รู้จักระบบ ENT “เวียดนาม” กำแพงขวาง “ธุรกิจต่างชาติ”

รู้จักระบบ ENT “เวียดนาม” กำแพงขวาง “ธุรกิจต่างชาติ”

  • 0 ตอบ
  • 62 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



อัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในขณะนี้เป็นที่จับตาของนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มองเวียดนามในฐานะฐานการผลิตที่มีศักยภาพ แต่สำหรับธุรกิจการค้าและบริการต่างชาติยังคงต้องเผชิญกับกฎระเบียบของเวียดนาม ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของธุรกิจต่างชาติในประเทศสังคมนิยมแห่งนี้

นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า บริษัทต่างชาติจำนวนมากที่เข้ามาลงทุนดำเนินกิจการในเวียดนามกำลังต้องเผชิญกับอุปสรรคจากระบบการประเมินความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (economic needs test) หรือ “อีเอ็นที”

โดยระบบดังกล่าวบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2007 เมื่อเวียดนามเข้าร่วมองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเวียดนามในการประเมินและตัดสินว่า จะอนุญาตให้ธุรกิจต่างชาติลงทุนเปิดสาขาถูกกฎหมายเชื่อถือได้ใหม่หรือไม่

ซึ่งระบบอีเอ็นทีกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้ธุรกิจต่างชาติหลายรายต้องถอดใจจากการขยายธุรกิจในเวียดนาม เนื่องจากกระบวนการพิจารณาที่ล่าช้าและที่ไม่ชัดเจน

อย่างกรณี “อีมาร์ต” (E-Mart) เชนร้านค้าปลีกรายใหญ่อันดับ 2 ของเกาหลีใต้ที่เข้ามาลงทุนเปิดไฮเปอร์มาร์เก็ตสาขาแรกในนครโฮจิมินห์ตั้งแต่ปี 2015 แต่อีมาร์ตไม่สามารถขยายสาขาได้ เนื่องจากต้องเผชิญอุปสรรคจากระบบอีเอ็นที


ทั้งที่ธุรกิจค้าปลีกในเวียดนามมีแนวโน้มที่ดีมาก ตามข้อมูลของบริษัทวิจัย “นีลเส็น โฮลดิ้งส์” ระบุว่า จำนวนร้านสะดวกซื้อในเวียดนามปี 2020 เพิ่มขึ้น 6.7% จากปีก่อนหน้า ขณะที่จำนวนซูเปอร์มาร์เก็ตก็เพิ่มขึ้น 3.8% ในช่วงเวลาเดียวกัน

กระทั่งเดือน พ.ค. 2021 อีมาร์ตก็ตัดสินใจขายหุ้น 100% ให้กับ “ทาโก้ กรุ๊ป” (THACO Group) ธุรกิจยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อย่าง “มาสด้า” และ “เปอโยต์”

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว อีมาร์ตจะได้รับค่าสิทธิ (royalty fee) ตามสัญญาแฟรนไชส์จนถึงปี 2030 ขณะที่ทาโก้ กรุ๊ป ตั้งเป้าจะเปิดไฮเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มอีก 3-4 สาขาภายในปี 2022 พ่วงกับการขยายโชว์รูมรถยนต์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท

ลักษณะเช่นนี้ยังเกิดกับธุรกิจข้ามชาติรายอื่น เช่นที่ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ที่ขายสิทธิแฟรนไชส์ให้กับ “เซเว่น ซิสเต็ม เวียดนาม” และ “ดังกิ้น โดนัท” ที่ดำเนินการโดย “เวียดนาม ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ”


ขณะที่ธุรกิจต่างชาติบางรายก็เลือกใช้ช่องทางหลบเลี่ยงระบบอีเอ็นที เช่น การเปิดสาขาใหม่ในห้างสรรพสินค้าและมีขนาดร้านไม่เกิน 500 ตร.ม. ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องผ่านการประเมินของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

“เฟรด เบิร์ก” ที่ปรึกษาอาวุโสของบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เบเคอร์ แมคเคนซี ระบุว่า กระบวนการอีเอ็นทีเป็นภาระหนักและเป็นอุปสรรคที่สร้างความล่าช้าในการเติบโตให้กับบริษัทต่างชาติ ทั้งยังเป็นการฉุดรั้งการลงทุนจากต่างประเทศและการเติบโตของเวียดนามด้วย

ขณะที่ “ฌอน ที โงะ” ซีอีโอของบริษัทที่ปรึกษาการตลาด เอฟวี แฟรนไชส์ คอนซัลติ้ง มองว่า เวียดนามยังคงเป็นตลาดกำลังพัฒนาและธุรกิจท้องถิ่นยังต้องการเวลาเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขัน “ซึ่งระบบอีเอ็นทีช่วยให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศค่อยเป็นค่อยไปและสามารถควบคุมได้”

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามเริ่มผ่อนปรนข้อกำหนดมากขึ้น โดยอนุญาตให้บริษัทในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) และประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ไม่ต้องอยู่ภายใต้ระบบอีเอ็นที แต่บริษัทต่างชาติอื่น ๆ ยังคงถูกจำกัดควบคุม ท่ามกลางโอกาสในเศรษฐกิจของเวียดนามที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง