ส.อ.ท.หนุนนโยบายภาครัฐ เตรียมพร้อมกู้เงินเพิ่มล้านล้านบาทอัด ศก.

ส.อ.ท.หนุนนโยบายภาครัฐ เตรียมพร้อมกู้เงินเพิ่มล้านล้านบาทอัด ศก.

  • 0 ตอบ
  • 65 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ส.อ.ท.หนุนภาครัฐบาลเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะเป็นไม่เกิน 70% เพื่อรองรับการกู้เงินมาดูแลเศรษฐกิจเพิ่มอีก 1 ล้านล้านบาท ย้ำเป็นเรื่องจำเป็นเหตุโควิด-19 การล็อกดาวน์ส่งผลกระทบหนัก แนะใช้มาตรการที่จะทำให้การใช้เงินมีประสิทธิภาพสูงสุด

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลได้มีการพิจารณาทบทวนกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจากเดิมไม่เกิน 60% เป็นไม่เกิน 70% เพื่อรองรับการกู้เงินเพิ่มในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกราว 1 ล้านล้านบาทว่า ส.อ.ท.เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ภาครัฐจำเป็นต้องเตรียมเม็ดเงินดังกล่าวไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ต่อเนื่อง เพราะผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่นำมาสู่การล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านๆ มาส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยชะลอตัว อย่างไรก็ตามวงเงินดังกล่าวจำเป็นต้องวางแนวทางในการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

“ส.อ.ท.สนับสนุนการอัดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 และการล็อกดาวน์ที่ผ่านมาให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี และประชาชน ที่ต้องเร่งกระตุ้นกำลังซื้อในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องวางไว้ในการขับเคลื่อนให้ต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่าหากสิ้นปีนี้การฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนครบ 70% พร้อมกับการเปิดประเทศก็จะทำให้เศรษฐกิจปี 2565 จะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น” นายสุพันธุ์กล่าว

นอกจากนี้ รัฐควรพิจารณามาตรการสนับสนุนลดค่าใช้จ่ายของประชาชนต่อเนื่องทั้งมาตรการลดค่าน้ำ ค่าไฟ และรวมไปถึงการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจมีภาระเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะค่าชุดตรวจโควิด-19 หรือ ATK เช่น การเบิกจ่ายผ่านระบบประกันสังคม การใช้งบสนับสนุน เป็นต้น ส่วนมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อควรจะเดินหน้าดำเนินการต่อเนื่อง อาทิ คนละครึ่ง และหากเป็นไปได้ควรจะพิจารณาหยุดจ่ายเงินประกันสังคมทั้งลูกจ้างและนายจ้างชั่วคราว 6 เดือน เป็นต้น