กฟผ. แนะรู้ทัน! เลือกใช้หน้ากากป้องกันโควิด-19 “ลดปริมาณขยะติดเชื้อ”

กฟผ. แนะรู้ทัน! เลือกใช้หน้ากากป้องกันโควิด-19 “ลดปริมาณขยะติดเชื้อ”

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




จนถึงตอนนี้คนไทยส่วนมากใช้ “หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable mask)” เป็นอุปกรณ์เพื่อป้องกันส่วนบุคคลจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งที่เลือกใช้หน้ากากผ้าที่ใช้ซ้ำทดแทนได้

รู้หรือไม่ ว่าในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ประเทศไทย มีปริมาณการใช้มากถึง 1.5 – 2 ล้านชิ้นต่อวัน

สาเหตุดังกล่าว ทำให้การกำจัดหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งเป็น “ขยะติดเชื้อ” มีความจำเป็นต้องมีขั้นตอนในการกำจัดมากกว่าขยะทั่วไป และทุกคนมีส่วนร่วมช่วยลดขยะติดเชื้อได้ โดยการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัย ออกมาจากขยะทั่วไป ไม่เช่นนั้นภาระตกกับเจ้าหน้าที่ ที่จะะต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (เพราะต้นทางไม่แยก) แล้วขนไปกำจัดด้วยการเผาที่อุณหภูมิสูง 2 ขั้นตอน ได้แก่

1) เผากำจัดเชื้อโรคที่ 760°C

2) เผากำจัดก๊าซพิษที่ 1,000°C พร้อมกับมีระบบบำบัดมลพิษอากาศให้ได้ตามมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ

ดร.ทักษิณา โพธิ์ใหญ่ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำการเลือกใช้หน้ากากที่ป้องกันเชื้อ COVID-19 ให้ปลอดภัย และช่วยลดขยะติดเชื้อได้

ประเภทของหน้ากากที่ใช้ป้องกันเชื้อ COVID-19

1) หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Medical mask หรือ Surgical mask)
- ได้รับการรับรองจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- ผ่านการทดสอบด้วยเกณฑ์มาตรฐาน
- มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ย 6-8 ชั่วโมง
- ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

2)หน้ากากผ้า (Fabric mask)
- ทำจากผ้าฝ้าย หรือผ้าสาลูเนื้อแน่น
- มีการเย็บซ้อนกันอย่างน้อย 3 ชั้น
- สามารถซักเพื่อใส่ซ้ำได้หลายครั้ง

ในการเลือกใช้ป้องกัน แนะนำว่า บุคคลทั่วไป อาจเลือกใส่ “หน้ากากผ้า” ในชีวิตประจำวัน หรือเมื่อไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยง แต่ถ้าเกิดตกเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ป่วย ควรเลือกใช้ “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น”

ทั้งนี้ การใส่หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย เพียงชั้นเดียว สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เพียง 44% – 55% หากเรามีความจำเป็นต้องเข้าไปบริเวณพื้นที่เสี่ยง การใส่หน้ากาก 2 ชั้น จะทำให้เราป้องกันเชื้อได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แม้กระทั่ง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็ได้มีคำแนะนำให้ประชาชนใส่หน้ากาก 2 ชั้น โดยชั้นในเป็นหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งและด้านนอกเป็นหน้ากากผ้าที่มีความกระชับแนบกับใบหน้า จะทำให้ผู้สวมใส่สามารถป้องกันตนเองจากเชื้อโรคได้มากถึง 80% และในกรณีที่ ทั้งผู้ติดเชื้อและผู้ใกล้ชิดมีการสวมใส่หน้ากาก 2 ชั้น ก็จะทำให้สามารถลดการติดเชื้อได้มากถึง 96%

ข้อมูลอ้างอิง กฟผ.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย