myHealthGroup สตาร์ทอัพน้องใหม่นวัตกรรมดูแลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชั่น

myHealthGroup สตาร์ทอัพน้องใหม่นวัตกรรมดูแลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชั่น

  • 0 ตอบ
  • 74 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chanapot

  • *****
  • 3237
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




“myHealthFirst” แอปพลิเคชั่น ที่เกิดจากแนวคิดของหมอและวิศวกร ประกอบด้วย นพ.เอกกร วงศ์หิรัญเดชา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน anti-aging medicine and wellness care ,ดร.ฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ปริญญาเอก ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และML, นพ.เอกทิตย์ กู้ไพบูลย์ ประสาทศัลยแพทย์และธุรกิจศูนย์ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ-โรคเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียง ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชั่นสุขภาพ เพื่อช่วยให้คนไทยสามารถดูแลสุขภาพได้ทุกที่ บุคลากรทางการแพทย์ยังได้ข้อมูลสำคัญสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยกรณีเหตุฉุกเฉินได้ทันเวลา พบหมอได้รวดเร็ว

นพ.เอกกร วงศ์หิรัญเดชา เปิดเผยถึงที่มาของการก่อตั้งบริษัท มาย เฮลท์ กรุ๊ป จำกัด หรือ MHG ว่า MHG เกิดขึ้นทีหลังแอปพลิเคชั่น myhealthFirst โดยกลุ่มผู้ที่รู้จักบริษัทในยุคก่อตั้ง มักเรียกชื่อของ myHealth หรือ HealthFirst มากกว่า โดยบริษัทมีแนวคิดเพื่อให้มีแอปพลิเคชั่นสุขภาพ นวัตกรรมที่บันทึกผลการตรวจสุขภาพ ผลเลือด (checkup) ประวัติการรักษา ผ่าตัด ยาที่กินประจำ ประวัติแพทย์ จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เราไปรักษาเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของเราได้ทุกที่ และยังให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ข้อมูลสำคัญ สามารถช่วยชีวิตเรากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (health information exchange;HIC) จนถึงสามารถบันทึกสัญญาณชีพของเราที่บ้าน เช่น ความดันโลหิตทุกเช้า อาหารที่ท่านกิน การออกกำลังกาย (complete patient portal)  และทั้งหมดถูกกฎหมายเชื่อถือได้เป็นที่มาของแอปพลิเคชั่น myHealhFirst (สุขภาพต้องมาเป็นอันดับแรก)


“ตอนที่เริ่ม MHG ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลานั้น กระแส Healthtech Startup ในประเทศไทยเริ่มมีมาแล้ว แต่ในภาคใต้ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงไม่ค่อยเข้าใจวงการนี้มากนัก ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับธุรกิจ SMEs จึงมองภาพไม่ออก จนกระทั่งมีการจัดสัมมนา Healthech สัญจรขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นโอกาสให้พวกเราได้เข้าร่วมสัมมนาจนพัฒนามาเป็นผู้บรรยายในภายหลัง”

นพ.เอกกร วงศ์หิรัญเดชา
นพ.เอกกร วงศ์หิรัญเดชา

ทั้งนี้ ในปี 2561 เป็นปีแรกที่บริษัทฯเปิดตัวในงานสำคัญระดับประเทศหลายงาน เช่น งานสัมมนาเรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทยในยุคนวัตกรรม: ความท้าทายและโอกาส จัดขึ้นโดยธนาคารโลกประจำประเทศไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอแอปพลิเคชั่น myHealthFirst อย่างเป็นทางการในงาน Startup Thailand 2018
ดร.ฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบัน MHG มีการพัฒนางาน 5 ส่วนหลักคือ ประกอบด้วย
1.Smart hospital system สำหรับโรงพยาบาลที่มีระบบ HIS (Hospital Information Systems) หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล แต่ต้องมีแอปพลิเคชั่น ระบบนัด ระบบคิว ระบบตรวจสุขภาพและรายงานผลผ่านแอปพลิเคชั่น, ระบบรวบรวมการสตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์จาก Internet of Medical Things (IoMT) ในโรงพยาบาลและที่บ้าน เช่น อุปกรณ์สวมใส่และอุปกรณ์เชื่อมต่อทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ตรวจสอบการออกกำลังกายการนอนหลับและพฤติกรรมสุขภาพ รวมทั้งระบบ Smart IPD, Telemedicine, ระบบ SOS with real-time ambulance location เป็นต้น

2.Patient portal ส่วนนี้เป็นระบบที่สามารถบันทึกผลตรวจสุขภาพผลเลือดและยา เมื่อผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลและรวมกับผลการตรวจสัญญาณชีพที่บ้าน (IoMT myHealth Care at home) การออกกำลังกาย การทานอาหาร ทั้งหมดบันทึกผ่านแอปพลิเคชั่น myHealthFirst และยังสามารถปรึกษาอาการกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลโดยตรง เช่น คลินิกโรคเรื้อรัง (NCD; โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง-หัวใจ และกายภาพบำบัด (Realtime clinic monitoring) ผ่านระบบ Telemedicine ในแอปพลิเคชั่นได้ทันที
3.Telemedicine ระบบแพทย์ทางไกลผ่าน Video call

ดร.ฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์
ดร.ฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์

4.NCDs monitoring platform ระบบติดตามสถานะสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยสามารถวัดค่าสุขภาพและส่งข้อมูลของตัวเองได้รายวันผ่านเครื่องแท็บเล็ตที่มีการรับค่าอัตโนมัติจากอุปกรณ์วัดค่าสุขภาพต่าง ๆ เช่น เครื่องความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ, เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว, เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย, เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด และเครื่องชั่งน้ำหนัก หรือบันทึกข้อมูลสุขภาพผ่าน  Application myHealthFirst ได้เช่นเดียวกัน  ซึ่งข้อมูลสุขภาพที่บันทึกจะส่งไปแสดงในระบบหลังบ้าน (myHealthWorld) สำหรับให้ทีมแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล เฝ้าสังเกตและติดตามข้อมูลสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ ไปยังผู้ป่วยและทีมดูแล เมื่อค่าสุขภาพมีความผิดปกติ และยังสามารถพูดคุยปรึกษาแพทย์แบบวิดีโอคอล ผ่านชุดอุปกรณ์(แท็บเล็ต) หรือ Application myHealthFirst ได้
5.Corporate Wellness checkup system ส่วนที่บริษัทร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ออกให้บริการตรวจสุขภาพในโรงงาน-นิคมอุตสาหกรรม ผ่าน program myHealthMob สามารถรายงานผลจัดพิมพ์สูมบูรณ์แบบอย่างรวดเร็วผ่านระบบ web application myHealth World และ โมบาย แอปพลิเคชั่น myHealthFirst ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ Big Data – ดูแลสุขภาพพนักงานผ่านระบบ myHealthPeek และ Smart nursing room
นพ.เอกทิตย์ กู้ไพบูลย์ กล่าวว่า แอปพลิเคชั่น myHealthCare ช่วยให้เกิดการดูแลสุขภาพพนักงานที่ดี (health and productivity) ถือว่าตอบโจทย์การดูแลสุขภาพยุค  new normal ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 และหลังจากนี้ทาง MHG มองว่าการเข้าถึงการบริการทางสุขภาพและสาธารณสุขจะเปลี่ยนไปด้วยการให้บริการ ได้แก่
ในฝั่งผู้ให้บริการ (Health Care provider) ในสถานการณ์ที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ยังเพิ่มโอกาสก้าวเข้าสู่ smart hospital service สามารถให้บริการที่หลากหลายดูแลสุขภาพทั้งในและนอกโรงพยาบาล, ติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างใกล้ชิด (Realtime clinic and IoMT), เพิ่มช่องทางการติดต่อให้แก่ผู้ป่วย (Telemedicine) โรคอย่างง่ายสามารถให้บริการผู้ป่วยนัดหมาย เปิดให้พบ(visit) ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ามาที่โรงพยาบาลเพื่อลดการพบปะผู้คน เป็นต้น ส่วนในสถานการณ์ที่ยังมีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในกลุ่มโรงพยาบาลสนาม , Hospital and Home isolation และจากประสบการณ์ที่ MHG ได้รับความไว้วางใจให้บริการแก่โรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ สามารถเป็นเครื่องยืนยันถึงระบบที่มีประสิทธิภาพ

นพ.เอกทิตย์ กู้ไพบูลย์ 
นพ.เอกทิตย์ กู้ไพบูลย์

ในฝั่งผู้ป่วยหรือผู้รักสุขภาพทำให้เข้าถึงด้วยการให้บริการ myHealthFirst สามารถลดการเดินทาง ลดระยะเวลาในการไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล สามารถเลือกใช้บริการดูแลสุขภาพทั้งในและนอกโรงพยาบาล สามารถติดตามดูแลรักษาโรคเรื้อรัง (Realtime clinic and IoMT), รวมถึงบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน Home isolation กับโรงพยาบาลชั้นนำ
"แม้ในปี 2564 โลกจะอยู่ในช่วงที่ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 รุนแรง ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ด้วยบริการของ MHG ที่ตอบโจทย์ในสถานการณ์ฯ MHG จึงเป็นสตาร์ทอัพที่สามารถสร้างรายได้เติบโตจากธุรกิจของเรา จนเป็นที่สนใจของ VC หลายราย และภูมิใจที่บอกกับทุกคนว่าเรามีโอกาสก้าวไปกับองค์กรชั้นนำโดยเราสามารถ raise fund series A จาก Nexter Ventures บริษัทในเครือของ SCG" 
นอกจากนี้ MHG ยังได้รับความไว้วางใจและเสียงตอบรับเป็นอย่างดี เมื่อร่วมงานไปกับหน่วยงานทั้งระดับประเทศและต่างประเทศ ได้แก่
ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ SCG DoCare ให้บริการระบบดูแลผู้ป่วยโควิด-19 IoMT Home isolation และร่วมทำงานวิจัย
ร่วมกับ SCG DoCare จัดทำระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง IoMT Care Connect โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และธนาคารกสิกรไทย จัดทำระบบดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลสนาม COVID-19 IoMT myHealthCare และร่วมทำวิจัย
ร่วมกับภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดทำแอปพลิเคชั่น
ร่วมกับ SCG DoCare จัดทำระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
ร่วมกับ SCG DoCare จัดทำระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สถาบันพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
ร่วมพัฒนาวิจัยอย่างต่อเนื่องการใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ในทางการแพทย์ร่วมกับ Quadrant Health, USA.
สำหรับการทำงานของ myHealthFirst แอปพลิเคชั่นที่อำนวยความสะดวกทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการดูแลสุขภาพและการไปโรงพยาบาล ทำงานเป็นระบบโซลูชั่นตั้งแต่การรับบัตรคิวผ่านตู้คิวอัจฉริยะ(Kiosk) ระบบมีการเชื่อมต่อกันกับสถานพยาบาล ผู้ใช้งานเพียงแค่เสียบบัตรประชาชน พร้อมพบคุณหมอได้ทันที และยังสามารถดูคิวผ่านแอปพลิเคชั่นทางสมาร์ทโฟน  และตู้ Digital Signage (จอแสดงคิว)  โดยคิวของผู้ใช้งานจะส่งผ่าน Notification ผ่านทางแอปพลิเคชั่น myHealthFirst ทางสมาร์ทโฟนอยู่เสมอเมื่อใกล้ถึงคิว และเข้ารับบริการสามารถติดตามอาการได้สม่ำเสมอ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาล