วอนนายกรัฐมนตรี เก็บภาษีบุหรี่อัตราเดียว ร้อยละ 35 ของราคาปลีก

วอนนายกรัฐมนตรี เก็บภาษีบุหรี่อัตราเดียว ร้อยละ 35 ของราคาปลีก

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Beer625

  • *****
  • 3030
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ ผนึกกำลัง วิงวอนนายกรัฐมนตรี อย่าใช้ภาษียาสูบตอบแทนทางการเมือง หวั่นกระทบสุขภาพประชาชน เสนอเก็บภาษีอัตราเดียวที่ ร้อยละ 35 ของราคาปลีก ขีดเส้นกำหนดเพิ่มภาษีตามอัตราเงินเฟ้อทุก 1-2 ปี หากทำได้คาดช่วยลดคนสูบลง ร้อยละ 6.3 แถมรัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 6,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 20 กันยายน ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลกำลังหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับโครงสร้างภาษียาสูบใหม่ ที่จะต้องประกาศบังคับใช้ให้ทันในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เพื่อแก้ปัญหาเรื้อรังที่เกิดจากโครงสร้างภาษียาสูบเดิม ที่ทำให้รัฐมีรายได้จากภาษียาสูบลดลง การยาสูบแห่งประเทศไทยที่เคยมีกำไรปีละกว่า 7 พันล้านบาท แทบไม่มีกำไรนำส่งรัฐติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ชาวไร่ยาสูบได้รับความเดือดร้อนเพราะโควตาปลูกใบยาจากการยาสูบแห่งประเทศไทยต้องลดลง และการสูบบุหรี่ของประชาชนไทยแทบจะไม่ได้ลดลง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าที่จะใช้โครงสร้างภาษีนี้ ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการใช้มาตรการภาษีและราคาควบคุมการบริโภคยาสูบมาโดยตลอด

“ทางสมาพันธ์ฯ เห็นว่า มาตรการภาษียาสูบมีความสำคัญที่สุดในการควบคุมการบริโภคยาสูบ หากบริหารจัดการได้ถูกต้องตามหลักวิชา รัฐจะมีรายรับจากภาษียาสูบเพิ่มขึ้นและการสูบบุหรี่จะลดลง ซึ่งปัจจุบัน ราคาขายปลีกบุหรี่เฉลี่ย 63 บาทต่อซอง ยังต่ำกว่าราคาขายปลีกบุหรี่ที่สะท้อนต้นทุนทางสังคมคือ 72-73 บาทต่อซอง อยู่ประมาณร้อยละ 15” ศ.พญ.สมศรี กล่าว

ศ.พญ.สมศรี กล่าวต่อว่า สมาพันธ์ฯ มีสมาชิกกว่า 900 องค์กรทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วยนักวิชาการสาขาต่างๆ ภาคประชาสังคม และองค์กรทั้งรัฐและเอกชน ขอเสนอข้อมูลและแนวทางในการปรับปรุงภาษียาสูบ ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 1.ยกเลิกโครงสร้างอัตราภาษีตามราคาสองอัตรา ทั้งนี้ การปรับปรุงเพียงเล็กน้อยและใช้ต่อไปเป็นเพียงการประวิงเวลา โดยไม่ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2.กำหนดอัตราภาษีตามราคาเป็นอัตราเดียวคือ ร้อยละ 35 ของราคาขายปลีก หรืออย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 31 ของราคาขายปลีก และ 3.ปรับอัตราภาษีตามสภาพจากมวนละ 1.2 บาท เป็นมวนละ 1.3 บาท (หรือเพิ่มขึ้น 2 บาทต่อซอง) เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และปรับตามอัตราเงินเฟ้อทุก 1 หรือ 2 ปีหลังจากนี้เป็นต้นไป



ด้านศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการเรียนรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การจัดเก็บภาษียาสูบตามราคาอัตราเดียวที่ร้อยละ 35 จะทำให้ราคาบุหรี่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จะส่งผลให้ลดอัตราการบริโภคบุหรี่โดยรวมลงร้อยละ 6.3 และจะลดอัตราการบริโภคบุหรี่ของเยาวชนลงร้อยละ 5.8 ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มรายรับจากภาษียาสูบร้อยละ 9.7 หรือประมาณ 6,000 ล้านบาทส่วนอัตราตามราคาอัตราเดียวที่ร้อยละ 31 จะทำให้ราคาบุหรี่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 จะส่งผลให้ลดอัตราการบริโภคบุหรี่โดยรวมลงร้อยละ 4.3 จะลดอัตราการบริโภคบุหรี่ของเยาวชนลงร้อยละ 4.1 และจะเพิ่มรายรับจากภาษียาสูบขึ้นร้อยละ 6.6 หรือประมาณ 4,100 ล้านบาท นอกจากนี้การเพิ่มอัตราภาษีเฉพาะอีก 2 บาทต่อซอง จะทำให้ราคาบุหรี่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จะส่งผลให้ลดอัตราการบริโภคบุหรี่โดยรวมลงร้อยละ 1.6 จะลดอัตราการบริโภคบุหรี่ของเยาวชนลงร้อยละ 1.3 และจะเพิ่มรายรับจากภาษียาสูบขึ้นร้อยละ 2.5 หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท



นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส กรรมการเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลเป็นห่วงว่า การขึ้นภาษีจะส่งผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบ รัฐบาลก็ควรมีแผนในการให้ความช่วยเหลือ ทั้งการเปลี่ยนอาชีพหรือปลูกพืชทดแทน ตามแนวทางของมาตรา 17 ของอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ซึ่งหากจะต้องจัดสรรเงินช่วยเหลือ ก็จะเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก หากเปรียบเทียบกับจำนวนภาษีที่จะเก็บได้เพิ่มขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่ดี และแผนการช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบ ให้ออกจากอาชีพชาวไร่ยาสูบ รัฐบาลต้องมีความจริงจังตั้งแต่บัดนี้และต่อเนื่อง เพราะแนวโน้มการบริโภคบุหรี่มีแต่จะลดลงตามกระแสโลก ที่ทุกประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาควบคุมยาสูบ ต่างปฏิบัติตามที่อนุสัญญากำหนด ซึ่งจะทำให้การบริโภคยาสูบลดลง ถึงอย่างไรก็ต้องทำให้ความต้องการใบยาสูบลดลงทั่วโลกอย่างแน่นอน

“กรณีกังวลปัญหาบุหรี่หนีภาษี รัฐบาลต้องเร่งลงทุนในสิ่งที่จะสนับสนุนการปราบปราม และลงสัตยาบันในพิธีสารควบคุมการค้า ยาสูบที่ผิดกฏหมาย ของอนุสัญญาควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก เพราะจะเป็นการลงทุนที่คุมค่าและส่งผลระยะยาว ต้องอย่าลืมว่าการควบคุมบุหรี่ผิดกฏหมายให้ลดลง จะส่งผลดีต่อชาวไร่ยาสูบของไทยด้วย เพราะบุหรี่ผิดกฏหมายหรือบุหรี่หนีภาษี ล้วนมาจากต่างประเทศที่เป็นบุหรี่ที่ใช้ใบยาสูบของต่างประเทศทั้งสิ้น” นพ.วันชาติ กล่าว



ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการควบคุมยาสูบ กล่าวว่า การปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ครั้งนี้อยากฝากไปถึงรัฐบาลว่า ควรมีมาตรการควบคุมราคาบุหรี่ไม่ให้บริษัทบุหรี่ฉวยโอกาสลดราคาบุหรี่เพื่อผลประโยชน์ทางภาษี เพราะบุหรี่จัดเป็นสินค้าที่ไม่ปกติ เป็นสินค้าที่ทำลายสุขภาพ ไม่ควรปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกของตลาด หวั่นจะซ้ำรอยปี 2560 ที่บริษัทบุหรี่นอกฉวยโอกาสลดราคา จนทำให้ความนิยมของบุหรี่นอกเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อทั้งการควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศและรายได้ของรัฐ