ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมนำเข้า 'โมโนโคลนอลแอนติบอดี'

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมนำเข้า 'โมโนโคลนอลแอนติบอดี'

  • 0 ตอบ
  • 65 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินหายใจและวัณโรค และ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวออนไลน์ในหัวข้อ การรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันและอนาคต และแผนการใช้ยาแอนติบอดีค็อกเทล เพื่อรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย

ศ.นพ.นิธิ กล่าวว่า ในวงการวิชาการการแพทย์ วัคซีนโควิด-19 เองกำลังพัฒนาไม่หยุด ยาเช่นเดียวกัน ส่วนยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นยาสังเคราะห์ ที่จะเข้าไปจับกับไวรัส ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายไม่ได้ ถ้ามียานี้มารักษาผู้ติดเชื้อในระยะต้นที่เริ่มมีอาการ จะช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น อาการไม่รุนแรง และลดการเสียชีวิต ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะมีส่วนในการจัดหา นำเข้า และกระจาย ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นตัวแรกที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ (อย.) ของไทยรับรองให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยจะให้ยานี้ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการระยะแรก แต่มีปัจจัยเสี่ยงว่าจะป่วยหนักหรือเสียชีวิต ยานี้จะช่วยลดการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือไอซียู ซึ่งสำคัญมาก เพราะการลดภาระตรงนี้ลง การดูแลคนไข้อื่นก็จะสบายขึ้น โดยจะนำเข้าและกระจายยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีให้โรงพยาบาลต่าง ๆ



นอกจากนี้ ในส่วนของการศึกษายาต้านไวรัสเอง มีการดำเนินการเช่นกัน เราจะร่วมกับโรงพยาบาลอีก 2-3 แห่ง วิจัยยาต้านไวรัสตัวใหม่เร็ว ๆ นี้ โดยเป็นยาตัวเดียวกับที่อาจารย์กำธรพูดถึง ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบยานั้น เราไม่อยากจำกัดอยู่แต่วัคซีน ซึ่งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เตรียมนำเข้า โมโนโคลนอลแอนติบอดี รักษาโควิด-19 แล้ว

อย่างไรก็ตาม ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีในการป้องกันรักษาโควิด-19 ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับ ต้องมีกระบวนการคัดเลือกว่า ผู้ติดเชื้อกลุ่มไหนจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา