาดผวา หลังจากนั้นมาปักกิ่งก็อนุญาตให้เกิดกรณีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ไม่มีลูกหนี้รายไหนใหญ่เท่าเอเวอร์แกรนด์มาก่อน

โครงการ “นครเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเอเวอร์แกรนด์” (Evergrande Cultural Tourism City) ณ เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู  ซึ่งเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ผสมผสานส่วนที่อยู่อาศัย-การค้าปลีก-บันเทิง เข้าด้วยกัน 
โครงการ “นครเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเอเวอร์แกรนด์” (Evergrande Cultural Tourism City) ณ เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ผสมผสานส่วนที่อยู่อาศัย-การค้าปลีก-บันเทิง เข้าด้วยกัน

แล้วพวกบริษัทนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ เป็นยังไงบ้าง

บริษัทอสังหาฯอื่นๆ อย่างเช่น บริษัทว่านเคอ (Vanke Co.) กิจการรัฐวิสาหกิจอย่าง โพลี่ กรุ๊ป (Poly Group) และ ว่านต๋า กรุ๊ป (Wanda Group) ไม่มีรายงานว่าประสบปัญหาทำนองเดียวกันนี้ แต่สำหรับพวกนักพัฒนาอสังหาฯรายเล็กๆ ลงมาแล้ว มีหลายร้อยรายต้องปิดกิจการ ตั้งแต่ที่พวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบเริ่มเข้มงวดมาตั้งแต่ปี 2017 ในการควบคุมยุทธวิธีต่างๆ ในการระดมทุน เป็นต้นว่า การขายอพาร์ตเมนต์ออกไปก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม อสังหาฯประเภทที่อยู่อาศัยของจีนนั้น ถือกันว่าแทบไม่สร้างความเสี่ยงให้แก่ระบบการเงินเลย สืบเนื่องจากการซื้ออพาร์ตเมนต์นั้นส่วนใหญ่แล้วผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสด ไม่ใช่ด้วยการนำเอาไปจำนองขอกู้เงินสินเชื่อเคหะ เรื่องนี้ทำให้ผลกระทบในลักษณะมีการผิดนัดชำระหนี้ลุกลามต่อเนื่องเป็นระลอกคลื่น ทำนองเดียวกับที่เคยเกิดในสหรัฐฯภายหลังวิกฤตปี 2008 ไม่น่าที่จะเกิดขึ้นมาในจีน และพวกแบงก์เจ้าหนี้ก็สามารถเข้าไปดูแลจัดการได้ง่ายกว่าด้วย

“หากพิจารณาว่าพวกบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีนอยู่ในอาการบวมโตเพราะหนี้สินขนาดไหนแล้ว ก็ชวนให้คิดว่ากำลังใกล้จะเกิดระลอกการผิดนัดชำระหนี้ลุกลามต่อเนื่องกันไปทั่ว” ทว่าปักกิ่งนั้นมีทรัพยากร “ที่จะใช้ป้องกันไม่ให้จีนเกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัวแบบเต็มที่เต็มขนาดได้” ไซมอน แมคแอดัม แห่ง แคปิตอล อีโคโนมิกส์ กล่าวเอาไว้เช่นนี้ในรายงานฉบับหนึ่ง “ถึงแม้มันจะมีข้อบกพร่องอะไรเยอะแยะมากมาย แต่นี่คือผลดีประการหนึ่งของการมีระบบการเงินแบบที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อเทียบกับการมีระบบที่เป็นตลาดเสรีมากกว่า”

จะเกิดลุกลามเพิ่มความเสี่ยงภายนอกจีนหรือไม่

มีนักวิจารณ์ให้ความเห็นผ่านสื่อ (คอมเมนเตเตอร์) บางรายเสนอแนะว่า เอเวอร์แกรนด์อาจก่อให้เกิด“ช่วงเวลาเลห์แมน” (Lehman moment) ของจีนขึ้นมา  ซึ่งเป็นการพาดพิงถึงการล้มครืนของ เลห์แมน บราเธอร์ส ยักษ์ใหญ่วาณิชธนกิจวอลล์สตรีท ในช่วงต้นๆ ของวิกฤตปี 2008 อย่างไรก็ตามพวกนักเศรษฐศาสตร์บอกว่าความเสี่ยงที่กรณีเอเวอร์แกรนด์จะลุกลามแพร่เชื้อไปติดยังตลาดการเงินในวงกว้างนั้น มีอยู่ค่อนข้างต่ำ

“หากเอเวอร์แกรนด์เข้าสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้แบบที่มีการจัดการทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระเบียบ  หรือกระทั่งถึงขั้นล้มครืนแบบยุ่งเหยิงวุ่นวายก็ตามที ก็จะแทบไม่ส่งผลกระทบต่อโลกเลย  นอกเหนือจากทำให้ตลาดเกิดการปั่นป่วนผันผวนกันบ้างเท่านั้น”เป็นความเห็นของ แมคแอดัม แห่งแคปิตอล อีโคโนมิกส์

เอเวอร์แกรนด์นั้นมียอดหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ยังค้างชำระอยู่เป็นจำนวน 18,000 ล้านดอลลาร์ แต่หุ้นกู้เหล่านี้จำนวนมากทีเดียวถือครองโดยพวกแบงก์จีนตลอดจนสถาบันอื่นๆ  และไม่เหมือนกับเลห์แมน ที่มีสินทรัพย์อยู่ในรูปของเครื่องมือทางการเงินซึ่งราคาสามารถเหวี่ยงขึ้นลงได้อย่างแรงๆ  เอเวอร์แกรนด์นั้นมีที่ดินคิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านหยวน (215,000 ล้านดอลลาร์) และมีโครงการที่เสร็จสิ้นไปแล้วเป็นบางส่วน ซึ่งระดับราคาค่อนข้างคงที่ทีเดียว

ถ้าหาว่ากเอเวอร์แกรนด์ถึงขึ้นผิดนัดชำระหนี้แบบชัดเจนสมบูรณ์ ระบบการธนาคารของจีนก็มีผลกำไรปีละ 1.9 ล้านล้านหยวน และทุนสำรองราวๆ 5.4 ล้านล้านหยวนที่สามารถใช้ต่อสู้กับปัญหาหนี้เสีย โดยเงินก้อนมหึมาขนาดนี้ “ย่อมสามารถดูดซับความสูญเสียเช่นนี้ได้อย่างง่ายดาย” แลร์รี หู และซินอี๋ว์ จี แห่ง แมคควอรี กรุ๊ป ชี้เอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง

สถานการณ์จะเป็นยังไงกันต่อไป

พวกนักลงทุนกำลังเฝ้ารอดูว่าหน่วยงานกำกับตรวจสอบของจีนจะทำอะไรกันบ้าง แต่นักวิเคราะห์หลายต่อหลายคนมองว่าหน่วยงานผู้คุมกฎเหล่านี้ดูเหมือนโฟกัสอยู่ที่การปกป้องคุ้มครองผู้ซื้อบ้าน  ด้วยการทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า อพาร์ตเมนต์ไหนที่ผู้ซื้อจ่ายเงินไปครบถ้วนแล้ว จะต้องสร้างกันให้เสร็จ

เท่าที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีการอัดฉีดเงินทองเข้าไปในบริษัทจีนที่ประสบปัญหาสภาพคล่องแห่งอื่นๆ อยู่เหมือนกัน แต่พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่า  ปักกิ่งดูเหมือนมุ่งมุ่นที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าไปทำเช่นนั้นสำหรับกรณีของเอเวอร์แกรนด์

เมื่อเดือนสิงหาคม  บริษัท หัวหรง แอสเซต แมเนจเมนต์ (Huarong Asset Management Co., Ltd.) เป็นกิจการที่ได้รับความช่วยเหลือให้ไม่ต้องล้มละลาย หัวหรง ถือเป็นกิจการแห่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบริษัทกลุ่มหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้เสียที่เจ้าหนี้คือพวกแบงก์ภาครัฐ  ความช่วยเหลือที่ หัวหรงได้รับนั้นอยู่ในรูปการได้เงินทุนอัดฉีดมาจากพวกบริษัทรัฐวิสาหกิจหลายแห่งภายหลังที่บริษัทแห่งนี้ขาดทุนไป 102,900 ล้านหยวน (15,900 ล้านดอลลาร์) เมื่อปีที่แล้ว

สำหรับเอเวอร์แกรนด์ ในจดหมายฉบับหนึ่งส่งถึงพนักงานลูกจ้างของบริษัทเมื่อวันอังคาร (21)สีว์แสดงความเชื่อมั่นว่าบริษัทจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้

“แน่นอนทีเดียวว่า เอเวอร์แกรนด์จะสามารถก้าวพ้นออกมาจากชั่วขณะแห่งความมืดมนอย่างที่สุด  ในเวลารวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” สีว์กล่าวในจดหมายที่ออกมาเนื่องในเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ (Mid-AutumnFestival) ตามประเพณี

(ที่มา: เอพี)