SME-PO การระดมทุนทางเลือกใหม่ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้ SME ไทย

SME-PO การระดมทุนทางเลือกใหม่ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้ SME ไทย

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เป็นที่ทราบกันดีว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SME กว่า 3 ล้านราย สร้างการจ้างงานทั่วประเทศมากกว่า 12 ล้านคน ทำให้เกิดการไหลเวียนของเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อทุกภาคส่วนของประเทศ ขณะเดียวกันอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโต นั่นก็คือ “ตลาดทุน” ซึ่งเป็นทั้งแหล่งเงินทุนซื้อหวยออนไลน์สำหรับผู้ประกอบกิจการ และเป็นทางเลือกในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนอีกด้วย

แม้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ตลาดทุนจะเป็นแหล่งเงินระดมทุนให้แก่ผู้ประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด แต่ในช่วงกลางปี 2562 เป็นต้นมา ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน ได้ริเริ่มนโยบายที่จะทำให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม (Capital Market for All) ไม่ว่าจะเป็น “บริษัทจำกัด” หรือ “บริษัทมหาชนจำกัด” ตลอดจน “SME/Startup” และ “วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)” ตลาดทุนจึงเปิดกว้างให้ผู้ประกอบกิจการทุกขนาดสามารถเข้ามาระดมเงินทุนเพื่อใช้สำหรับกิจการของตนเองได้ ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นผลต่อเนื่องถึงข้อจำกัดในการขยายธุรกิจของกิจการ SME/Startup ในไทยให้อยู่รอดและเติบโตได้ โดยในปี 2563 ก.ล.ต. ได้มีการออกหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการระดมทุน ทั้งการระดมทุน* ผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบของ 1) หุ้นคราวด์ฟันดิง (Equity Crowdfunding) หรือ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง (Debt Crowdfunding) หรือ 2) ด้วยการออกหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพ เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Placement)

เพื่อให้การดำเนินการสนับสนุนเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และตลาดทุนเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับกิจการทุกประเภทและทุกขนาด โดย ก.ล.ต. ทราบว่า เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ ยังมีอุปสรรคโดยไม่สามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนเป็นวงกว้างและไม่สามารถนำหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรองได้ ซึ่ง ก.ล.ต. เล็งเห็นความจำเป็นของการระดมทุนในวงกว้างว่าเปรียบเสมือนบันไดก้าวต่อไปในการพัฒนากิจการของเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ ดังนั้น ตั้งแต่ปลายปี 2562 ก.ล.ต. จึงเร่งดำเนินการศึกษาช่องทางการระดมทุนเป็นวงกว้างสำหรับ เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ (SME-PO) ไปพร้อมกัน ซึ่งต่อมา ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ได้มีข้อสรุปร่วมกันในเรื่องหลักการการออกหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการระดมทุนจากผู้ลงทุนเป็นวงกว้างและนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดรองหรือ LiVE Exchange ได้เป็นครั้งแรก (SME-PO) ซึ่งคณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 และต่อมา ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป และปิดรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ซึ่งภาคเอกชนเห็นด้วยกับแนวทางตามที่ ก.ล.ต. เสนอ

SME ขนาดกลางขึ้นไปที่มีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน และเป็น “บริษัทมหาชนจำกัด” ซึ่งมีทิศทางการประกอบธุรกิจที่ชัดเจน มีความต้องการหาเงินทุนเพื่อขยายกิจการให้เติบโตไปอีกลำดับหนึ่ง แต่ผลการดำเนินงานยังมีความไม่แน่นอน จะสามารถระดมทุนในวงกว้าง หรือ “Public Offering” (SME-PO) โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก ก.ล.ต. แต่จะต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ เป็นการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน มีฐานะทางการเงินและมีประสบการณ์การลงทุนในระดับหนึ่ง หรือคนที่มีความคุ้นเคยกับกิจการ เมื่อระดมทุนสำเร็จแล้ว สามารถนำหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง หรือ SME Board ที่เรียกว่า “LiVE Exchange” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ และเป็นก้าวสำคัญในการต่อยอดเข้าสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) หรือ mai ในอนาคต

หัวใจสำคัญของการระดมทุนในรูปแบบ SME-PO และ SME Board เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเสริมสภาพคล่องและการเติบโตของกิจการ SME ขนาดกลาง จึงผ่อนปรนการกำกับดูแลเพื่อไม่สร้างภาระและต้นทุนต่อกิจการมากจนเกินไป เช่น ให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญเท่าที่จำเป็น ใช้ผู้สอบบัญชีในสำนักงานสอบบัญชีที่ผ่านการตรวจคุณภาพจาก ก.ล.ต. (ผู้สอบบัญชี SME) ไม่กำหนดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ในการจัดทำข้อมูล รวมถึงการผ่อนปรนในด้านการเปิดเผยข้อมูลอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับลักษณะและขนาดของกิจการ SME/Startup และเนื่องจากความเสี่ยงของ SME ที่สูงกว่ากิจการขนาดใหญ่ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคุณสมบัติของผู้ลงทุนตามที่กล่าวข้างต้น ในขณะเดียวกัน ก.ล.ต. ยังคงไว้ซึ่งในหลักการในการความคุ้มครองผู้ลงทุนกรณีที่จะมาลงทุนใน SME/Startup เช่นกัน ทั้งนี้ คาดว่า เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ จะสามารถระดมทุนเป็นวงกว้างต่อผู้ลงทุนที่มีลักษณะตามที่กำหนดได้ภายในปี 2564 หรืออย่างช้าไม่เกินต้นปี 2565 และระหว่างนี้ ก.ล.ต. จะดำเนินการสื่อสารกับเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องหลักเกณฑ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการระดมทุนรูปแบบใหม่ต่อไป

ก.ล.ต. ตระหนักถึงความสำคัญของ SME/Startup ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาของประเทศ จึงได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุน SME/Startup ให้เข้าสู่ตลาดทุนเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกและเป็นเรื่องเร่งด่วนในแผนพัฒนาตลาดทุน ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 2 ปี ก.ล.ต. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนและส่งเสริม SME/Startup ในหลายด้านและผลักดันเรื่องนี้ให้ความคืบหน้ามาโดยตลอด เพื่อให้ SME/Startup สามารถเข้าสู่ตลาดทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวก็เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่าทำให้มี SME/Startup เข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุนเพิ่มมาขึ้น และหวังว่าการระดมทุนในตลาดทุนของ SME/Startup จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของภาครัฐ

ประตูสู่ตลาดทุนในปัจจุบันนี้ได้เปิดกว้างมากขึ้น และเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบกิจการทุกขนาดสามารถเข้าหาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนได้ ด้วยตัวเลือกและช่องทางที่เหมาะสมกับกิจการของตนเอง และต่อยอดเป้าหมายในการประกอบธุรกิจให้พัฒนาไปในแบบที่คาดหวังไว้ได้ ซึ่งทุกย่างก้าวของการเติบโตของกิจการ SME/Startup หมายถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบกิจการ SME/Startup ที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ไหนอย่างไร สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการระดมทุนเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.sec.or.th/starttogrow หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการประชาชน ก.ล.ต. โทร. 1207

หมายเหตุ : *มีกิจการ SME/Startup ที่ระดมทุนสำเร็จผ่านทั้ง 2 วิธี มากกว่า 80 ราย รวมมูลค่าการระดมทุนมากกว่า 700 ล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564

ที่มา : ฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)