สมศ. โชว์การประเมินศูนย์พัฒนาเด็กปรับตัว - ผ่านการประเมินระดับดีกว่า 70% 

สมศ. โชว์การประเมินศูนย์พัฒนาเด็กปรับตัว - ผ่านการประเมินระดับดีกว่า 70% 

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันที่ 14 กันยายน 2564 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. พบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กระดับการศึกษาปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมและบทเรียนให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน และผู้ปกครองผ่านการนำผลการประเมินไปปรับใช้ พร้อมเปิดผลการประเมินคุณภาพภายนอกครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 การศึกษาปฐมวัย พบว่ามีศูนย์พัฒนาเด็กกว่า 73% อยู่ในระดับดี โดยจากการประเมินคุณภาพภายนอกพบศูนย์พัฒนาเด็กปรับตัวได้ค่อนข้างดี สำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนที่เหมาะสมและปรับใช้ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้นั้นมีดังนี้ การประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้คำแนะนำกับผู้ปกครองเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกาย ทดสอบความจำของเด็กด้วยการกำหนดหัวข้อประจำสัปดาห์ และจัดกิจกรรมผ่านการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองโดยจะต้องพยายามหาวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสอนเด็ก ๆ ได้ง่ายและสะดวกที่สุด เช่น ฝึกให้เด็กทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง เป็นต้น



ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็ก (ศพด.) ทั่วประเทศ ทำให้ต้องงดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากทุกภาคส่วนต้องปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยประเด็นดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเรียนรู้ และพัฒนาการตามวัยของเด็ก อีกทั้งเด็กในวัยนี้ไม่สามารถเรียนออนไลน์ หรือทำกิจกรรมออนไลน์ได้เหมือนกับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และภายใต้วิกฤตที่เกิดขึ้นอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมา เช่น ความรู้และทักษะตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร พัฒนาการทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นต้น



สำหรับประเด็นดังกล่าว สมศ. ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยจากการประเมินคุณภาพภายนอกในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 นี้ สมศ. พบว่าศูนย์พัฒนาเด็กได้พยายามปรับตัว และปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในระยะนี้มากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้การเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้หยุดชะงักไป โดยเบื้องต้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและกำกับศูนย์พัฒนาเด็ก ได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนโดยการปรับรูปแบบการทำกิจกรรม ให้หน่วยงานต้นสังกัดและชุมชนเข้ามามีบทบาทในการร่วมจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยที่ครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กจะทำหน้าที่แนะนำและเป็นผู้ช่วยให้ผู้ปกครองเรียนรู้วิธีการที่จะช่วยสอนเด็กเมื่อเด็กอยู่ที่บ้าน อย่างไรก็ตามจากการประเมินคุณภาพภายนอก ทำให้ สมศ. พบ 3 แนวทางสำหรับพัฒนาการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กที่เหมาะสม และสามารถเป็นแบบอย่างให้ศูนย์พัฒนาเด็กอื่นๆ นำไปใช้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ในปัจจุบัน