SCB CIOมองตลาดเงินผันผวน-หุ้นสหรัฐฯ-ยุโรปน่าสนใจ

SCB CIOมองตลาดเงินผันผวน-หุ้นสหรัฐฯ-ยุโรปน่าสนใจ

  • 0 ตอบ
  • 82 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




SCB Chief Investment Office (SCB CIO)เปิดรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนกันยายน 2021 วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เริ่มแตกต่างตามความรวดเร็วในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets: DMs) และกำลังพัฒนา (Emerging Markets: EMs) โดยเฉพาะการส่งสัญญาณซื้อหวยออนไลน์จากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed)ที่จะเริ่มทำ QE tapering ภายในปี 2021 นี้ 2) ภูมิคุ้มกันของ EMs ประเทศ ต่อความผันผวนของตลาดการเงินโลก และ 3) บทเรียนต่อตลาดการเงินโลกจากการทำ QE taper ของ Fed ในปี 2013 และความแตกต่างของการทำ QE taper ในรอบนี้ 

SCB CIO วิเคราะห์ธนาคารกลางหลักโดยคาดว่า Fed จะส่งสัญญาณ QE taper ที่ต่อเนื่องและชัดเจนขึ้นในการประชุม 21-22 กันยายนนี้ ซึ่งต่างจาก 2013 QE taper ที่เป็นการประกาศที่สร้างความตกใจให้ตลาด โดยในรอบนี้ทั้งผู้ร่วมตลาดและ Fed ล้วนมีบทเรียนจากปี 2013 นอกจากนั้น Fed เองได้ทำการส่งสัญญาณล่วงหน้าทำให้ตลาดเริ่มมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งสัญญาณชัดเจนในการแยกการตัดสินใจประเด็น QE taper ซึ่งคาดว่าจะประกาศรายละเอียดและเริ่มทำในช่วงการประชุมของ Fed 2-3 พ.ย. และการขึ้นดอกเบี้ยซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในครึ่งแรกปี 2023F ออกจากกัน ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรน่าจะเพิ่มขึ้นแบบช้าๆ ทำให้ผลกระทบต่อตลาดการเงินโลกไม่รุนแรงเท่ากับการทำ QE taper ในปี 2013 
ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB)ก็ได้มีการส่งสัญญาณลดการเข้าเข้าสินทรัพย์อย่างช้าๆ ภายใต้โครงการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ซึ่งจะเริ่มในไตรมาส 4 ปีนี้ แต่จะยังคงการทำ QE ภายใต้โครงการ Asset Purchase Program (APP) ไว้ต่อ ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปของเยอรมนีที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 กันยายนไม่น่าจะทำให้ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่การเลือกตั้งสภาล่างและนายกคนใหม่ของญี่ปุ่นน่าจะตามมาด้วยนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นไล่ตามประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ให้ทัน 

ส่วนประเทศในกลุ่ม EMs ที่ฟื้นช้าต้องระวังความผันผวนในตลาดหุ้นและค่าเงิน จากบทเรียนปี 2013 บ่งชี้ว่าในตลาดหุ้นทั่วโลก ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบน้อยกว่าตลาดอื่นทั้งในแง่การปรับตัวลดลงและระยะเวลาฟื้นตัว ตามมาด้วยตลาดหุ้นยุโรป ไต้หวัน เกาหลีใต้ โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเนื่องจากปรับขึ้นไปอย่างมีนัยในช่วงก่อนหน้า แต่ก็สามารถทยอยฟื้นตัวกลับมาได้ ในขณะที่กลุ่มประเทศ EM เช่น จีน ไทย อินโดนีเซีย บราซิล ตุรกี และแอฟริกาใต้ ได้รับผลกระทบหนักต่อทั้งตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และค่าเงิน โดยในช่วงปลายปี 2021F คาดว่าอัตราผลตอบแทน US treasury จะอยู่ที่ประมาณ 1.6% ซึ่งเป็นการขยับขึ้นแบบช้าๆ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบจำกัดต่อหุ้นกลุ่ม quality growth ที่ผลประกอบการยังเติบโตต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ยังคงกังวลต่อค่าเงินและตลาดหุ้นกลุ่มประเทศ EMs ซึ่งแม้เสถียรภาพด้านต่างประเทศจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2013 แต่ปัญหาด้านภูมิคุ้มกันของ EMs ส่วนใหญ่อยู่ที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจต่ำและฟื้นช้าโดยฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจถูกกระทบต่อเนื่องจากสงครามการค้าและ COVID-19

สำหรับกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก SCB CIO ยังคงมีมุมมองบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ,ปรับมุมมองตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็น slightly positive, ปรับมุมมองหุ้นจีน H-share และไทยลงเป็น slightly negative โดยเราเชื่อในภาวะตลาดผันผวนจะมีโอกาสดีในการเข้ามาสะสมหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth ที่ยังมีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง

นอกจากนี้ SCB CIOเชื่อในภาวะตลาดผันผวนจะมีโอกาสดีในการเข้ามาสะสมหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth ที่ยังมีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง และยังมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อหุ้นญี่ปุ่น จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่, ราคาหุ้นทียังไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาด DM อื่น และผลกระทบที่น่าจะจำกัดจาก Fed QE taper

อย่างไรก็ตาม จากความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ภาครัฐที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและอาจส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัท เราปรับมุมมองหุ้นจีน H-share ลงเป็น slightly negative สำหรับตลาด A-share เรายังคงมุมมอง Neutral จากนโยบายมุ่งเน้นเติบโตจากภายในประเทศของจีน เช่น นโยบาย dual circulation และ common prosperity ขณะที่ตลาดหุ้น ASEAN เรายังคงชอบเวียดนาม แม้เศรษฐกิจและผลประกอบการจะชะลอลงในช่วงไตรมาส 3/2021 แต่ผลกระทบได้รับ priced-in ไปบ้างแล้ว โดยในระยะข้างหน้า น่าจะมีการฟื้นตัวได้จากการฟื้นตัวของภาคส่งออกตามเศรษฐกิจโลกและความคืบหน้าในการนำเข้าวัคซีนที่ค่อนข้างดีทำให้การเปิดเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาได้ และได้ปรับมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยลงเป็น slightly negative จากความตึงตัวของ valuation และผลกระทบจาก QE tapering ต่อเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า

และด้วยอัตราผลตอบแทนแท้จริงของ US treasury ที่ยังอยู่ในระดับต่ำในขณะที่ความผันผวนในตลาดหุ้นสูงขึ้น เราคงมุมมองต่อทองคำขึ้นเป็น Neutral และคงมุมมองต่อน้ำมันที่ slightly negative จากปัจจัยอุปสงค์ที่น่าจะได้รับแรงกดดันจากการเปิดเมืองที่ช้ากว่าคาดโดยเฉพาะจากประเทศ EMs

รวมทั้ง คงมุมมองต่อ DM และ Asian REITs เป็น Neutral โดยDM REITs แม้มีการเปิดเมืองต่อเนื่อง แต่ valuation ค่อนข้างตึงตัว ในขณะที่ Asian REITs แม้ราคาถูกแต่ผลกระทบของสายพันธุ์ Delta มีแนวโน้มยืดเยื้อ