นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงานเป็นประธานว่า กบอ.รับทราบ ความคืบหน้าการลงทุน
ซื้อหวยออนไลน์โครงการอีอีซี ระยะ 3 ปีที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในปี 2561 ถึงเดือนมิ.ย.64 มีการลงทุนที่ได้รับอนุมัติแล้ว 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 94% จากเป้าหมายแผน 5 ปี(2561-2565) ที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้แบ่งเป็นการลงทุน 3 ส่วนได้แก่
1.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนร่วมลงทุน (PPP) 4 โครงการหลัก (รถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบัง) มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท แบ่งเป็น ทุนจาก ภาคเอกชน 387,018 ล้านบาท หรือ 61% จากภาครัฐ 196,940 ล้านบาท หรือ 39%
2.การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย จากการออกบัตรส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มูลค่า 878,881 ล้านบาท โดยโครงการ ที่ขอยื่นส่งเสริมลงทุนช่วงปี 2560 ถึง มิ.ย.64 ลงทุนจริงแล้วกว่า 85% 3.การลงทุนผ่านงบบูรณาการอีอีซี มูลค่า 82,000 ล้านบาท
โดยบีโอไอรายงานว่าช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 มีการขอส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี 1.26 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% จากปีก่อน โดยจำนวนขอโครงการสูงสุดคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ส่วนเงินลงทุนสูงสุดคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) คิดเป็น 64% ของคำขอลงทุนในอีอีซี ซึ่งนักลงทุนที่สนใจมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ตามลำดับ โดยคาดว่าช่วง 6 เดือนหลังการขอการส่งเสริม การลงทุนในอีอีซีจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.0-2.5 แสนล้านบาท
สำหรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะทำให้อีอีซีบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่วางไว้ 1.7 ล้านล้านบาท เร็วกว่ากำหนดถึง 1 ปี ดังนั้น กบอ.จึงตั้งเป้าหมายการลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้น ใน 5 ปีข้างหน้า เป็น 2.5 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มการลงทุนให้ได้อีกปีละ 5 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1.การขอส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ 2.5 แสนล้านบาท 2.การเร่งรัดและชักจูงการลงทุน ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ ครอบคลุม รถยนต์ไฟฟ้า (EV) สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือการแพทย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 5G รวมปีละไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท 3.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ครอบคลุมการพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภา การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง รวมปีละ 1 แสนล้านบาท
"อีอีซียังเติบโตต่อเนื่องและขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ซึ่งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 1.0-1.5% แต่อีอีซีเติบโตถึง 3.5% จากการผลิตเพื่อส่งออกที่เติบโต ทั้งนี้ระยะต่อไปอีอีซีจะเป็น พื้นที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยระยะ 5 ปีข้างหน้าคาดว่าการลงทุนจะทำได้ ปีละ 5 แสนล้านบาท"
นอกจากนี้ กบอ.พิจารณาแผนการดำเนินงาน ด้านสิทธิประโยชน์ โดยขยายมาตรการสนับสนุนการลงทุนจากโครงการที่เป็นนโยบายสำคัญสู่การให้สิทธิประโยชน์แก่ ผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โดยเริ่มนำร่องที่เขตส่งเสริมเมืองการบิน ภาคตะวันออก (EECa) ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือ แซนด์บ็อกซ์ "การปฏิรูปและยกระดับประเทศไทยก้าวสู่ 10 อันดับของประเทศที่ประกอบธุรกิจง่ายที่สุด"
ทั้งนี้ กบอ.มอบหมายให้ สกพอ.จัดทำร่าง ประกาศสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษที่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและที่มิใช่ภาษีอากร เพื่อสนับสนุนการลงทุนในอีอีซี โดยเน้นกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ ใช้นวัตกรรมขั้นสูงและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ภายใต้การออกแบบสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นต้นแบบการปฏิรูประบบราชการที่ใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในการลงทุน และเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
ขณะเดียวกัน กบอ.พิจารณาแผนดำเนินการโครงการ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ EECd กำหนดแผนปฏิบัติการปี 2564-2565 จำนวน 4 แผนหลัก คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ได้แก่ 1.จัดทำแผนการดำเนินโครงการ 2.การจัดทำ แนวคิดออกแบบโครงการ 3.การวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค 4.การจัดทำแผนดึงดูดนักลงทุนและสิทธิประโยชน์ ตั้งเป้าหมายไตรมาส 4 จะทำความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เพื่อศึกษาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของโครงการ พร้อมเจรจาร่วมกับบริษัทและหน่วยงานที่สนใจร่วมลงทุน และออกแบบรายละเอียดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่ช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2565
สำหรับการพัฒนาโครงการ EECd แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ระยะที่ 2 พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์บริการต่างๆ ระยะที่ 3 พัฒนาพื้นที่ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล และระยะที่ 4 พัฒนา พื้นที่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ผสมผสานระบบนิเวศ เพื่อการอยู่อาศัยในโลกยุคใหม่ โดยตั้งเป้า ให้ EECd เป็นเมืองดิจิทัลระดับโลกในภูมิภาค เป็นศูนย์กลางลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลแห่งอนาคต และเป็นเมืองอัจฉริยะโดยใช้หลักคิดการพัฒนาเมืองที่เติบโต อย่างยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้
โดยผลการพิจารณาของ กบอ.ในครั้งนี้ จะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในกลางเดือน ต.ค.นี้