ผู้ว่าฯ ธปท.ชู 3 แนวทาง ทรานส์ฟอร์มบทบาทรองรับโลกการเงินอนาคต

ผู้ว่าฯ ธปท.ชู 3 แนวทาง ทรานส์ฟอร์มบทบาทรองรับโลกการเงินอนาคต

  • 0 ตอบ
  • 93 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kaidee20

  • *****
  • 2826
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนา 50 ปี เครือเนชั่น “Virtual Forum Thailand Next EP.2: The Future of Financial System อนาคตโลกการเงิน” ว่า สำหรับโลกการเงินในอนาคต บทบาทและแนวทางในการกำกับดูแลของ ธปท.จะต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินทำได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินการผ่าน 3 มิติหลัก ได้แก่

1. More Open Data จากที่เรื่องข้อมูล (Data) เป็นทรัพยากรสำคัญอย่างหนึ่ง สะท้อนจากในปี 2563 ทางการของประเทศจีนประกาศว่า นอกจากแรงงาน เงินทุน เทคโนโลยี และแบรนด์แล้ว ทรัพยากรสำคัญอีกประกาศหนึ่งคือ "ข้อมูล" แม้ว่าข้อมูลจะเป็นทรัพยากรที่ทุกคนมีอยู่ในมือ แต่จะต้องใช้ให้เป็นประโยชน์และใช้อย่างเต็มที่ ดังนั้น มิติหนึ่งในการทำงานของ ธปท.คือ ทำอย่างไรให้ข้อมูลถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้มากขึ้น

รวมถึงการนำรอยเท้าข้อมูล (Data Footprint) หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสารพัดกิจกรรมที่ประชาชนได้ซื้อหวยออนไลน์ทำให้ใช้งานได้มากขึ้น เช่น ข้อมูลจากการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น

นอกจากการใช้ข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มแล้ว รวมถึงการนำข้อมูลมาใช้ให้สะดวกขึ้นภายในอุตสาหกรรม เช่น แวดวงธนาคาร ซึ่งปัจจุบัน ธปท.ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันและโอนข้อมูล เริ่มจากข้อมูลเดินบัญชีของแต่ละธนาคาร (Bank Statement) เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปิดบัญชีข้ามธนาคารได้ง่ายขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้สะดวกขึ้น


2. More Open Competition หรือการแข่งขันที่ต้องกว้างขึ้น ซึ่งมีหลายมิติ ทั้งการแข่งขันจากผู้เล่นใหม่ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ธนาคาร ให้สามารถเข้ามาแข่งขันกับผู้เล่นเดิมในอุตสาหกรรม (Existing Player) รวมถึงเปิดให้ผู้เล่นปัจจุบันสามารถปรับตัวเพื่อแข่งขันกับผู้เล่นรายใหม่ได้ ซึ่งในต่างประเทศจะเห็นว่าธนาคารเริ่มเข้าไปซื้อ หรือทำการควบรวมกิจการ (M&A) บริษัทฟินเทค เพื่อเตรียมตัวรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยแนวทางหนึ่งที่ ธปท.จะช่วยเหลือได้ คือ การปรับปรุงแนวทางการทดสอบและพัฒนาระบบ (Sandbox) เพื่อให้เกิดการแข่งขัน เกิดผู้เล่นใหม่ และเกิดนวัตกรรมใหม่ เพราะที่ผ่านมายอมรับว่าไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควร


3. Open Infrastructure หรือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้งผู้เล่นใหม่ และผู้เล่นปัจจุบันให้เข้ามาใช้งานได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันและต่อยอดในเชิงนวัตกรรมได้ เช่น ระบบฐานข้อมูลกลาง (Central Web Service: CWS) ซึ่งเป็นวิธีการนำข้อมูลใบแจ้งหนี้ (Invoice) ที่อยู่ในระบบมารวมไว้ตรงกลาง เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องการสินเชื่อโดยมีใบแจ้งหนี้เป็นหลักประกัน (Factoring) สามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งธนาคารและนอนแบงก์สามารถเข้ามาร่วมใช้บริการได้ เพื่อให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ จากปัจจุบันเป็นอุปสรรค (Pain Point) สำคัญของระบบการเงินไทย

อีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญ คือ สกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) โดยเฉพาะสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ซึ่ง ธปท.มองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ต้องจัดเตรียมไว้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเข้ามา